Korkankru

เส้นทางลัดเพื่อพัฒนาระบบการศึกษามีจริง หรือเป็นเพียงฝันลมๆ แล้งๆ ที่ผู้คนจินตนาการถึง ?

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรมีหน้าตาอย่างไร? เราอาจหาคำตอบได้จากแนวคิดของฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม สิงคโปร์ และอีกหลายสิบประเทศทั่วโลกที่จัดอันดับให้อยู่ก่อนหน้าประเทศเรา ทว่าหลักคิดใดเล่าที่เข้ากับบริบทของระบบการศึกษาไทยได้ดีในภาคปฏิบัติ วิธีใดเล่าจะแก้ไขทุกปัญหาในจักรวาลการศึกษาไทยได้ สูตรลัดพัฒนาระบบการศึกษาไทยมีจริงหรือไม่ ปัญหาของครู โรงเรียน และระบบการศึกษาไทยอยู่ตรงไหนกันแน่ อาจารย์อนุชาติ พวงสำลี หนึ่งในทีมบริหารโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ฉายภาพเส้นทางการทำงานของโครงการฯ ว่าแบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญ...

การเดินทางเชื่อมต่อกับชุมชน สู่การเรียนรู้ที่แสนพิเศษจากโรงเรียนวัดบ้านห้วยยาว

ตลอด 2 ปีกับการเดินทางร่วมกันระหว่างโรงเรียนวัดบ้านห้วยยาวกับโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School) เส้นทางที่ผสานไปด้วยเครือข่ายมากมาย ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคมหลอมพลังเพื่อพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง  โรงเรียนวัดบ้านห้วยยาวกับเสน่ห์การเรียนรู้บนธรณีสงฆ์ วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย “โรงเรียนวัดบ้านห้วยยาวเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในธรณีสงฆ์ ไม่ได้ใช้แค่เพียงพื้นที่แต่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต” สร้อยลัดดา แก้วสว่าง (ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านห้วยยาว) ชวนคุยถึงภูมิทัศน์การจัดตั้งของโรงเรียนว่าอยู่ภายในรั้ววัดห้วยยาวราษฎร์บำรุง สภาพแวดล้อมที่โอบล้อมไปด้วยวิถีชีวิต ประเพณี...

พลเมืองโลกอะไรก๊อน!? แค่สอนยังไม่ทันเลย

หน้าที่พลเมือง เป็นอะไรได้มากกว่าค่านิยม 12 ประการ? ชวนทุกท่านย้อนคิดเกี่ยวกับวิชาหน้าที่พลเมือง แนวคิดเบื้องหลังวิชา ตัวอย่างการออกแบบวิชา ผ่านมุมมองแขกรับเชิญ 4 ท่าน คุณไอติม (พริษฐ์ วัชรสินธุ) ครูทิว (ธนวรรธน์ สุวรรณปาล) ครูแนน (ปาริชาต ชัยวงษ์) ครูธัช (ธรัช...

จาก ‘ชุมชน’ สู่ ‘เด็ก’ สู่ห้องเรียนที่มีความหมายของ ‘ครูเก๋-สุดารัตน์ ประกอบมัย’ ก่อการครู Bangkok และพันธมิตร

“มีคนทักว่าเราเหมาะกับการเป็นครู”  ‘ครูเก๋-สุดารัตน์ ประกอบมัย’ บอกเล่าที่มาที่ไปของอาชีพครูที่เป็นดั่งอิคิไก (ความหมายของการมีชีวิตอยู่) ของตัวเอง เธอบอกว่ามีความสุขเมื่อได้มาโรงเรียน ยินดีและดีใจเมื่อตัวเองได้เรียนรู้และพัฒนาไปพร้อมกับการเรียนรู้ของผู้อื่น  แต่เมื่อได้เข้ามาเป็นครูตามความมุ่งหวัง เธอพบว่าอาชีพครูนั้นกลับทำให้หมดไฟ อาจเพราะได้ทำเหมือนครูที่ไม่ชอบ หรือภาพของมหา’ลัยที่ไม่ได้สอนความเป็นครู จนเธอต้องดิ้นรนในการเป็นครูด้วยตัวเอง รวมถึงภาระงานเอกสาร งานประชุม งานต่าง ๆ ทั้งหลายล้วนทำให้ผู้ที่อยากเป็นครู ไม่ได้ทำหน้าที่สอนอย่างที่ตั้งใจไว้ เมื่อเธอพบว่าการเป็นครูไม่เป็นอย่างที่คิด การก้าวออกไปจากโรงเรียนจึงเกิดขึ้น ...

