Korkankru

บทความ

“เกม” เปลี่ยนห้องเรียน ชั่วโมงความสุขของนักเรียนและครูเก๋ โรงเรียนมักกะสันพิทยา

ร่วมเรียน ร่วมเล่น ในห้องเรียนวิชาเคมีของ ‘ครูเก๋’ สุดารัตน์ ประกอบมัย โรงเรียนมักกะสันพิทยา ที่เธอพัฒนาสื่อการสอนมาเป็นเครื่องมือเปลี่ยนกระบวนการในคาบเรียน เปิดพื้นที่ให้นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้อย่างมีความสุข ได้ทั้งความรู้ ความสนุก ความเข้าใจในตนเองและผู้อื่น “เดินสามช่อง ไป H ไฮโดรเจน!”“ติ๊ง~” เสียงกดกระดิ่งดังขึ้น นักเรียนนั่งล้อมวงเป็นกลุ่มเล็กๆ ทอยลูกเต๋า เดินหมาก จั่วการ์ดสีสันสดใส...

แนวคิดโรงเรียนร่วมพัฒนา

ข้อเสนอแนะ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เป็น “ความจริง” ของระบบการศึกษาไทย ที่น่าเศร้าใจ และหากมองในมุมบวก ก็เป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องกระตุ้นการเปลี่ยนใหญ่ (transformation) ของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เพียงแต่ทำงานตามคำสั่งของหน่วยงานเหนือ ถูกสะท้อนผ่านภาพการได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รับคำสั่งที่ดี ไม่เป็น agency หรือผู้ที่ทำงานริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับการทำงานสร้างสรรค์ ในระบบที่ “สุดโหด” (wicked) อย่างระบบการศึกษา โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา...

แนวคิด Learning Organization: ขยายการเรียนรู้ข้ามขอบรั้วโรงเรียน

บทสะท้อนการเรียนรู้ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เวทีเครือข่ายแสดงพลังสื่อสารสังคม โรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร เป็นพื้นที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย และภาคส่วนต่างๆ ในการร่วมกันพัฒนา นิเวศการเรียนรู้ที่มีความสุขและความหมาย ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิใจกระทิง ดำเนินโครงการ “นิเวศการเรียนรู้แห่งความสุข และความหมาย: การพัฒนาศักยภาพโรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร” ตั้งแต่วันที่...

มหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon

.............ก่อการครู ชวนทำภารกิจพิชิตดวงจันทร์กับมหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon การศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและปลดแอกการเรียนรู้จากรั้วโรงเรียนสู่การเรียนรู้จากชุมชน ผ่านอัลบั้มภาพชุด “Mission To The Moon : ภารกิจเที่ยว ทำ เล่น เรียน รู้...

มายาคติว่าด้วยความสำเร็จ: การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต

ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล เคยสังเกตไหม เวลานั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยม ไม่ว่าในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ที่ตลอดแนวรั้วดูเหมือนจะถูกเนรมิตให้เป็นพื้นที่โฆษณาขนาดมหึมา มีแผ่นป้ายไวนีลติดประกาศเชิดชูนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่างๆ นานา ขนาบด้วยภาพนักเรียนชั้น ม.6 ที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน หากมองเข้าไปถึงความรู้สึกของเด็ก อาจมีบางคำถามผุดขึ้นตามมาว่า เด็กเหล่านั้นคิดอย่างไรกับการที่รูปของเขาและเธอถูกแปะไว้เต็มกำแพงโรงเรียนด้วยความชื่นชมของผู้ใหญ่ กับอีกมุม แล้วเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ล่ะ จะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้? นั่นคือข้อสังเกตประการหนึ่ง...

‘มหาลัยนัยหลืบ’ หลักสูตรของเด็กช่างฝัน

“หมุนวงล้อการเรียนรู้ กับ ครูสายปั่น” บทที่ 2 เรื่องเล่าจากการเดินทางของเราครั้งนี้ เป็นช่วงเวลาที่ผมและทีมงานก่อการครูได้ขับเคลื่อนกิจกรรมรถพุ่มพวง ชวนเรียนรู้ ณ กาฬสินธุ์ ทดลองให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านบริบทชุมชนของตนเอง แล้วให้ผู้เรียนค้นหาประเด็นที่พวกเขาสนใจในชุมชน จำได้ว่ามีนักเรียน ม.ปลาย คนหนึ่ง สนใจเรื่อง ดินธรรมดา ๆ แต่มาถึงตอนนี้ ดินในวันนั้นได้เปลี่ยนคน ๆ หนึ่ง ไปไกลกว่าที่ผมคิด...

