
โครงการผู้นำแห่งอนาคตมีจุดยืนในการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง และนักขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญา โดยหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านใน (Self-leadership) เพื่อก้าวข้ามมายาคติ ความคิด และความเชื่อเดิมๆ ชวนหันกลับมาพัฒนาความสามารถเชิงการสะท้อนย้อนมองตนเอง (Reflexivity) การเชื่อมโยงกับสรรพสิ่ง (Connectivity) การเรียนรู้ใหม่และการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Renewability) และความรับผิดชอบต่อตน ผู้อื่น และสังคม และสภาวะการนำที่เอื้อให้เกิดความยั่งยืนและเกิดสังคมสุขภาวะนั้น จำเป็นต้องสร้างสภาวะการนำแบบรวมหมู่ และหลากหลาย Collective Leadership) สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังพร้อมมุ่งประโยชน์สุขของส่วนรวม (Transformative Leadership) นอกจากนี้ โครงการฯ เชื่อว่าการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันจะเป็นประตูสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยั่งยืน พร้อมโอบอุ้มความหลากหลาย และพร้อมร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคม
เป้าหมายของโครงการ
- ยกระดับและขยายเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
- พัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลง
- วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน
- สื่อสารเพื่อเสนอบทสนทนา และจิตสำนึกใหม่ทางสังคม (Public Pedagogy)
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยกระดับและขยายเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

‘การนิเทศ’ ที่มีความหมาย จะทำให้ ‘ครู’ อยากพาตัวเองไปข้างหน้า
Reading Time: 2 minutes เรื่องราวจาก “ครูกั๊ก—ร่มเกล้า ช้างน้อย” หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนโหนด PLC Reform ที่มุ่งหวังสร้างพื้นที่การเรียนรู้ลดภาระงานครูจากการนิเทศ เกิดเป็น “CANVAS สำหรับการเข้านิเทศ” โดยมีหมุดหมายสำคัญคือ เป็นเครื่องมือทำให้การนิเทศมีความหมายต่อการพัฒนาการสอนของครูและสามารถลดภาระงานของครูได้จริง

พระคุณที่สาม ยังแจ่มใสอยู่ไหม ?
Reading Time: 2 minutes highlight “…ครูบาอาจารย์ ที่ท่านประทานความรู้มาให้อบรมจิตใจ ให้รู้ผิดชอบชั่วดีก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกทีขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น ครูมีบุญคุณจะต้องเทิดทูลเอาไว้เหนือเกล้าท่านสั่งสอนเรา อบรมให้เราไม่เว้นท่านอุทิศ ไม่คิดถึงความยากเย็นสอนให้รู้จัดเจน เฝ้าแนะ เฝ้าเน้น มิได้อำพราง…” วันไหว้ครู คือหนึ่งในวันสำคัญของภาคการศึกษาหรือโรงเรียนต่าง ๆ จัดให้มีพิธีกรรม เพื่อให้นักเรียนหรือลูกศิษย์ได้มีโอกาสแสดงความเคารพและบูชาครูของพวกเขา ซึ่งในวันดังกล่าว เพลงพระคุณที่สาม มักถูกเปิดหรือขับร้องเพื่อสร้างบรรยากาศให้นักเรียนยิ่งตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของครู แม้วาทกรรมดังกล่าวยังคงมีอิทธิพลต่อครูและสังคม ทว่า ในบทความนี้ ผู้เขียนชวนให้กลับมาพิจารณาถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อวิชาชีพครู พระคุณที่สามหรือครูในวันนี้ยัง ‘แจ่มใส’ อยู่หรือไม่ ซึ่งคำว่าแจ่มใสในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงในแง่ของบุญคุณของครูที่เป็นที่ประจักษ์แก่ศิษย์หรือผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังหมายถึง ‘ความปลอดโปร่ง ความสดใส หรือความมีชีวิตชีวา’ ของตัวตนคนเป็นครู วาทกรรมในเพลงไหว้ครู ธนัชพร ฉันทาภิสิทธิ์ (2563) ได้ศึกษาวาทกรรมความเป็นครูที่ปรากฏในบทเพลงดังกล่าว พบว่ามีการถ่ายทอดวาทกรรมความเป็นครู 4 วาทกรรม ได้แก่ ครูเป็นผู้เสียสละ ครูเป็นผู้มีความรู้ ครูเป็นผู้สอนมอบความรู้ให้กับนักเรียน และครูเป็นบุคคลที่ทุ่มเททำงานหนัก ซึ่งจากวาทกรรมดังกล่าวนำมาสู่การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นครูไทยและเป็นมายาคติของสังคมทั้ง 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) ครูเป็นผู้เสียสละตน (2) ครูมีหน้าที่สั่งสอนและขัดเกลาให้กับสมาชิกในสังคม (3) ครูผู้มีความรู้ความสามารถ ...
การคัดเลือก ‘รอบพอร์ต’ กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
Reading Time: 2 minutes การศึกษาไทยกลายเป็นตระแกรงร่อนขนาดใหญ่ พยายามขยายตัวเองให้กว้างขวาง เพื่อรองรับเด็กที่มีความสามารถหลากหลาย แต่หลงลืมความแตกต่างจากพื้นฐานทางสังคม ประกอบด้วยการตีความ ‘พอร์ต’ ที่ผิดเพื้ยน ทำให้ตระแกรงอันใหญ่กลับมีระยะห่างระหว่างช่องที่เล็กลงเรื่อย ๆ และคัดเด็กทิ้งระหว่างทางโดยไม่รู้ตัว

หนังสือ Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ
Reading Time: < 1 minute ภาพจำเกี่ยวกับ Active Learning ของหลายคนมักเกี่ยวข้องกับการสอนที่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ การให้ผู้เรียนได้จับกลุ่มคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตำราต่าง ๆ ก็มักพูดถึง Active Learning ในแง่ของวิธีการนำไปใช้ ซึ่งหนีไม่พ้นการบอกเล่าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอน ทำให้ Active Learning มักถูกมองว่าเป็นเรื่องวิธีการสอน (Concept of Teaching) มากกว่าเป็นเรื่องวิธีการเรียนรู้ (Concept of Learning)