Korkankru

ก่อการครู

Sensory Integration ห้องเรียนเคลื่อนไหวร่างกายที่ช่วยเติมเต็มจิตใจ ครูธิดา โรงเรียนสุจิปุลิ

เด็กหญิงยืนอยู่ที่มุมห้อง บนพื้นเต็มไปด้วยห่วงสีแดงวงใหญ่เรียงเป็นแถวๆ ในมือเธอมีกระดาษแผนที่บอกทิศทาง ภารกิจคือนำตุ๊กตาไปวางในห่วงสีแดงอันสุดท้ายตามเส้นทางที่กำหนด หลังจากหยุดยืนชั่งใจอยู่สักครู่ เธอก็ค่อยๆ ก้าวเดิน จากห่วงอันหนึ่งไปยังอีกอัน เด็กๆ กระตือรือร้น ยกมือขอทำภารกิจเป็นคนต่อไป แม้บางคนจะมีผิดพลาดบ้าง ลังเลบ้าง แต่บรรยากาศในห้องยังเต็มไปด้วยความสนุกสนานจากเสียงเชียร์ของเพื่อนๆ และคำพูดให้กำลังใจของคุณครู  นี่คือห้องเรียนวิชา Sensory Integration ของ โรงเรียนสุจิปุลิ จังหวัดฉะเชิงเทรา...

นักเรียน ครู ผู้ปกครอง นิเวศการเรียนรู้เพื่อโอบอุ้มเด็กให้เติบโต ‘ครูแอน’ โรงเรียนสุจิปุลิ

กลุ่มผู้ปกครองนั่งรออยู่ที่หน้าเวที เด็กๆ ในชุดผึ้งค่อยๆ เดินเรียงแถวออกมา ร้อง เล่น เต้นตามจังหวะเสียงเพลง ก่อนจะจูงมือ พาคุณพ่อคุณแม่เข้าห้องเรียน เพื่อเล่าถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ตลอดช่วงเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา นาฎฤดี จิตรรังสรรค์ หรือ “ครูแอน” นี่คือบรรยากาศวันนำเสนอโครงงานของเด็กชั้นก่อนอนุบาลในโรงเรียนสุจิปุลิ จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนแนวคิดใหม่ของ นาฎฤดี จิตรรังสรรค์ หรือ...

“เกม” เปลี่ยนห้องเรียน ชั่วโมงความสุขของนักเรียนและครูเก๋ โรงเรียนมักกะสันพิทยา

ร่วมเรียน ร่วมเล่น ในห้องเรียนวิชาเคมีของ ‘ครูเก๋’ สุดารัตน์ ประกอบมัย โรงเรียนมักกะสันพิทยา ที่เธอพัฒนาสื่อการสอนมาเป็นเครื่องมือเปลี่ยนกระบวนการในคาบเรียน เปิดพื้นที่ให้นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้อย่างมีความสุข ได้ทั้งความรู้ ความสนุก ความเข้าใจในตนเองและผู้อื่น “เดินสามช่อง ไป H ไฮโดรเจน!”“ติ๊ง~” เสียงกดกระดิ่งดังขึ้น นักเรียนนั่งล้อมวงเป็นกลุ่มเล็กๆ ทอยลูกเต๋า เดินหมาก จั่วการ์ดสีสันสดใส...

