ก่อการครู – Korkankru

Featured

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Duis sed ornare turpis. Mauris libero elit, pretium nec felis vel, placerat molestie ex. Fusce vel est quis lacus porttitor dictum a eget eros.

สายธารแห่งชีวิตสู่การเรียนรู้ที่มีความสุข แรงบันดาลจากโรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่กำลังเดินทางเข้าร่วมงาน… เสียงเรียกเชิญชวนเครือข่ายเข้าสู่บรรยากาศของงาน “ALIVE SPACE : พื้นที่มีชีวิต” 2 ปี โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ ภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) เปิดภาพสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียงร้อยด้วยเรื่องราวที่ผลิบาน และความร่วมมือจากองคาพยพในระบบนิเวศการเรียนรู้ ทำให้โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศแห่งนี้อุดมสมบูรณ์และเกื้อกูลกันอย่างลงตัว …..ใบหน้าของครูที่อิ่มเอม เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแห่งความหวังเสียงของนักเรียนที่ต้อนรับขับสู้ด้วยความภูมิใจ...

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง : สร้าง “นิเวศการเรียนรู้” สู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมาย

หากต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ใคร? คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวของแต่ละท่านอาจแตกต่างกัน บ้างอาจตอบว่าต้องเริ่มต้นที่ครู บ้างอาจตอบว่าคงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบก่อน ทุกท่านอาจลองเก็บคำตอบนั้นไว้ในใจ เพราะในบทความนี้จะพาไปชมนิทรรศการจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง ณ งาน บัวหลวงก่อการครู: เวทีเบิ่งแงงการศึกษาอุดรบ้านเฮา จ.อุดรธานี ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นิทรรศการสะท้อนเสียงของ...

รับฟังด้วยหัวใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยการฟัง

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเติบโตสู่วัยรุ่น หลานสาววัย 10 ปี เริ่มปลีกตัวห่างจากครอบครัว ขีดเส้นแบ่งเขตส่วนตัวไม่ให้ใครกล้ำกราย ความเป็นห่วงที่เกิดขึ้นในใจของป้า จึงทำให้ พี่เช่ (ศุภจิต สิงหพงษ์) เริ่มสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากการฟังของตัวเอง เพื่อเป็นเพื่อน เป็นป้า เป็นที่ปรึกษา ในยามที่ต้องการ พี่เช่ ช่างภาพมือดีประจำโครงการ ถ่ายทอดเรื่องราวการฟังที่เปลี่ยนไป จากการสังเกตการณ์ในระหว่างวิชาทักษะการโค้ชเพื่อครู (หนึ่งในการอบรมโครงการก่อการครู...

การศึกษาไทยในอุ้งมือของรัฐ เมื่ออำนาจนิยมไม่ยอมให้คนตั้งคำถาม

“ตั้งแต่โดนคดีมา ขึ้นศาลไปไม่รู้แล้วกี่รอบแล้ว มีช่วงหนึ่งผมทำงานพาร์ทไทม์ก็ต้องลางานก็เสียงานเสียการ เสียสุขภาพจิตด้วย” คือปากคำของ “เท็น” - ยศสุนทร รัตตประดิษฐ์ นักศึกษาสาขา Media Arts and Design คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีคดีความติดตัว เพราะทำกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งถือเป็นสถานการณ์รุนแรงที่เกิดกับคนที่ยังไม่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ในประเทศที่มีค่านิยมว่านักเรียน/นักศึกษาควรมีหน้าที่เรียนอย่างเดียว อย่ายุ่งกับการเมือง...

ความเหลื่อมล้ำกับฝันที่ไม่เป็นจริงระบบการศึกษาที่คน “ไม่เท่ากัน”

“ก่อนหน้านี้หนูอยากทำงานมากกว่าเรียน กลัวพ่อแม่จะส่งเราไม่ไหว ตอน ม.1 ก็ถามพ่อแม่ว่าจะส่งหนูไหวเหรอ มันต้องเสียค่าเทอม พ่อแม่บอกว่าไหว ยังไงก็ไหว เราก็เลยเรียน แล้วก็ช่วยพ่อแม่ทำงานไปด้วย” “หนูฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง ฟีลแบบพิมรี่พายขายทุกอย่าง เพราะหนูชอบขาย ชอบพูดแต่หนูไม่สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ต้องทำอาชีพที่เป็นลูกจ้างอย่างเดียว อย่างขายเสื้อผ้าถ้าเป็นกิจการใหญ่ มีหน้าร้าน ต้องเสียภาษี แบบนี้ไม่ได้” คำพูดแรกเป็นของเด็กชายอดทน อุดทา...

