ก่อการครู – Korkankru

บัวหลวงก่อการครู

‘ห้องเรียนแห่งรัก’ รู้จักตัวตน รู้จักนักเรียน ควบคู่กับพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้

‘ความรัก’ อาจเป็นของแสลงสำหรับผู้ที่พยายามจะนิยาม บางครั้งยังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ เพราะในนามของความปรารถนาดี ครูอาจเป็นคนใจร้ายในสายตาของนักเรียนโดยไม่รู้ตัว ครั้นจะแยกขาดความรักออกจากห้องเรียน ก็อาจทำให้บรรยากาศในรั้วโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ แต่ความรักจะเบ่งบานขึ้นได้จำเป็นต้องเริ่มจากการทบทวนใคร่ครวญตนเองของผู้สอน เพื่อนำไปสู่การสร้างบทสนทนาเชิงบวกในห้องเรียน พร้อมกับดูแลและโอบอุ้มผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ‘น้อง’ ธนัญธร เปรมใจชื่น ผู้อำนวยการสถาบัน Seven Presents และหนึ่งในทีมกระบวนกร ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ชวนครูแต่ละคนมาเปิดใจเรียนรู้วิชา ‘ห้องเรียนแห่งรัก’ เครื่องมือสะท้อนตัวตนและสร้างสรรค์พื้นที่ของความสุข...

เนรมิตห้องเรียนสร้างสรรค์ ด้วยนิทานและกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์

‘นิทาน’ คือเรื่องราวเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาสมองและสติปัญญา เนื่องจากขณะที่เด็กๆ ตั้งอกตั้งใจฟังนิทาน จะต้องใช้ทั้งความคิด จินตนาการ รวมไปถึงการใช้สมาธิจดจ่อ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งสิ้น หนังสือนิทานสำหรับเด็กจำเป็นต้องมีการเล่าเรื่องที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และมีภาพประกอบโดดเด่น สิ่งที่หยิบจับมาเล่าอาจเป็นเรื่องใกล้ตัว การเล่าเรื่องต้องใช้คำน้อยแต่สื่อความหมายชัดเจน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของเด็กอีกด้วย เลือกนิทานให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุ ช่วงวัยที่มีพัฒนาการสูงสุดในชีวิตทุกด้านอยู่ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 ปี หากได้รับการกระตุ้น...

ฝึกวิชา-ค้นหาตัวเอง ไปกับ ‘นิเวศการเรียนรู้’ ในอ้อมกอดชุมชน

“ต้องให้เด็กหาตัวเองให้เจอ ให้เขารู้ว่าตัวเองชอบด้านไหน” หากการศึกษาคือเส้นทางของการสร้างอนาคต การค้นหาและส่งเสริมศักยภาพตนเองก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ขาดไปไม่ได้สำหรับ ชูศักรวิชญ์ แสนปัญญา หรือ ‘ผอ.ชู’ ผู้อำนวยการใจดีแห่งโรงเรียนบ้านกุดขนวน จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนบ้านกุดขนวนเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมต้น นับเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะพื้นฐานที่จำเป็นหลาย ๆ อย่าง ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของครูผู้สอนที่จะต้องออกแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้กับเด็กวัยกำลังโต และเป็นความท้าทายของผู้อำนวยการอย่าง ‘ผอ.ชู’ กว่า 11 ปีของการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ผอ.ชู...

หนึ่งคำตอบ ล้านคำถาม ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่เด็กมีส่วนร่วมออกแบบได้

“ในวิชาวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องลงมือทำเอง ครูจะไม่บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จะเป็นคนคอยชี้แนะ ให้เด็กออกแบบการทดลองว่าเขาจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร” วไลพรรณ ไชยเวช ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองแวง จังหวัดอุดรธานี เล่าถึงการสร้าง ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่กระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ อันสอดคล้องกับหลักการ Active Learning ครูวไลพรรณบรรจุเป็นครูเมื่อปี 2544 นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 22...

ห้องเรียนเวทมนตร์ ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเกมการเรียนรู้

“ตอนแรกที่เริ่มสอนวิชาภาษอังกฤษ เด็ก ๆ ไม่ค่อยกล้าพูด ไม่กล้าแสดงออกเลย”  นี่คือโจทย์แรกของการเป็นครู สำหรับ ธนพัฒน์ พิมพ์พรพิรมย์ หรือ ‘ครูน็อต’ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านนาดีสร้างบง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเล่าย้อนกลับไปในช่วงที่เขาได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยใหม่ ๆ เมื่อ 2 ปีก่อน “สิ่งที่เราเรียนจากมหาวิทยาลัยกับการทำงานจริงค่อนข้างแตกต่างกัน...

