ก่อการครู – Korkankru

ก่อการครู

ประกาศผลการคัดเลือกครูแกนนำก่อการครู รุ่น 5

โครงการก่อการครูขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา เปลี่ยนแปลงการศึกษาไปกับพวกเรา  ‘โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้’โครงการฯ ขอประกาศรายชื่อครูผู้ผ่านการคัดเลือกในการเข้าร่วมขบวนการ ก่อการครู รุ่น 5 จำนวน 105 ท่าน 📌ตรวจสอบรายชื่อช่องทางอื่น google sheet : ประกาศผลการคัดเลือกครูแกนนำก่อการครูรุ่น 5 หากยังไม่ได้รับอีเมลประกาศผลและยืนยันการเข้าร่วม ติดต่อผู้ประสานงาน...

หลากวิธีเสริมพลังครู เมื่อในชั่วโมงเรียนไม่ได้มีครูคนเดียวในห้อง โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง

โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จังหวัดปราจีนบุรี โรงเรียนประจำชุมชน ตั้งใจพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เน้นบูรณาการกับการสร้างเสริมทักษะอาชีพที่ผู้เรียนสนใจ  แต่ความท้าทายที่กำลังเผชิญ คือข้อจำกัดด้านความเชี่ยวชาญของครูที่ต้องเปิดสอนวิชาใหม่ๆ หลายวิชามารองรับ จึงเป็นโจทย์หนึ่งที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงพยายามเข้าไปช่วยแต่ละโรงเรียนพัฒนานิเวศการเรียนรู้ที่มีสภาพแวดล้อมและบริบทของชุมชนแตกต่างกันไป วันที่โครงการฯ เดินทางมาถึงโรงเรียนศรีรักษ์ฯ วิทยากรพบว่าคุณครูไม่ได้ขาดแคลนเครื่องมือออกแบบการสอน แต่อาจต้องการแรงเสริม เปิดพื้นที่ทดลองบางอย่างเพื่อสร้างความมั่นใจ และเปิดมุมมองการทำงานใหม่ๆ ผ่านการสอนร่วมกันเป็นทีม หรือ Team teaching ที่เน้นการบูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน...

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกรอบใบสมัคร และมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ก่อการครูรุ่น 5

ขอบคุณผู้ร่วมก่อการทุกท่านที่ให้ความสนใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาไปกับเรา โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ โครงการฯ ขอประกาศรายชื่อครูผู้ผ่านการคัดเลือกรอบใบสมัคร และมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ก่อการครูรุ่น 5 จำนวน 114 ท่าน

ฟื้นคืนบรรยากาศห้องเรียนด้วยการเล่น โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ จังหวัดสงขลา มีเป้าหมายการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อบ่มเพาะเด็กให้เติบโตเต็มศักยภาพที่เขาพึงเป็น แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยาวนาน บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่สดใสเหมือนเดิม  ทำอย่างไรจะฟื้นคืนบรรยากาศการเรียนรู้ กระตุ้นทั้งครูและผู้เรียนให้กลับมาตื่นตัวกับกิจกรรมตรงหน้า ใช้สื่อออนไลน์ในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้อย่างเข้าใจแทนที่จะปล่อยให้เป็นปัญหา เพื่อตอบคำถามนี้เราจึงชวน “เต้” - ผดุงพงศ์ ประสาททอง กับ “ขวัญ” - ขวัญหทัย...

หนังสือ ย้อนแย้ง แยบยล บทวิเคราะห์ประเด็นการศึกษาไทย

ก่อการครูชวนผู้อ่านกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับมายาคติที่อยู่ในวิธีคิด การปฏิบัติ ปะทะกันในเชิงความคิด จากมายาคติที่ยึดถือหลากหลาย ฝั่งแฝงความเชื่อได้อย่างแยบยลจนไม่ทันรู้ตัว หนังสือย้อนแย้ง แยบยล บทวิเคราะห์ประเด็นการศึกษาไทยในโครงการวิจัยการสำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย ปีที่ 2 คำสำคัญสองคำ นั่นคือ ‘ย้อนแย้ง’ – ‘แยบยล’ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของมายาคติที่แฝงฝังอยู่ในวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของผู้คน ซึ่งมีทั้ง ความย้อนแย้ง ไม่ลงรอยระหว่างชุดวิธีคิดที่หลากหลายภายใต้ประเด็นทางการศึกษาในเรื่องเดียวกัน และมี ความแยบยล...

เวทีเสวนาโรงเรียนปล่อยแสง นิเวศการเรียนรู้ที่มีความหมาย

“นิเวศการเรียนรู้” คือคำสำคัญที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงนำมาพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เพราะเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับโรงเรียน คงไม่มีใครคนใดคนหนึ่งขับเคลื่อนได้เพียงลำพัง แต่คำสำคัญนี้ยังเป็นแค่กรอบคิดหรือวิธีการทำงานในมุมมองของหลายๆ คน เพราะยังไม่เคยเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง งานเวทีปล่อยแสงซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2566 จึงตั้งใจเปิดพื้นที่ให้ผู้คนจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสงได้มาแลกเปลี่ยน บอกเล่าการทำงานของการพัฒนานิเวศการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้สู่ชีวิตจริง  มาร่วมฟังทีมผู้จัด ผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครู รวมถึงนักเรียนที่มาร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีเสวนา “โรงเรียนปล่อยแสง นิเวศการเรียนรู้ที่มีความหมาย” ไปพร้อมๆ กัน นิเวศที่ฉันเติบโต “ตอนประถมฯ...

