ในการดูแลของบริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ในนามกลุ่มธุรกิจทีซีพี (TCP)
โครงการโรงเรียนปล่อยแสง เป็นโครงการในการดำเนินงานของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับบริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ในนามกลุ่มธุรกิจทีซีพี (TCP) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำโครงการโรงเรียนปล่อยแสง : พัฒนานิเวศการเรียนรู้ (School Learning Eco-system Development)
โครงการโรงเรียนปล่อยแสงมีจุดมุ่งหมายจะเห็นการพัฒนาการศึกษาไทย โดยเป็นฝ่ายสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ในการปรับเปลี่ยนการออกแบบการเรียนการสอน สนับสนุนให้ครูเป็นผู้พัฒนานิเวศการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และให้ครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ออกแบบจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Authentic Learning มีสื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษา มีการทำงานเป็นทีมและเครือข่ายเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชนวิชาชีพ (PLC) เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ และเป็นกลไกสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบการศึกษาไทย
โครงการโรงเรียนปล่อยแสงได้เริ่มเมื่อปี 2564 และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในภายใต้ชื่อโครงการ โรงเรียนปล่อยแสง : พัฒนานิเวศการเรียนรู้ โดยมุ่งหวังจะพัฒนาการศึกษาไทยที่มีความสอดคล้องกับบริบทชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “นิเวศการเรียนรู้” ในหลากหลายพื้นที่ จำนวน 10 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งโรงเรียนในเครือข่ายนี้เข้าสู่กระบวนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เห็นจุดหมายตามที่โรงเรียนต้องการผ่าน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การวิจัยและพัฒนานิเวศการเรียนรู้, ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาศักยภาพบุคลากร, ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาสื่อการสอนและทรัพยากรการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสื่อสารกับสังคม
ผลงานที่เกี่ยวข้อง
นโยบายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปสู่จุดหมาย
‘มหกรรมการศึกษา นิเวศการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้’ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “ร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ความเป็นไปได้ใหม่” ชวนสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจทีซีพี (TCP) แลกเปลี่ยนถึงแนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาไทย และการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงใหม่...
การศึกษานั้นไม่ได้แย่ และมีความเป็นไปได้ใหม่
โครงการโรงเรียนปล่อยแสง พัฒนานิเวศการเรียนรู้ โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ กลุ่มธุรกิจทีซีพี จัดงาน ‘มหกรรมการศึกษา นิเวศการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้’ ชวนผู้อำนวยการ ครู และนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมาร่วมกันส่งต่อพลังและจุดประกายว่า ความเป็นไปได้ใหม่ของการศึกษา จากความรู้ที่โครงการได้ทดลองพัฒนากับโรงเรียนมาเป็นเวลาสามปีคืออะไร หากอยากเห็นเด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมาย โรงเรียนต้องจัดและปรับอย่างไร กิจกรรมภายในงานต้อนรับผู้คนในวงการการศึกษาและผู้ที่สนใจ มีทั้งนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการ นิทรรศการรูปธรรมนิเวศการเรียนรู้จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เสวนา ‘นิเวศการเรียนรู้...
ไม่มี one size fits all สำหรับการพัฒนาการศึกษาไทย จากเลนส์นักกระบวนกร
กับการพัฒนาโมเดลต้นแบบโรงเรียนปล่อยแสง
ลองจินตนาการถึงระบบการศึกษาไทยที่เปิดกว้างและมีหลักสูตรการสอนหลากหลาย ผลผลิตที่ได้คงจะงดงามเหมือนดอกไม้หลากสี และประเทศไทยคงมีบุคลากรงอกงามในหลากหลายเส้นทางและความสามารถ แต่ในความจริงโรงเรียนและบุคลากรทั้งครูและนักเรียน มักต้องเดินบนเส้นทางที่ถูกตีกรอบไว้ทางเดียว จนไม่อาจจินตนาการถึงทุ่งดอกไม้ที่เต็มไปด้วยสีสัน เมื่อโครงการโรงเรียนปล่อยแสงที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของครูและนิเวศการเรียนรู้ในทั้งหกโรงเรียนมาต่อเนื่องถึงปีที่ 3 จึงอยากเห็นโมเดลที่พัฒนาต่อไปให้แต่ละโรงเรียนงอกงามในแบบเฉพาะของตนเอง “เป็นไปได้ไหมที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจะสร้างโมเดลต้นแบบที่ช่วยพัฒนานิเวศการเรียนรู้ เรามีหกโรงเรียน ก็จะมีหกโมเดลต้นแบบที่ตอบโจทย์ต่างกัน อันนี้คือเป้าหมายระยะยาวโครงการ” “เกด”-ธุวรักษ์ ปัญญางาม ผู้ก่อตั้ง Insights for Change หนึ่งในกระบวนกรที่เข้ามาช่วยโครงการโรงเรียนปล่อยแสง บอกเล่าถึงการออกแบบกระบวนการในปีที่ 3 น่าสนใจว่าการออกแบบที่ตอบโจทย์เฉพาะของแต่ละโรงเรียนนั้น...
Eco school โรงเรียนตื่นรู้เชิงนิเวศน์ที่ศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์
“ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน ผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เติบโตมากับพ่อแม่ธนินทร์ ปูรณัน ผู้จัดการโรงเรียนและ ศันสนีย์ ปูรณัน ครูใหญ่ ผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาโรงเรียนมายาวนาน “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน...