Korkankru

ก่อการครู

ก่อร่างสร้างนิเวศการเรียนรู้ บันทึกการทำงานพัฒนาโรงเรียนจากสายตานักวิจัย

2 ปีของ “โครงการโรงเรียนปล่อยแสง” คุณครูหลายคนได้เดินทางไปบนสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง หลายคนได้เติมพลังไฟให้ลุกโชนจากใกล้มอดดับ หลายคนได้ฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ พร้อมกับเรียนรู้ทักษะและเครื่องมือใหม่ๆ หลายคนได้ลงมือก่อการบางอย่างในห้องเรียนและเริ่มเห็นการผลิดอกออกผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น  คุณครูแต่ละคนจากหลายโรงเรียน ล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราว ปล่อยแสงสว่างสดใสด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราอยากชวนทุกท่านมารับฟังเรื่องราวเดิมในมุมมองใหม่ ที่เล่าผ่านสายตาของนักวิจัย ได้แก่  รศ. ดร. ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล (อาจารย์แต้ว), ผศ. ดร....

ฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการศึกษา

มีคำกล่าวที่ว่า “ก้าวที่ยากที่สุดของการเดินทางคือก้าวแรก” หากเป็นเช่นนั้น แล้วถ้าเราอยากจะเปลี่ยนแปลงครูสักคนหนึ่ง เราควรเริ่มต้นกันอย่างไร  เพื่อตอบคำถามนี้ เราจึงมาคุยกับ พฤหัส พหลกุลบุตร, ธนัญธร เปรมใจชื่น และ ผศ. นพ. พนม เกตุมาน วิทยากรในโมดูลที่หนึ่งของโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ผู้ออกแบบห้องเรียนแรกที่ครูทุกคนจะต้องผ่าน เพื่อปรับฐานคิด ปลุกคุณครูให้ตื่นมาย้อนมองคุณค่าภายในตนเอง และเชื่อมั่นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง...

เปิดรับสมัครโครงการก่อการครู “ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้” รุ่น 5

ปัญหาการศึกษากำลังถูกพูดถึงในวงกว้าง ราวกับเป็นความเจ็บปวดร่วมของคนในสังคม การถูกควบคุมจากศูนย์กลาง การศึกษาที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ไม่ตอบโจทย์และขาดความหมาย ความเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต จิตใจ และขาดพื้นที่ปลอดภัยในการทดลองความรู้ใหม่ ๆ กลายเป็นการศึกษาแห่งความกลัว ไม่เอื้อให้เป็นระบบที่ความสุขและมีความหมายต่อผู้เรียนและครู โครงการก่อการครู ภายใต้คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ จึงมุ่งหวังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ระบบการศึกษา ผ่านการทำงานพัฒนาศักยภาพของครู ผู้อยู่ตรงกลางของความสัมพันธ์ในระบบโรงเรียน ให้กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ด้านการศึกษา นำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน...

วิธีหยุดการ Bully สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วย ‘ห้องเรียนแห่งรัก’

การกลั่นแกล้งรังแก (Bully) กันในโรงเรียน ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ซุกซ่อนอยู่ในโรงเรียนมานาน แต่สังคมเพิ่งตระหนักและรับรู้เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลกระทบของการกลั่นแกล้งนอกจากจะทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดบาดแผลฝังลึกทางกายและทางใจในระยะยาว การจะป้องกันและดูแลให้ทั่วถึงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะครูมีเพียงแค่หนึ่งสมองสองมือ ทว่า ‘ครูโทนี่’ สามารถหาวิธีลดการ Bully ลงได้ผ่านเครื่องมือ ‘ห้องเรียนแห่งรัก’ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะช่วยป้องกันในระยะยาวอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย “ลึก ๆ แล้วเขาโดน Bully เกือบทั้งโรงเรียน...

พาเด็ก ‘แว้นมอเตอร์ไซค์’ ท่องไปในโลกเวทมนตร์กับ Team Teaching

เธอต้องเรียนแบบนี้… ต้องสอนจากหนังสือเล่มนี้… ต้องทำสิ่งนี้จึงจะสำเร็จ!  กระบวนทัศน์ของระบบการศึกษาแบบเดิม มักลิดรอนจินตนาการและความเป็นไปได้อื่น ๆ ในการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งยังสร้างบรรยากาศความกลัวปกคลุมบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นครูหรือผู้บริหาร ความพยายามแหวกว่ายออกจากสภาวะหวาดกลัวและจำยอมของครูจำนวนหนึ่ง ล้วนต้องเจอแรงปะทะจาก ‘ระบบ’ ที่สร้างกรอบและสมาทานความถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว พิมพ์นารา สิมมะโน หรือ ‘ครูพิมพ์’ จากโรงเรียนชุมชนสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี ประสบสถานการณ์อันน่าเวียนหัวจากระบบการศึกษามาไม่น้อย เธอเป็นคุณครูมาแล้ว...