ถอดบทเรียน 6 โรงเรียนปล่อยแสง ย้อนรอยเส้นทางการเรียนรู้ที่ผลิบาน

“รู้สึกตื่นเต้นพอสมควร เพราะปีนี้เป็นครั้งแรกที่เรามารวมกันพร้อมหน้าทั้ง 6 โรงเรียน หลังจากที่อบรมโมดูลต่างๆ ของโครงการ ก็ไม่มีโอกาสมาเจอกันแบบนี้ ต่างคนต่างอยู่โรงเรียนของตัวเอง ค้นหาโจทย์และพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของโรงเรียนตามประเด็นที่แตกต่างกัน  วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มาแลกเปลี่ยนและสะท้อนการเรียนรู้กันว่า โรงเรียนฉันมีโจทย์แบบนี้ เกิดการเรียนรู้แบบนี้ ของโรงเรียนเธอล่ะเป็นอย่างไร”  อธิษฐาน คงทรัพย์ หรืออาจารย์เปิ้ล หัวหน้าโครงการโรงเรียนปล่อยแสงและผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงานถอดบทเรียนรวมในรอบ 2 ปีของโครงการฯ เมื่อปลายเดือนเมษายน...

เวทมนตร์การเรียนรู้เปี่ยมพลัง : เพราะครูต่างมีคาถาวิเศษของตัวเอง

‘เวทมนตร์’ แรกเริ่มได้ยินคำนี้ พานให้นึกถึงความแฟนตาซี ร่ายคาถา เสกสรรค์ปั้นแต่งแร่ธาตุให้กลายเป็นพลังงานชวนตื่นตะลึง ประหนึ่งนวนิยายที่หลายคนหลงรักอย่าง ‘Harry Potter’ ใครบ้างที่ไม่อยากเรียนฮอกวอตส์ หรือใช้ชีวิตในโลกมหัศจรรย์ที่สัตว์พูดได้ เหาะเหินด้วยไม้กวาดและไม่ต้องกังวลรถติดขัดกลางดงคอนกรีตเสริมความร้อน แม้เป็นเรื่องในจินตนาการที่ไกลลิบ แต่ปัจจุบันก็ไม่มีใครบอกเสียหน่อยว่าเวทมนตร์เป็นเรื่องเพ้อฝัน ขอเพียงแค่รู้จักตัวเองดีพอ เราก็มีโอกาสที่จะเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น เฉกเช่นเดียวกับการศึกษาในห้องสี่เหลี่ยมที่ไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อหรือหล่อเลี้ยงความอับเฉาให้อนาคตของประเทศ หากมีการพลิกแพลงด้วยกิจกรรมหรือสื่อการสอนที่เกี่ยวข้องกับ ‘เวทมนตร์’ ก็สามารถกล่อมผู้เรียนให้มีสมาธิกับเนื้อหาได้อยู่หมัด ทั้งยังลดปัญหาพฤติกรรมเชิงลบ สร้างความสนุกสนานเพลินเพลิด...

ยงยุทธ ศรีจันทร์ : สร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน รับฟังโดยไม่ตัดสิน เข้าใจเด็กในทุกมิติ

“เรารับฟังเด็กมากขึ้น ทำความเข้าใจเด็กมากขึ้น ฟังโดยที่ไม่จับผิดตัวเด็ก และเชื่อว่าเด็กสามารถตัดสินใจเลือกได้ด้วยตัวเอง” ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนาคำหลวง ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการอบรม ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ทำให้ตนเองมองเด็กเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากครูที่ต้องการให้เด็กได้รับความรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด คะยั้นคะยอให้เด็กท่องจำเนื้อหาโดยไม่ใส่ใจพื้นฐานของเด็กแต่ละคนเท่าที่ควร ‘ทักษะการโค้ช’ จากโครงการฯ ทำให้ครูกิ๊ฟมีมุมมองใหม่ต่อเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และหันไปทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชนมากขึ้น...

เปิดโลกการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ ‘เกม’ เสริมทักษะใหม่ให้ครูรุ่นใหม่

ในอดีตนั้นการเล่นเกมของเด็ก ๆ มักถูกผู้ใหญ่มองในแง่ลบ จนถูกเรียกว่า ‘เด็กติดเกม’ ทว่าในยุคปัจจุบันเกมและบอร์ดเกมเริ่มได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และถูกมองเห็นคุณค่าในแง่การพัฒนาสมอง ซึ่งในแวดวงการศึกษาก็ได้นำแนวคิดของการเล่นเกมมาผนวกใช้ให้เข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้ในห้องเรียนมากขึ้น อีกทั้งงานศึกษาจำนวนมากยังพบว่า กระบวนการเกมเป็นวิธีเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างรวดเร็ววิธีหนึ่งด้วย การศึกษาในยุคปัจจุบันแสดงให้เราเห็นว่า การมีข้อมูลมากไม่ได้แปลว่าผู้เรียนมีความรู้มาก สิ่งนี้ทำให้การศึกษาแบบเดิมที่เน้นป้อนข้อมูลให้นักเรียนจดจำครั้งละจำนวนมาก ๆ เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้การ ‘เล่นเกม’ จึงเข้ามาตอบโจทย์ดังกล่าว เพราะเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถเรียนรู้ผ่านการกระทำมากกว่าการท่องจำข้อมูล และนับเป็นเครื่องมือชั้นดีในการสอดแทรกเนื้อหาการเรียนรู้ผ่านความสนุก  แต่กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ด้วยเกมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย...