Korkankru

‘แผนการเรียนเฉพาะ’ ทางเลือกของการศึกษาไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ?

highlight การแบ่งสายการเรียน “วิทย์-ศิลป์” เกิดขึ้นในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2476 เพื่อรองรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการค้นหาตนเอง “แผนการเรียนเฉพาะทาง” การแบ่งสายการเรียนอิงจากคณะต่าง ๆ ในระดับอุดมศึกษาเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อมุ่งหวังแก้ปัญหา แต่กลับเป็นการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะที่ยิ่งล็อกและบังคับให้นักเรียน ‘ต้องรีบ’ ที่จะรู้ว่าตนเองสนใจและถนัดสิ่งใด เพื่อกระโจนเข้าสู่การแบ่งศาสตร์และสายอาชีพที่เร็วมากขึ้น Personalize Learning ไม่ใช่สายการเรียน (track) ที่หลากหลายตัวอย่างการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นหาความสนใจ โดยไม่แบ่งสายการเรียนวิทย์...

คืนอำนาจการเรียนรู้ให้เยาวชน บ่มเพาะทักษะจำเป็นนอกตำราเรียน

เมื่อต้นปี 2567 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ติดตามสถานการณ์การจ้างงานในประเทศไทย โดยใช้ Big Data และการวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) พบว่า Soft Skill เป็น 6 ใน 10 ทักษะที่นายจ้างต้องการมากที่สุด ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับแนวโน้มการจ้างงานทั่วโลก ซึ่งทักษะการทำงานนอกเหนือจากความรู้เฉพาะวิชาชีพมีความจำเป็นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อหันกลับมาที่ระบบการศึกษาไทยซึ่งทำหน้าที่เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์...

พลังมหัศจรรย์การอ่าน เยียวยาภาวะการเรียนรู้ถดถอย

ระดับการเรียนรู้ของเด็กไทยภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อพิจารณาจากผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) พบว่ามีคะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปี ทั้งทักษะการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศอื่น หากเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ความรู้ความสามารถของเด็กไทย ชั้น ม.3 อาจเทียบเท่ากับนักเรียนชั้น ม.2 ของบางประเทศ หรือความรู้ถดถอยหายไป 1 ปีการศึกษา ธนาคารโลกได้ส่งสัญญาณเตือนว่า...

‘ปล่อยเด็กเปล่งแสง’ สร้างสรรค์ระบบนิเวศการเรียนรู้ กอบกู้สายสัมพันธ์ในโรงเรียน

“อยากให้มีการสอนแบบปฏิบัติมากกว่าครูพูดให้ฟังในคาบ” “เด็กทุกคนควรได้เป็นตัวเองและมีความมั่นใจ ไม่ควรมีใครมาลดคุณค่าของเด็ก” “สนับสนุนให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และเดินตามความฝันที่สวยงามของทุกคน” ข้อความเหล่านี้คือเสียงสะท้อนของนักเรียนจำนวนหนึ่งต่อระบบการศึกษา ที่พวกเขามองว่าอาจยังไม่ใช่ ไม่ชอบ ไม่ตอบโจทย์ในสิ่งที่อยากเป็น แล้วการศึกษาหน้าตาแบบไหนที่จะช่วยให้เยาวชนไม่ต้องทนทุกข์ แต่เกิดการเรียนรู้ที่มี ‘ความสุข’ และมี ‘ความหมาย’ คำตอบดังกล่าวปรากฏขึ้นอย่างมีชีวิตชีวาในเวที ‘ปล่อยเด็กเปล่งแสง’ ซึ่งจัดโดย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 2...

เรื่องเล่าจากค่าย: โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ปีที่ 3

“โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา” มุ่งพัฒนาระบบนิเวศทางการศึกษาที่องค์ประกอบต่าง ๆ ผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาและสังคม โดยการเปิดพื้นที่ความเป็นไปได้ให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผ่านการพัฒนารายวิชาและระบบการบริหารจัดการวิชาการของโรงเรียน โครงการปีที่ 3 มุ่งเน้นการพัฒนารายวิชาในลักษณะของสหวิชา (Muti-Disciplinary) ซึ่งเป็นรายวิชาที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ที่เป็นที่ต้องการและมีความจำเป็นสำหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 4 รายวิชา ได้แก่ 1) รายวิชาบูรณาการ...

‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ ตราประทับของความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน ?

กระแสของ Pride Month หรือ เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ได้รับการตอบรับจากสังคมไม่เว้นแต่ในรั้วโรงเรียน โดยเห็นได้จากการจัดกิจกรรมหรือการสร้างรูปธรรมอย่าง ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ เพื่อเป็นเครื่องมือหรือตราประทับว่า โรงเรียนแห่งนั้นล้วนให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศ คำถามชวนคิดต่อ คือ การมี ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศของตนจริงหรือ?  และโรงเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการเคารพต่อความแตกต่างทางเพศจริงหรือ? แน่นอนว่า หนึ่งในประโยชน์สำคัญของการมีห้องน้ำสีรุ้ง คือ การเพิ่มพื้นที่หรือเพิ่มทางเลือกให้แก่นักเรียนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายนอกเหนือจากชาย/หญิง มีพื้นที่ที่ช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องใช้ห้องน้ำในการทำธุระส่วนตัว...