หันหลังให้กับไม้เรียว ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน

“ถ้าไม่ทำการบ้าน จะโดนตี” “ถ้าไม่อ่านหนังสือ เธอจะสอบตก” “ถ้าทำคะแนนไม่ดี เธอจะไปแข่งกับใครได้” “ถ้าทำงานไม่เสร็จ ห้ามออกไปเล่นเด็ดขาด นั่งทำไปจนกว่าจะเสร็จ” การเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเหล่านี้ นอกจากไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนหรือเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ซ้ำร้าย แนวทางเช่นนี้อาจให้ผลในทางตรงข้าม และลงเอยด้วยความกลัว ความกังวลของผู้เรียน จากการที่ชีวิตถูกฝึกว่าห้ามผิดพลาดตลอดเวลา เช่นนี้แล้ว ห้องเรียนจึงไม่ใช่สถานที่อันพึงปรารถนาอีกต่อไป ‘ห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก’ โครงการบัวหลวงก่อการครู โดยการดูแลของ...

‘กล้าที่จะไม่สอน’ สร้างห้องเรียนที่ปราศจากความกลัว

“เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ และวินัยที่เกิดจากการใช้อำนาจบังคับก็ไม่ยั่งยืน”  คำพูดของ พฤหัส พหลกุลบุตร หรือ ‘อาจารย์ก๋วย’ จากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มละครมะขามป้อม) ได้กล่าวไว้บนเวทีการเรียนรู้ ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ณ จังหวัดอุดรธานี ได้สะท้อนให้เห็นถึงหัวใจสำคัญของปัญหาในระบบการศึกษาไทยมาตลอด หัวใจที่ทำให้เห็นว่าการศึกษาที่ดีไม่ควรเกิดจากการบีบบังคับ และห้องเรียนที่ดีควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก  พฤหัส...

เปิดใจรับฟังเสียงเด็ก สร้างห้องเรียนที่เป็นมิตรต่อความแตกต่างหลากหลาย

“ทุกคนมีความแตกต่าง แล้วแตกต่างจากอะไร”“ฐานะ ความเป็นอยู่ ภูมิหลัง ความสนใจ ร่างกาย พรสวรรค์-พรแสวง ฯลฯ”“แล้วเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรล่ะ”“ไม่รู้หรอก แต่เราเปิดใจและรับฟังกันมากขึ้นได้นะ” ตัวแปรมากมายเกินนับไหวและเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจลึกซึ้งในทุก ๆ รายละเอียดของแต่ละบุคคล ทว่าโลกสอนเราว่าต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ โดยที่ไม่ลิดรอน เบียดบัง หรือทิ้งใครไว้ข้างหลัง  คำถามคือ ครูควรเริ่มปลูกฝังให้เด็กรู้จักโลกของความแตกต่างหลากหลายอย่างไร ปริมณฑลของคำตอบ อาจเริ่มจาก ‘ห้องเรียน’...

‘แหย่ให้อยาก ยุให้สงสัย’ วิชาวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนไม่เบือนหน้าหนี

“เราไม่ได้อธิบายเยอะ แค่แหย่นิดหน่อยว่า ไฟที่เราเปิดกันทุกวัน มันติดได้ยังไง” ใครจะเชื่อว่าคำถามเรียบง่ายเช่นนี้จะสามารถกระตุ้นให้นักเรียนกระหาย จดจ่อ และเปลี่ยนความเซื่องซึมของวิชาวิทยาศาสตร์ให้อยู่ในบรรยากาศที่นักเรียนสามารถสรุปผลการทดลองตามแบบฉบับของตนเองได้โดยปราศจากความหวาดกลัว ฐิติยาภรณ์ วิเศษโวหาร หรือ ‘ครูเจี๊ยบ’ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน จังหวัดอุดรธานี อธิบายว่า สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเธอไม่ใช่การถ่ายทอดเนื้อหา แต่เป็นการดึงความสนใจและกระตุ้นความอยากรู้ของนักเรียน เธอเล่าว่า ตัวเองผ่านการอบรมครูมาหลายต่อหลายโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่หนีไม่พ้นการแจกชีทและทำการทดลองตามวิทยากร เสมือนห้องเรียนที่ให้นักเรียนจดตามที่ครูบอก...

กว่าจะเป็นห้องเรียนแนะแนวแห่งรัก ครูลูกหมี โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์

ห้องเรียนโล่งกว้าง สะอาดสะอ้าน บนผนังห้องมีบอร์ดปฏิทินและตารางสอบ ทั้ง GAT/PAT O-NET วิชาสามัญและวิชาเฉพาะอื่นๆ ไม่ไกลจากทางเข้ามีคุณครูยิ้มแฉ่งอารมณ์ดีค่อยทักทายนักเรียนที่เดินพ้นประตูเข้ามาอย่างเป็นกันเอง  เด็กๆ ทิ้งตัวลงนั่งบนพื้นห้องโดยไม่มีทีท่าเคอะเขิน บ้างจับกลุ่มนั่งคุยเล่นกันกับเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันตลอดช่วงปิดเทอม บ้างเข้ามาพูดคุยกับคุณครูอย่างสนิทสนม  นี่คือบรรยากาศในวันแรกของการเปิดภาคการศึกษา ณ ห้องเรียนวิชาแนะแนวของ คุณครู ‘ลูกหมี’ สุพัตรา ศรีพันธบุตร โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู...