ก่อการครู – Korkankru

Featured

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Duis sed ornare turpis. Mauris libero elit, pretium nec felis vel, placerat molestie ex. Fusce vel est quis lacus porttitor dictum a eget eros.

นิเวศที่ฉันได้เลือกที่จะเติบโต

ในเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการโรงเรียนปล่อยแสง และเครือข่าย ได้จัดงาน เวทีปล่อยแสง : สร้างการศึกษาไทยให้มีอนาคต เพื่อนำเสนอวิธีคิด การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์โลกอนาคต ผ่านผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ตั้งแต่ ตัวแทนจากศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยอิสระ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน ในรูปแบบของงานเสวนา หนึ่งในผู้ที่ขึ้นไปร่วมปล่อยแสงบนเวทีแห่งนี้คือ นางสาวรัตนาภรณ์...

หนังสือ ย้อนแย้ง แยบยล บทวิเคราะห์ประเด็นการศึกษาไทย

ก่อการครูชวนผู้อ่านกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับมายาคติที่อยู่ในวิธีคิด การปฏิบัติ ปะทะกันในเชิงความคิด จากมายาคติที่ยึดถือหลากหลาย ฝั่งแฝงความเชื่อได้อย่างแยบยลจนไม่ทันรู้ตัว หนังสือย้อนแย้ง แยบยล บทวิเคราะห์ประเด็นการศึกษาไทยในโครงการวิจัยการสำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย ปีที่ 2 คำสำคัญสองคำ นั่นคือ ‘ย้อนแย้ง’ – ‘แยบยล’ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมายาคติที่แฝงฝังอยู่ในวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของผู้คน ซึ่งมีทั้ง ความย้อนแย้ง ไม่ลงรอยระหว่างชุดวิธีคิดที่หลากหลายภายใต้ประเด็นทางการศึกษาในเรื่องเดียวกัน และมี ความแยบยล...

ถอดบทเรียน 6 โรงเรียนปล่อยแสง ย้อนรอยเส้นทางการเรียนรู้ที่ผลิบาน

“รู้สึกตื่นเต้นพอสมควร เพราะปีนี้เป็นครั้งแรกที่เรามารวมกันพร้อมหน้าทั้ง 6 โรงเรียน หลังจากที่อบรมโมดูลต่างๆ ของโครงการ ก็ไม่มีโอกาสมาเจอกันแบบนี้ ต่างคนต่างอยู่โรงเรียนของตัวเอง ค้นหาโจทย์และพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของโรงเรียนตามประเด็นที่แตกต่างกัน  วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มาแลกเปลี่ยนและสะท้อนการเรียนรู้กันว่า โรงเรียนฉันมีโจทย์แบบนี้ เกิดการเรียนรู้แบบนี้ ของโรงเรียนเธอล่ะเป็นอย่างไร”  อธิษฐาน คงทรัพย์ หรืออาจารย์เปิ้ล หัวหน้าโครงการโรงเรียนปล่อยแสงและผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงานถอดบทเรียนรวมในรอบ 2 ปีของโครงการฯ เมื่อปลายเดือนเมษายน...

ห้องเรียนที่ (หัวใจ) ปลอดภัย  สำคัญแค่ไหนต่อการเรียนรู้

“ห้องเรียนปลอดภัยคือพื้นที่ที่เด็กกล้าพูด มีความไว้ใจซึ่งกันและกันค่ะ”“พื้นที่ปลอดภัยเหรอ น่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นตัวเองได้แบบไม่ต้องกังวล จะทำอะไรก็มีความรู้สึกอิสระ ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกหรือจะผิดนะ”“น่าจะเป็นการยอมรับความแตกต่าง ความคิดเห็นที่แตกต่าง”“เป็นพื้นที่ที่ถ้าทำผิดไปแล้วจะมีคนให้อภัย ถ้าทำถูกก็จะรู้สึกว่าทุกคนยอมรับ”“ที่ๆ แสดงออกโดยไม่ถูกคุกคาม”“นักเรียนมีความสบายใจที่จะอยู่พื้นที่นั้น อยากจะพูดอยากจะปรึกษาอะไรก็ทำได้เลย โดยไม่รู้สึกว่าติดขัดอะไร”“พื้นที่ที่มีแสงแห่งความรักและมีความสุขให้กับเรา” เราสามารถนิยามได้ว่า พื้นที่ปลอดภัยคือ พื้นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยจากการกล่าวโทษต่อว่าตัวเอง และเป็นพื้นที่ ๆ สามารถรับฟังตัวเองและเป็นตัวเองได้โดยปราศจากการตัดสินจากคนอื่น พื้นที่ปลอดภัยที่เพียงพอ จะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้งอกงาม ผู้เรียนและผู้สอนเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ สามารถแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น...

เผด็จการศึกษา กับห้องเรียนของครูก่อการ
อัพเลเวลการเรียนรู้ ‘ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ’ ไม่รอแล้วนะ

ในขณะที่นักเรียนตกอยู่ภายใต้ความคาดหวัง บรรยากาศการแข่งขัน และแรงกดดันจากการระบบสังคมและการศึกษา เอาเข้าจริงแล้ว ครูเองก็มีสภาพอิดโรยไม่ต่างกันนัก พวกเขาต่างก้มหน้าก้มตาทำงานหนักราวกับหนูติดจั่น น่าเศร้ากว่านั้นคือ งานกว่าค่อนห่างไกลจากห้องเรียนที่พวกเขาวาดหวัง สภาพเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา และยังคงดำเนินต่อไป ครูถูกพรากจากห้องเรียน เด็กๆ ถูกพรากจากความรักในการเรียนรู้ โรงเรียนดูไร้ชีวิตชีวา การศึกษา แต่ถึงอย่างนั้น ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ครูจำนวนไม่น้อยตั้งหลักขยับขยายความเป็นไปได้ในการสร้างห้องเรียนที่มีความหมายแก่ผู้เรียน แม้จะพบอุปสรรคที่ชื่อ ‘ระบบ’ อยู่เบื้องหน้า...