‘ตั้งเป้าสุดท้ายว่าจะเลิกทำ’ ความหวังของ ‘ครูจุ๊บแจง-ศิริพร ทุมสิงห์’ ครูแนะแนวที่อยากให้เรื่องสิทธิของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ

“เราเกลียดอาชีพครู เพราะรู้สึกว่าตัวเองโดนแย่งความรัก โดนแย่งความใส่ใจ แม่เราเป็นครูสอนศูนย์เด็กเล็ก เขามักต้องพาเด็กกลับมาบ้านด้วยเสมอ ฝากใครดูแลไม่ได้เราก็ต้องเป็นคนดูแลให้ เรามองว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่มีความสุขเลย เราไม่อยากเป็น ” ‘ครูจุ๊บแจง-ศิริพร ทุมสิงห์’ บอกให้ฟังเมื่อถามถึงจุดเริ่มของการเข้ามาทำงานอาชีพครู  จากเด็กเนิร์ดในช่วง ม.ต้น สู่เด็กสายกิจกรรมในช่วง ม.ปลาย เธอได้เจอกับเพื่อนๆ และความสนุกจากการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทำให้เธอสนใจศิลปะมากขึ้น และใช้เป็นแรงขับเคลื่อนหนีห่างจากสิ่งที่ไม่ชอบ มาถึงช่วงต้องเลือกคณะเพื่อเรียนต่อมหาวิทยาลัย...

‘แค่อยากเห็นมันเปลี่ยนก็เลยลุกไปทำ’ ‘ครูกั๊ก-ร่มเกล้า ช้างน้อย’ กับ PLC Reform วงพูดคุยที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมกัน

“PLC สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับครูที่โรงเรียนค่อนข้างเยอะ ไม่ใช่ผมเป็นคนสร้างการเปลี่ยนแปลงแต่ตัว PLC ทำให้ทุกคนได้สร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ดังนั้นเครดิตมันจึงเป็นของทุกคนเลย”  ‘ครูกั๊ก-ร่มเกล้า ช้างน้อย’ ครูแกนนำโครงการก่อการครู ผู้เป็นตัวแทนโหนด PLC Reform บอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนที่นำเครื่องมืออย่าง PLC ‘Professional Learning Community’ มา Reform จนทำให้เกิดวงพูดคุยที่สามารถดึงส่วนผสมในโรงเรียน ทั้งเด็ก...

‘เรียนรู้นอกตำราผ่านชุมชน’ กับ ‘ครูอับดุลย์ – ศิโรจน์ ชนันทวารี’ ก่อการครู Bangkok และพันธมิตร

“จะดีขนาดไหนถ้าชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเรื่องการศึกษา  “หนังสือส่วนใหญ่ถูกสร้างมาด้วยสำนักพิมพ์ ซึ่งความเป็นชุมชนหรือท้องถิ่นมันห่างกันอย่างสิ้นเชิง แค่โรงเรียนห่างกันไม่กี่กิโลก็มีเรื่องเล่า ความคิด ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม มีอะไรที่แตกต่างกันไปหมดเลย  “การที่ครูสอนแต่ในตำรา มันก็เหมือนมาโรงเรียนเพื่อไปเรียนสิ่งไกลตัว ทั้งๆ ที่เด็กเดินมาโรงเรียนทุกวัน ผ่านสิ่งต่างๆ รอบตัว แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว ไม่ได้รู้จักชุมชนหรือบ้านของตัวเอง เรียนแล้วเอาไปพัฒนาอะไร เด็กอาจจะมองไม่เห็น แต่ถ้าเราหยิบประเด็นที่อยู่รอบตัว ทั้งในโรงเรียนหรือในชุมชนมาให้เขาได้เรียนรู้ เขาจะสามารถเชื่อมโยงความเป็นจริงจากสิ่งที่เห็นด้วยตา...

“ประชาชนอุทิศเปลี่ยนโลก พาเพลิน เดินงานวัด” เสียงเพรียกจากหุบเขา สร้างนิเวศการเรียนรู้เปลี่ยนโลก จากโรงเรียนประชาชนอุทิศ

ตลอดเส้นทางการขับเคลื่อนการศึกษาของโรงเรียนประชาชาอุทิศ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในเส้นทางโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) ปี 2 ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนหนึ่งเดียวในพื้นที่อุตรดิตถ์ และเข้าร่วมกับโครงการฯ เป็นปีแรก แต่ด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจของบุคลากรในโรงเรียน ผนวกกับการได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างเหนียวแน่นของคนในชุมชนและองค์กรขับเคลื่อนสังคมในพื้นที่ จับมือกันฟื้นฟูความหวังของโรงเรียนอนุบาล-ประถมศึกษาเล็ก ๆ ใจกลางหุบเขา ขยับเข้าใกล้ภาพฝันของการสร้างนิเวศการเรียนรู้เสริมพลังนักสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งองคาพยพ ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ครู...