เวทมนตร์การเรียนรู้เปี่ยมพลัง : เพราะครูต่างมีคาถาวิเศษของตัวเอง

‘เวทมนตร์’ แรกเริ่มได้ยินคำนี้ พานให้นึกถึงความแฟนตาซี ร่ายคาถา เสกสรรค์ปั้นแต่งแร่ธาตุให้กลายเป็นพลังงานชวนตื่นตะลึง ประหนึ่งนวนิยายที่หลายคนหลงรักอย่าง ‘Harry Potter’ ใครบ้างที่ไม่อยากเรียนฮอกวอตส์ หรือใช้ชีวิตในโลกมหัศจรรย์ที่สัตว์พูดได้ เหาะเหินด้วยไม้กวาดและไม่ต้องกังวลรถติดขัดกลางดงคอนกรีตเสริมความร้อน แม้เป็นเรื่องในจินตนาการที่ไกลลิบ แต่ปัจจุบันก็ไม่มีใครบอกเสียหน่อยว่าเวทมนตร์เป็นเรื่องเพ้อฝัน ขอเพียงแค่รู้จักตัวเองดีพอ เราก็มีโอกาสที่จะเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น เฉกเช่นเดียวกับการศึกษาในห้องสี่เหลี่ยมที่ไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อหรือหล่อเลี้ยงความอับเฉาให้อนาคตของประเทศ หากมีการพลิกแพลงด้วยกิจกรรมหรือสื่อการสอนที่เกี่ยวข้องกับ ‘เวทมนตร์’ ก็สามารถกล่อมผู้เรียนให้มีสมาธิกับเนื้อหาได้อยู่หมัด ทั้งยังลดปัญหาพฤติกรรมเชิงลบ สร้างความสนุกสนานเพลินเพลิด...

ยงยุทธ ศรีจันทร์ : สร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน รับฟังโดยไม่ตัดสิน เข้าใจเด็กในทุกมิติ

“เรารับฟังเด็กมากขึ้น ทำความเข้าใจเด็กมากขึ้น ฟังโดยที่ไม่จับผิดตัวเด็ก และเชื่อว่าเด็กสามารถตัดสินใจเลือกได้ด้วยตัวเอง” ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนาคำหลวง ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการอบรม ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ทำให้ตนเองมองเด็กเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากครูที่ต้องการให้เด็กได้รับความรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด คะยั้นคะยอให้เด็กท่องจำเนื้อหาโดยไม่ใส่ใจพื้นฐานของเด็กแต่ละคนเท่าที่ควร ‘ทักษะการโค้ช’ จากโครงการฯ ทำให้ครูกิ๊ฟมีมุมมองใหม่ต่อเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และหันไปทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชนมากขึ้น...

เปิดโลกการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ ‘เกม’ เสริมทักษะใหม่ให้ครูรุ่นใหม่

ในอดีตนั้นการเล่นเกมของเด็ก ๆ มักถูกผู้ใหญ่มองในแง่ลบ จนถูกเรียกว่า ‘เด็กติดเกม’ ทว่าในยุคปัจจุบันเกมและบอร์ดเกมเริ่มได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และถูกมองเห็นคุณค่าในแง่การพัฒนาสมอง ซึ่งในแวดวงการศึกษาก็ได้นำแนวคิดของการเล่นเกมมาผนวกใช้ให้เข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้ในห้องเรียนมากขึ้น อีกทั้งงานศึกษาจำนวนมากยังพบว่า กระบวนการเกมเป็นวิธีเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างรวดเร็ววิธีหนึ่งด้วย การศึกษาในยุคปัจจุบันแสดงให้เราเห็นว่า การมีข้อมูลมากไม่ได้แปลว่าผู้เรียนมีความรู้มาก สิ่งนี้ทำให้การศึกษาแบบเดิมที่เน้นป้อนข้อมูลให้นักเรียนจดจำครั้งละจำนวนมาก ๆ เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้การ ‘เล่นเกม’ จึงเข้ามาตอบโจทย์ดังกล่าว เพราะเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถเรียนรู้ผ่านการกระทำมากกว่าการท่องจำข้อมูล และนับเป็นเครื่องมือชั้นดีในการสอดแทรกเนื้อหาการเรียนรู้ผ่านความสนุก  แต่กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ด้วยเกมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย...

วิธีหยุดการ Bully สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วย ‘ห้องเรียนแห่งรัก’

การกลั่นแกล้งรังแก (Bully) กันในโรงเรียน ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ซุกซ่อนอยู่ในโรงเรียนมานาน แต่สังคมเพิ่งตระหนักและรับรู้เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลกระทบของการกลั่นแกล้งนอกจากจะทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดบาดแผลฝังลึกทางกายและทางใจในระยะยาว การจะป้องกันและดูแลให้ทั่วถึงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะครูมีเพียงแค่หนึ่งสมองสองมือ ทว่า ‘ครูโทนี่’ สามารถหาวิธีลดการ Bully ลงได้ผ่านเครื่องมือ ‘ห้องเรียนแห่งรัก’ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะช่วยป้องกันในระยะยาวอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย “ลึก ๆ แล้วเขาโดน Bully เกือบทั้งโรงเรียน...

พาเด็ก ‘แว้นมอเตอร์ไซค์’ ท่องไปในโลกเวทมนตร์กับ Team Teaching

เธอต้องเรียนแบบนี้… ต้องสอนจากหนังสือเล่มนี้… ต้องทำสิ่งนี้จึงจะสำเร็จ!  กระบวนทัศน์ของระบบการศึกษาแบบเดิม มักลิดรอนจินตนาการและความเป็นไปได้อื่น ๆ ในการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งยังสร้างบรรยากาศความกลัวปกคลุมบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นครูหรือผู้บริหาร ความพยายามแหวกว่ายออกจากสภาวะหวาดกลัวและจำยอมของครูจำนวนหนึ่ง ล้วนต้องเจอแรงปะทะจาก ‘ระบบ’ ที่สร้างกรอบและสมาทานความถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว พิมพ์นารา สิมมะโน หรือ ‘ครูพิมพ์’ จากโรงเรียนชุมชนสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี ประสบสถานการณ์อันน่าเวียนหัวจากระบบการศึกษามาไม่น้อย เธอเป็นคุณครูมาแล้ว...