‘เมล็ดข้าวเปลือกไทยเบิ้ง’การกลับบ้านของหนุ่มสาว เพื่อเปลี่ยนวิกฤติชุมชนเป็นห้องเรียน

ไกลออกไปจากตัวเมืองลพบุรีราว 60 กิโลเมตร คือที่ตั้งของชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี หลายคนอาจรู้จัก ‘โคกสลุง’ ชุมชนริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เส้นทางรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน โดยมีขบวนรถไฟลอยน้ำอันลือชื่อเคลื่อนผ่านเวิ้งน้ำป่าสัก ในอดีตโคกสลุงคือชุมชนโดดเดี่ยวห่างไกล ต้องเผชิญหน้ากับยากลำบากรอบด้าน ทั้งการเข้าถึงระบบสุขภาพ การเดินทางสัญจร ความปลอดภัยในชีวิต ปัญหายาเสพติด และการเข้ามาของโครงการพัฒนาที่อาจเปลี่ยนแปลงวิถีดั้งเดิมของชุมชนชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ถึงที่สุดแล้ว ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับวิกฤติ...

‘หนี้สิน ภัยพิบัติ ชาวเล และวิถีมุสลิม’ หลักสูตรการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนใครในโลก

“คนในจังหวัดพังงาถูกกำหนดโดยส่วนกลางมาตลอดว่า เราต้องเป็นอย่างนั้น เราต้องทำอย่างนี้ ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะไม่สามารถออกแบบหรือพัฒนาบ้านของตัวเองได้ สมมติว่ามีงบประมาณมาก้อนหนึ่ง ก็จะถูกสั่งว่าคุณต้องเอาไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้นะ เราคิดนอกกรอบไม่ได้เลย และมันทำให้เราคิดนอกกรอบไม่เป็น” ถ้อยคำของ ‘ชาตรี มูลสาร’ สะท้อนชัดเจนว่า พังงาคือจังหวัดที่ประสบปัญหาไม่ต่างจากจังหวัดอื่นๆ ทั้งปัญหาหนี้สิน ที่ดิน การไร้อำนาจต่อรองของเกษตรกร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงผลกระทบจากโครงการพัฒนา ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน พังงาแบ่งออกเป็น 8...

‘มะขามป้อมอาร์ตสเปซ’ ข้ามขอบการศึกษา สู่ความเป็นไปได้ของการเรียนรู้

“มนุษย์มีตั้งกี่ล้านคน คุณจะให้เด็กแต่งตัวเหมือนกัน ไปเรียนแบบเดียวกัน มีสายวิทย์ มีสายศิลป์ หรือมีแค่ 4-5 โปรแกรมในระบบโรงเรียนให้เลือกเท่านั้นหรือ ? “ความแตกต่าง ความชอบ และลักษณะของเด็กไม่เหมือนกัน คุณเปิดไปเลยอีกร้อยพันโมเดล อยู่ที่ว่าเด็กจะไปเลือกอะไร เหมาะกับจริตแบบไหน จะเรียนกึ่งโรงเรียน ครึ่งหนึ่งออกมาเรียนข้างนอก จะเรียนข้างนอกไปเลย หรือจะเรียนในโรงเรียนอย่างเดียว มันก็ไม่แปลกอะไร” เช่นเดียวกับกระแสน้ำที่มีสายธารหลักในการหล่อเลี้ยงชีวิต...

‘เรียนในโลกแห่งความจริง’ ชุมชนคือโรงเรียน ส่วนนักเรียนคือทุกคน

การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการหาความรู้และความหมายด้วยตนเอง โดยมี ‘ครู’ ทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความใคร่รู้ และเป็นผู้ชี้แนะในระหว่างเรียน ซึ่งต่างจากครูในคราบของการศึกษาแบบเดิม ที่ครอบงำและถ่ายทอดความรู้ทางเดียว ด้วยอำนาจและวาทกรรมของการเป็น ‘ผู้ให้’ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับห้องเรียนที่ต่างออกไปจากความคุ้นชิน นั่นคือ ‘การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน’ หรือการเรียนจาก ‘โลกแห่งความจริง’ เป็นกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระในบทเรียนให้สัมพันธ์กับชุมชน ผ่านการบูรณาการความรู้ในหลายศาสตร์ เน้นทักษะการคิด การแก้ปัญหา เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และเชื่อมโยงเข้ากับบริบทชีวิต...

รัฐไทยไม่ใช่เจ้าของการศึกษา
‘มหาลัย’ไทบ้าน’ โจนทะยานสู่ความเป็นไทในห้องเรียนสีชมพู

ฉากหนึ่งของจังหวัดขอนแก่นถูกขนานนามว่า ‘ขอนแก่นโมเดล’ จากแผนพัฒนาเมืองของกลุ่มเอกชนให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (smart city) หน้าตาของจังหวัดถูกปรับเปลี่ยนเหมือนภาพฝัน ความเจริญถูกโปรโมทบนจอภาพสามมิติ กระทั่งการประโคมข่าวของภาครัฐ ทว่าห่างออกไปสุดขอบจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 100 กิโลเมตร การเข้าถึงของถนนหนทางราบเรียบ อินเตอร์เน็ต น้ำปะปา หรือไฟฟ้า ของ ‘อำเภอสีชมพู’ เรียกได้ว่า อยู่ในสภาพขี้ริ้วขี้เหร่ แม้ที่แห่งนี้จะมีต้นทุนทางธรรมชาติและทัศนียภาพงดงาม...