ห้องเรียนที่ (หัวใจ) ปลอดภัย  สำคัญแค่ไหนต่อการเรียนรู้

“ห้องเรียนปลอดภัยคือพื้นที่ที่เด็กกล้าพูด มีความไว้ใจซึ่งกันและกันค่ะ”“พื้นที่ปลอดภัยเหรอ น่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นตัวเองได้แบบไม่ต้องกังวล จะทำอะไรก็มีความรู้สึกอิสระ ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกหรือจะผิดนะ”“น่าจะเป็นการยอมรับความแตกต่าง ความคิดเห็นที่แตกต่าง”“เป็นพื้นที่ที่ถ้าทำผิดไปแล้วจะมีคนให้อภัย ถ้าทำถูกก็จะรู้สึกว่าทุกคนยอมรับ”“ที่ๆ แสดงออกโดยไม่ถูกคุกคาม”“นักเรียนมีความสบายใจที่จะอยู่พื้นที่นั้น อยากจะพูดอยากจะปรึกษาอะไรก็ทำได้เลย โดยไม่รู้สึกว่าติดขัดอะไร”“พื้นที่ที่มีแสงแห่งความรักและมีความสุขให้กับเรา” เราสามารถนิยามได้ว่า พื้นที่ปลอดภัยคือ พื้นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยจากการกล่าวโทษต่อว่าตัวเอง และเป็นพื้นที่ ๆ สามารถรับฟังตัวเองและเป็นตัวเองได้โดยปราศจากการตัดสินจากคนอื่น พื้นที่ปลอดภัยที่เพียงพอ จะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้งอกงาม ผู้เรียนและผู้สอนเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ สามารถแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น...

เผด็จการศึกษา กับห้องเรียนของครูก่อการ
อัพเลเวลการเรียนรู้ ‘ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ’ ไม่รอแล้วนะ

ในขณะที่นักเรียนตกอยู่ภายใต้ความคาดหวัง บรรยากาศการแข่งขัน และแรงกดดันจากการระบบสังคมและการศึกษา เอาเข้าจริงแล้ว ครูเองก็มีสภาพอิดโรยไม่ต่างกันนัก พวกเขาต่างก้มหน้าก้มตาทำงานหนักราวกับหนูติดจั่น น่าเศร้ากว่านั้นคือ งานกว่าค่อนห่างไกลจากห้องเรียนที่พวกเขาวาดหวัง สภาพเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา และยังคงดำเนินต่อไป ครูถูกพรากจากห้องเรียน เด็กๆ ถูกพรากจากความรักในการเรียนรู้ โรงเรียนดูไร้ชีวิตชีวา การศึกษา แต่ถึงอย่างนั้น ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ครูจำนวนไม่น้อยตั้งหลักขยับขยายความเป็นไปได้ในการสร้างห้องเรียนที่มีความหมายแก่ผู้เรียน แม้จะพบอุปสรรคที่ชื่อ ‘ระบบ’ อยู่เบื้องหน้า...

‘หนี้สิน ภัยพิบัติ ชาวเล และวิถีมุสลิม’ หลักสูตรการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนใครในโลก

“คนในจังหวัดพังงาถูกกำหนดโดยส่วนกลางมาตลอดว่า เราต้องเป็นอย่างนั้น เราต้องทำอย่างนี้ ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะไม่สามารถออกแบบหรือพัฒนาบ้านของตัวเองได้ สมมติว่ามีงบประมาณมาก้อนหนึ่ง ก็จะถูกสั่งว่าคุณต้องเอาไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้นะ เราคิดนอกกรอบไม่ได้เลย และมันทำให้เราคิดนอกกรอบไม่เป็น” ถ้อยคำของ ‘ชาตรี มูลสาร’ สะท้อนชัดเจนว่า พังงาคือจังหวัดที่ประสบปัญหาไม่ต่างจากจังหวัดอื่นๆ ทั้งปัญหาหนี้สิน ที่ดิน การไร้อำนาจต่อรองของเกษตรกร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงผลกระทบจากโครงการพัฒนา ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน พังงาแบ่งออกเป็น 8...

‘มะขามป้อมอาร์ตสเปซ’ ข้ามขอบการศึกษา สู่ความเป็นไปได้ของการเรียนรู้

“มนุษย์มีตั้งกี่ล้านคน คุณจะให้เด็กแต่งตัวเหมือนกัน ไปเรียนแบบเดียวกัน มีสายวิทย์ มีสายศิลป์ หรือมีแค่ 4-5 โปรแกรมในระบบโรงเรียนให้เลือกเท่านั้นหรือ ? “ความแตกต่าง ความชอบ และลักษณะของเด็กไม่เหมือนกัน คุณเปิดไปเลยอีกร้อยพันโมเดล อยู่ที่ว่าเด็กจะไปเลือกอะไร เหมาะกับจริตแบบไหน จะเรียนกึ่งโรงเรียน ครึ่งหนึ่งออกมาเรียนข้างนอก จะเรียนข้างนอกไปเลย หรือจะเรียนในโรงเรียนอย่างเดียว มันก็ไม่แปลกอะไร” เช่นเดียวกับกระแสน้ำที่มีสายธารหลักในการหล่อเลี้ยงชีวิต...

