Korkankru

บทความ

‘แผนการเรียนเฉพาะ’ ทางเลือกของการศึกษาไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ?

highlight การแบ่งสายการเรียน “วิทย์-ศิลป์” เกิดขึ้นในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2476 เพื่อรองรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการค้นหาตนเอง “แผนการเรียนเฉพาะทาง” การแบ่งสายการเรียนอิงจากคณะต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อมุ่งหวังแก้ปัญหา แต่กลับเป็นการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะที่ยิ่งล็อกและบังคับให้นักเรียน ‘ต้องรีบ’ ที่จะรู้ว่าตนเองสนใจและถนัดสิ่งใด เพื่อกระโจนเข้าสู่การแบ่งศาสตร์และสายอาชีพที่เร็วมากขึ้น Personalize Learning ไม่ใช่สายการเรียน (track) ที่หลากหลายตัวอย่างการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นหาความสนใจ โดยไม่แบ่งสายการเรียนวิทย์...

‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ ตราประทับของความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน ?

กระแสของ Pride Month หรือ เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ได้รับการตอบรับจากสังคมไม่เว้นแต่ในรั้วโรงเรียน โดยเห็นได้จากการจัดกิจกรรมหรือการสร้างรูปธรรมอย่าง ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ เพื่อเป็นเครื่องมือหรือตราประทับว่า โรงเรียนแห่งนั้นล้วนให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศ คำถามชวนคิดต่อ คือ การมี ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศของตนจริงหรือ?  และโรงเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการเคารพต่อความแตกต่างทางเพศจริงหรือ? แน่นอนว่า หนึ่งในประโยชน์สำคัญของการมีห้องน้ำสีรุ้ง คือ การเพิ่มพื้นที่หรือเพิ่มทางเลือกให้แก่นักเรียนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายนอกเหนือจากชาย/หญิง มีพื้นที่ที่ช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องใช้ห้องน้ำในการทำธุระส่วนตัว...

‘เรียนรู้นอกตำราผ่านชุมชน’ กับ ‘ครูอับดุลย์ – ศิโรจน์ ชนันทวารี’ ก่อการครู Bangkok และพันธมิตร

“จะดีขนาดไหนถ้าชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเรื่องการศึกษา  “หนังสือส่วนใหญ่ถูกสร้างมาด้วยสำนักพิมพ์ ซึ่งความเป็นชุมชนหรือท้องถิ่นมันห่างกันอย่างสิ้นเชิง แค่โรงเรียนห่างกันไม่กี่กิโลก็มีเรื่องเล่า ความคิด ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม มีอะไรที่แตกต่างกันไปหมดเลย  “การที่ครูสอนแต่ในตำรา มันก็เหมือนมาโรงเรียนเพื่อไปเรียนสิ่งไกลตัว ทั้งๆ ที่เด็กเดินมาโรงเรียนทุกวัน ผ่านสิ่งต่างๆ รอบตัว แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว ไม่ได้รู้จักชุมชนหรือบ้านของตัวเอง เรียนแล้วเอาไปพัฒนาอะไร เด็กอาจจะมองไม่เห็น แต่ถ้าเราหยิบประเด็นที่อยู่รอบตัว ทั้งในโรงเรียนหรือในชุมชนมาให้เขาได้เรียนรู้ เขาจะสามารถเชื่อมโยงความเป็นจริงจากสิ่งที่เห็นด้วยตา...

“ประชาชนอุทิศเปลี่ยนโลก พาเพลิน เดินงานวัด” เสียงเพรียกจากหุบเขา สร้างนิเวศการเรียนรู้เปลี่ยนโลก จากโรงเรียนประชาชนอุทิศ

ตลอดเส้นทางการขับเคลื่อนการศึกษาของโรงเรียนประชาชาอุทิศ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในเส้นทางโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) ปี 2 ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนหนึ่งเดียวในพื้นที่อุตรดิตถ์ และเข้าร่วมกับโครงการฯ เป็นปีแรก แต่ด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจของบุคลากรในโรงเรียน ผนวกกับการได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างเหนียวแน่นของคนในชุมชนและองค์กรขับเคลื่อนสังคมในพื้นที่ จับมือกันฟื้นฟูความหวังของโรงเรียนอนุบาล-ประถมศึกษาเล็ก ๆ ใจกลางหุบเขา ขยับเข้าใกล้ภาพฝันของการสร้างนิเวศการเรียนรู้เสริมพลังนักสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งองคาพยพ ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ครู...