“โรงเรียนของเราไม่น่าอยู่” ระบบการศึกษาที่สร้างทุกข์ให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน

“โรงเรียนของเราน่าอยู่ คุณครูใจดีทุกคน เด็กๆ ก็ไม่ซุกซน พวกเราทุกคนชอบมาโรงเรียน~”                 ข้อความที่อ่านแล้วหลายคนคงฮัมเป็นทำนองเพลงได้ ในฐานะเพลงเด็กที่โรงเรียนมักเปิดให้นักเรียนฟังอยู่บ่อยครั้ง                 เพลง “โรงเรียนของเราน่าอยู่” กลับมาเป็นที่พูดถึงในวงกว้างอีกครั้งช่วงประมาณ 2 ปีก่อน เมื่อนิสิตจุฬาฯ ทำวิทยานิพนธ์โดยหยิบยกปัญหาในโรงเรียนมาบอกเล่าผ่านเพลงดัดแปลงใหม่ในชื่อ “โรงเรียนเขาว่าน่าอยู่” มีเนื้อเพลงบางส่วนว่า “โรงเรียนเขาว่าน่าอยู่ แต่พวกหนูไม่ค่อยชอบไป มีคนทำร้ายจิตใจ...

การเรียนรู้จบในโรงเรียน หรือแท้จริงอยู่ในทุกที่และตลอดชีวิต?

กระแสธารของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ข้อมูลเคลื่อนไหลผ่านตาทุกวินาที ทั้งซับซ้อนและคาดเดาไม่ได้ ห้องเรียนที่ถูกแช่แข็งด้วยการสอนแบบเดิมๆ จึงหยุดนิ่งและกลายเป็นถอยหลัง สวนทางกับโลกอนาคตที่หมุนไปข้างหน้าอย่างเห็นได้ชัด ทั้งตำราที่อัดแน่นด้วยเนื้อหาตามบรรทัดของหลักสูตร นโยบายที่ยึดเวลาและการออกแบบการสอนไปจากครู การสอบที่เน้นท่องจำเพื่อเอาเกรดมากกว่าการนำไปใช้ในชีวิตจริง ทำให้เราต้องตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วหน้าที่ของระบบการศึกษาคืออะไร และยังทำให้มนุษย์คนหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้จริงหรือไม่? เมื่อชีวิตจริงไม่ได้อยู่ในตำรา ห้องเรียน หรือจากปากครู แต่กระจายข้ามขอบรั้วโรงเรียนไปอยู่ในที่ต่างๆ รอบตัวเรา ทั้งใกล้และไกล แท้จริงแล้วการเรียนรู้คืออะไร และทำไมเราต้อง “เรียนรู้ตลอดชีวิต” เกรดที่ได้...

“ลอง เรียน รู้” เส้นทางสู่การค้นพบตัวเองของเด็กวัยเรียน (รู้)

ภายในงานเสวนา “ส่งเสียงถึง (ว่าที่) นายก: เรื่องมันเศร้าขอเล่านิดนึง” จัดโดย InsKru พื้นที่แบ่งปันไอเดียการเรียนรู้ของคุณครูทั่วประเทศ เมื่อเดือนเมษายน 2566 “โจ๊ก” - ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต ศึกษานิเทศก์ (ศน.) ชำนาญการ สะท้อนความคาดหวังของนักเรียนกับภาคส่วนอื่นๆ ว่าไม่สอดคล้องกัน “ถ้าถามว่าหลักสูตรควรจะเน้นอะไร ให้เลือกเน้นระหว่าง...

การดูแลเด็ก Dyslexia จากห้องเรียนสู่พื้นที่ในสังคม 

ภาษา ถือเป็น เครื่องมือการเรียนรู้  ที่ทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งกลายเป็น เด็กเรียนรู้ช้า ไม่สามารถเข้าใจวิธีการอ่านและการเขียน เรียกว่า เด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่าน “dyslexia”  Dyslexia  (ดิสเล็กเซีย) ชื่อเรียกแทนความบกพร่องด้านการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน อันเกิดจากความผิดปกติของสมองที่ใช้ในการเรียนรู้ ทำให้ไม่สามารถสะกดคำหรือเข้าใจวิธีการอ่านเขียน เพราะไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างตัวอักษร เสียง และภาษาได้ เมื่อก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษา จึงทำให้ห้องแห่งการเรียนรู้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ที่หลากหลาย...