รัฐไทยไม่ใช่เจ้าของการศึกษา
‘มหาลัย’ไทบ้าน’ โจนทะยานสู่ความเป็นไทในห้องเรียนสีชมพู

ฉากหนึ่งของจังหวัดขอนแก่นถูกขนานนามว่า ‘ขอนแก่นโมเดล’ จากแผนพัฒนาเมืองของกลุ่มเอกชนให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (smart city) หน้าตาของจังหวัดถูกปรับเปลี่ยนเหมือนภาพฝัน ความเจริญถูกโปรโมทบนจอภาพสามมิติ กระทั่งการประโคมข่าวของภาครัฐ ทว่าห่างออกไปสุดขอบจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 100 กิโลเมตร การเข้าถึงของถนนหนทางราบเรียบ อินเตอร์เน็ต น้ำปะปา หรือไฟฟ้า ของ ‘อำเภอสีชมพู’ เรียกได้ว่า อยู่ในสภาพขี้ริ้วขี้เหร่ แม้ที่แห่งนี้จะมีต้นทุนทางธรรมชาติและทัศนียภาพงดงาม...

ไม้ขีดไฟแห่งความวาดหวังจากภูเขาถึงจักรวาลกว้างคือห้องเรียนไร้ขอบของเด็กทุกคน

โดยสังเขป ‘ไม้ขีดไฟ’ เริ่มต้นจากกลุ่มนักศึกษาที่อกหักกับการศึกษา (ไทย) ครูคือศูนย์กลางของห้องเรียน ผู้เรียนคือผู้ฟังที่ภักดี ความสร้างสรรค์มีพื้นที่จำกัด ขณะที่ความสนุกสนานแทบจะไม่มีที่เหยียบยืนในระบบการศึกษาเช่นนี้  กุ๋ย - ศรัทธา ปลื้มสูงเนิน ผู้ประสานงานกลุ่มไม้ขีดไฟ และเพื่อน ตระหนักดีว่าการศึกษาไทยไม่สามารถทำให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุศักยภาพของตนเอง มากกว่านั้น การศึกษายังไม่ตอบโจทย์ชีวิตของมนุษย์ในสังคมและยุคสมัยที่ซับซ้อนผกผัน การศึกษามีพื้นที่ให้เด็ก ‘เก่งและดี’ แต่ไม่มีพื้นที่ให้ความเก่งรูปแบบอื่นๆ  “เรามาทำกิจกรรมแล้วพบว่า...

สวนศิลป์บินสิ! ติดปีกการศึกษา ชีวิตและการเรียนรู้ที่ห้องเรียนไม่ได้สอน

“เขาทำงานหนักแทบตายเพื่อที่จะซื้ออาหารดีๆ ซื้อเสื้อผ้าดีๆ ซื้อบ้านดีๆ และเพื่อรักษาตัวเอง ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่เขารู้สึกไม่มีอำนาจเลือกพวกนี้ เขาต้องไปทำงานหนัก หาเงิน แล้วก็กลับมา “สังคมเราเป็นสังคมที่ถูกปกครอง ถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจใหญ่ๆ กลุ่มทุนที่อยู่ข้างหลัง จัดระเบียบสังคมให้ไปสู่ผลประโยชน์ของเขา เพราะการศึกษาก็สร้างมาเพื่อระบบทุน ระบบอุตสาหกรรม ให้คนรับใช้ระบบเหล่านั้น มันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้คนมีความสุข ให้คนใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเสรี หรือให้คนเท่ากัน” วันเวลาในวัยเยาว์เดินไปอย่างเชื่องช้า...