พิเศษ ถาแหล่ง: โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคมฯ และ ‘ห้องเรียนระบบสอง’ แนวทางของครู-ชุมชน ป้องกันเด็กหล่นจากระบบการศึกษา

ออกจากโรงเรียนกลางคันปีละสิบกว่าราย ปัญหาใหญ่ของตำบลห้วยซ้อ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิษก เป็นโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 620 คน เป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 280 คน ตอนปลาย 340 คน และมีบุคลากรโรงเรียน 42 คน ซึ่งความยากจนในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2558...

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)...

‘Fish Bank’ สนุกกับการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง สำรวจทรัพยากรผ่านบอร์ดเกม

ถ้าพูดถึงเกมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มนุษย์จะสามารถประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาได้ คงหนีไม่พ้น ‘เกมกระดาน’ หรือ บอร์ดเกม (Board Game) ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควบคู่มากับอารยธรรมมนุษย์ บอร์ดเกมที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุราว 4,600 ปี ถือกำเนิดที่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย นอกเหนือจากความสนุกและเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกมเก่าแก่นี้ไม่สาบสูญไป อาจเป็นเพราะแก่นของบอร์ดเกม คือ การจำลองสถานการณ์ต่างๆ ให้เราได้วางแผนและใช้ความคิด อาจกล่าวได้ว่าบอร์ดเกมสามารถถอดเป็นบทเรียนและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดา...

7 หลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning

มีคำกล่าวอยู่ว่า ‘การศึกษา’ กับ ‘การเรียนรู้’ นั้นแตกต่างกัน คุณสามารถศึกษาวิธีการปลูกข้าวโพดได้จากการค้นหาในอินเทอร์เน็ตหรือซื้อหนังสือมาอ่าน แต่ถ้าคุณอยากเรียนรู้วิธีการปลูกข้าวโพดก็ต้องลงมือทำด้วยตนเองเท่านั้น  การศึกษาข้อมูลผ่านการอ่านจะช่วยเสริมสร้างความทรงจำให้กับคุณ แต่การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์แล้ว ยังช่วยให้เกิดกระบวนการคิดการแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งการเรียนรู้จากประสบการณ์เช่นนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) อันเป็นความรู้ที่คงทนยิ่งกว่า ในระยะที่ผ่านมา ระบบการเรียนการสอนในประเทศไทยอาจให้น้ำหนักไปที่ ‘การศึกษา’ เสียมากกว่า...

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง : สร้าง “นิเวศการเรียนรู้” สู่ห้องเรียนที่มีความสุขและมีความหมาย

หากต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ใคร? คำตอบแรกที่ขึ้นมาในหัวของแต่ละท่านอาจแตกต่างกัน บ้างอาจตอบว่าต้องเริ่มต้นที่ครู บ้างอาจตอบว่าคงต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบก่อน ทุกท่านอาจลองเก็บคำตอบนั้นไว้ในใจ เพราะในบทความนี้จะพาไปชมนิทรรศการจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จ.นครสวรรค์ และ จ.ตรัง ณ งาน บัวหลวงก่อการครู: เวทีเบิ่งแงงการศึกษาอุดรบ้านเฮา จ.อุดรธานี ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นิทรรศการสะท้อนเสียงของ...

รับฟังด้วยหัวใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยการฟัง

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเติบโตสู่วัยรุ่น หลานสาววัย 10 ปี เริ่มปลีกตัวห่างจากครอบครัว ขีดเส้นแบ่งเขตส่วนตัวไม่ให้ใครกล้ำกราย ความเป็นห่วงที่เกิดขึ้นในใจของป้า จึงทำให้ พี่เช่ (ศุภจิต สิงหพงษ์) เริ่มสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากการฟังของตัวเอง เพื่อเป็นเพื่อน เป็นป้า เป็นที่ปรึกษา ในยามที่ต้องการ พี่เช่ ช่างภาพมือดีประจำโครงการ ถ่ายทอดเรื่องราวการฟังที่เปลี่ยนไป จากการสังเกตการณ์ในระหว่างวิชาทักษะการโค้ชเพื่อครู (หนึ่งในการอบรมโครงการก่อการครู...