‘การเรียนรู้ที่ไม่จำกัดอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม’ เปิดโลกนิเวศการเรียนรู้เพื่อเข้าใจมนุษย์และเข้าใจ (หัวใจ) ตัวเอง กับ ครูนุช-ครูนุ่น สองพี่น้องจากกลุ่มก่อการครูภาคใต้

“การศึกษาที่ดีจะทำให้มนุษย์คนหนึ่งเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจชีวิต และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอุดมสมบูรณ์และตายได้อย่างเข้าอกเข้าใจ” คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำว่า การศึกษาที่ดีคืออะไร สำหรับครูนุ่น - ปฐมพร และครูนุช - นุชวรา ปูรณัน สองพี่น้องผู้มีอาชีพเป็นครูในห้องเรียนทางเลือก มอนเตสซอรี่ (Montessori Education) ทั้งคู่เชื่อมั่นอย่างสนิทใจว่า การศึกษาที่ดีจะทำให้มนุษย์คนหนึ่งเติบโตมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ต้องเริ่มจากการมีจิตใจภายในที่เข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐานอันมั่นคง ทว่าการศึกษาบ้านเราอาจจะยังไม่ส่งเสริมในเรื่องดังกล่าวเท่าที่ควร...

พิเศษ ถาแหล่ง: โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคมฯ และ ‘ห้องเรียนระบบสอง’ แนวทางของครู-ชุมชน ป้องกันเด็กหล่นจากระบบการศึกษา

ออกจากโรงเรียนกลางคันปีละสิบกว่าราย ปัญหาใหญ่ของตำบลห้วยซ้อ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิษก เป็นโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 620 คน เป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 280 คน ตอนปลาย 340 คน และมีบุคลากรโรงเรียน 42 คน ซึ่งความยากจนในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลตั้งแต่ปี 2558...

เนรมิตลานโล่งให้กลายเป็นพื้นที่โชว์ของ ณ ลานเพลิน Play & Learn จากโรงเรียนบ้านน้อย”ปรึกอุทิศ”

ผ่านพ้นปีที่ 2 ของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) ไปเป็นที่เรียบร้อย โดยในปีนี้ทางโครงการฯ ส่งเสริมให้ผู้คนภายในนิเวศการเรียนรู้ทั้ง ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ของตน ผ่านการทำโปรเจกต์ที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของการเรียนรู้อันมีคุณค่าและความหมาย ผ่านการคิด การลงมือทำด้วยตนเอง นับว่าเป็นการทลายกำแพงการเรียนรู้ให้ขยับขยายออกนอกรั้วโรงเรียน โดยทางโรงเรียนบ้านน้อย"ปรึกอุทิศ"...

สายธารแห่งชีวิตสู่การเรียนรู้ที่มีความสุข แรงบันดาลจากโรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่กำลังเดินทางเข้าร่วมงาน… เสียงเรียกเชิญชวนเครือข่ายเข้าสู่บรรยากาศของงาน “ALIVE SPACE : พื้นที่มีชีวิต” 2 ปี โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศ ภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) เปิดภาพสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง เรียงร้อยด้วยเรื่องราวที่ผลิบาน และความร่วมมือจากองคาพยพในระบบนิเวศการเรียนรู้ ทำให้โรงเรียนวังตะกูราษฎร์อุทิศแห่งนี้อุดมสมบูรณ์และเกื้อกูลกันอย่างลงตัว …..ใบหน้าของครูที่อิ่มเอม เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวแห่งความหวังเสียงของนักเรียนที่ต้อนรับขับสู้ด้วยความภูมิใจ...

กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)

ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)...

อัปเลเวลครูให้ทะลุข้อจำกัด ด้วยเครื่องมือพัฒนาการสอนใหม่ๆ ในตลาดวิชาที่ครูเลือกได้

ตลาดวิชาเป็นโมดูล 2 ที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงออกแบบไว้ในหลักสูตร เพราะหลังจากครูได้ผ่านการเยียวยา ฟื้นฟูพลังใจและความเชื่อมั่นในตัวเองจากโมดูล 1 “ครูคือมนุษย์” และยังขยายความเป็นไปได้ของการเรียนการสอนผ่านโมดูล “ครูคือกระบวนกร” แล้ว ครูก็อาจต้องการเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพกว่าที่เคยรู้เคยใช้มาเดิมๆ เพื่อพลิกโฉมห้องเรียนตนเองให้เข้าสู่บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ แต่ความท้าทายคือครูแต่ละคน โรงเรียนแต่ละแห่ง ก็อาจมีโจทย์ที่ต้องการเครื่องมือแตกต่างกันไป โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจึงใช้แนวคิดออกแบบหลักสูตรการเสริมสร้างศักยภาพในลักษณะ “ตลาดวิชา” เปิดให้ครูมองเห็นเครื่องมือหลากหลายที่อาจจุดประกายความคิด และตัดสินใจเลือกเข้าเรียนวิชาต่างๆ ที่ตนเองสนใจได้อิสระ...