เช็กฮวงจุ้ยการศึกษาไทย ในวันที่หลักสูตรเปลี่ยนชื่อเรียก

Jan 5, 2022 บทความ 0 Comments 2 min

หลายคนเชื่อว่า “การเปลี่ยนชื่อ” จะหนุนนำให้หลายอย่างเปลี่ยนในทางดีขึ้น แม้แต่ “Facebook” ยังเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Meta” เพื่อยกระดับบริการที่ให้ความสำคัญกับโลกเสมือนจริง ทว่าการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก “หลักสูตรแกนกลาง” เป็น “หลักสูตรฐานสมรรถนะ” จะหนุนนำนักเรียนเราให้ดีขึ้นเหมือนกันไหม เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย ประกาศกับสังคมว่ากำลังพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยหลักสูตรที่สนับสนุนความถนัดและความสนใจผู้เรียนเป็นรายคน สนทนากับ ‘รศ.อนุชาติ พวงสำลี’ คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ไม่ใช่สายมูเตลู แต่นับเวลาที่อยู่ในแวดวงการเรียนรู้ ก็พอพยากรณ์ได้ว่าอนาคตนักเรียนไทยจะเป็นแบบไหนในวันที่ “หลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนชื่อเรียก”   1. เปลี่ยนชื่ออย่างเดียวไม่ปัง ต้องเปลี่ยนความเชื่อเรื่องการศึกษา หากเปรียบการเปลี่ยนหลักสูตรกับความเชื่อ วันนี้กระทรวงศึกษาธิการเชื่อว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเดิมที่ให้ความรู้ตามมาตรฐาน 8 สาระวิชา ไม่ทันสมัยกับความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนอีกต่อไปแล้ว และการแก้เคล็ดคือเปลี่ยนไปเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เน้นเรียนรู้แบบสร้างทักษะเพื่อทำให้ภาพการศึกษาไทยเปลี่ยนในทางที่ดีกว่าเดิม เรื่องนี้ ‘รศ.อนุชาติ’ มองว่าแก้ปัญหาถูกทาง แต่ยังไม่ครบเครื่อง...

More Than Art อำนาจของศิลปะ และธรรมชาติ

หลังจากเราขึ้นเขา ลุยป่ากันมาหลายสัปดาห์ “ห้องเรียนและธรรมชาติ” ครั้งนี้ เลยปรับให้เบา และโหดน้อยลงกว่าทุกครั้ง แม้จะเป็นช่วงหน้าฝน แต่สภาพอากาศช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ฝนทิ้งช่วงห่างไปหลายวัน ความร้อนอบอ้าว ทำให้เราต้องหาพื้นที่เย็น ๆ ธรรมชาติสีเขียว ผ่อนคลาย หายร้อน คลายเครียดจากการเรียนออนไลน์ และช่วยเกาะเกี่ยวนักเรียนที่ไม่ชอบออนไลน์ให้ได้ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือช่วยเยียวยาตัวครูเอง และนักเรียนของเรา “ลำน้ำพอง” คือห้องเรียนธรรมชาติของพวกเรา โดยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ มีรองผู้อำนวยการต่างโรงเรียน...

ภูเขาหลังบ้าน ใกล้เเค่ไหน ก็ไม่เคยไปถึง

  “การเรียนรู้ คือ ชีวิต”  และ “ชีวิต คือการเรียนรู้” ครูสอยอ | สัญญา มัครินทร์   แล้วธรรมชาติของมนุษย์เรา เรียนรู้ไปทำไม? เรียนรู้กันอย่างไร? และเรียนรู้อะไรกัน? ที่จะทำให้ชีวิตเรา อยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย มันมีปรัชญาการศึกษา...

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...