ข่าวสาร
กิจกรรมของก่อการครู
ประกาศรายชื่อก่อการครูรุ่น 6 (ผ่านรอบสัมภาษณ์)
Reading Time: < 1 minute ประกาศรายชื่อก่อการครูรุ่น 6 (ผ่านรอบสัมภาษณ์) ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจร่วมเดินทางแห่งการเรียนรู้ เพื่อก่อร่างสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
พลเมืองโลกอะไรก๊อน!? แค่สอนยังไม่ทันเลย
Reading Time: < 1 minute หน้าที่พลเมือง เป็นอะไรได้มากกว่าค่านิยม 12 ประการ? ชวนทุกท่านย้อนคิดเกี่ยวกับวิชาหน้าที่พลเมือง แนวคิดเบื้องหลังวิชา ตัวอย่างการออกแบบวิชา ผ่านมุมมองแขกรับเชิญ 4 ท่าน คุณไอติม (พริษฐ์ วัชรสินธุ) ครูทิว (ธนวรรธน์ สุวรรณปาล) ครูแนน (ปาริชาต ชัยวงษ์) ครูธัช (ธรัช ตรีคุณประภา) รับชมได้ที่ : https://youtu.be/1Ac4kKbLbdM ติดตามรายการ “ใต้โต๊ะครู” ทุกวันพฤหัสที่ 2 และ 4 ของเดือน บนช่องทาง Facebook และ Youtube ก่อการครู
บทความที่น่าสนใจ
สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ
สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ จากการทำงานในระยะที่หนึ่งของ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ หรือ Strategic Agenda Team ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานทางวิชาการ และเครือข่ายของหน่วยปฏิบัติการ ที่มีชุดความรู้จากการปฏิบัติให้กับ สกสว. เพื่อนำความรู้นี้มาขับเคลื่อนระบบการศึกษา เราพบว่าการศึกษาไทยนั้นมี “รอยต่อ” ทั้งในแง่ของตัวระบบเอง ในด้านความหลากหลายของผู้เรียน ในด้านของศาสตร์ความรู้ หรือแม้แต่รอยต่อของผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคการศึกษา การศึกษาไร้รอยต่อ (Seamless Education) จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อแรกในการทำงานระยะที่สองของ...
ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ”
หากจะพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากระบบการศึกษา- ไทยเรายังคงได้ยินเรื่องเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องแทบทุกจะช่องทางทั้งบทความงานเสวนา หรืองานวิจัยและก็ดูเหมือนจะเป็นไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่มีเด็กกว่า 1.02 ล้านคนที่หลุดจากระบบการการศึกษา เด็กมากมายขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ และได้รับสิทธิที่ควรจะได้รับ แต่การศึกษาในระบบก็ไม่ตอบโจทย์ทักษะที่จำเป็นในอนาคต และไม่ยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อความสนใจหรือเป้าหมายในชีวิตของเด็กแต่ละคน ทำให้คนที่ได้วุฒิจากระบบการศึกษาไม่มีทักษะที่พร้อมนำไปใช้ทำงานได้จริง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาสำคัญต้องเฝ้าระวังในขณะนี้ ดังนั้นถ้าจะตอบคำถามว่า ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ” ก็คงต้องกลับไปทำความเข้าใจกันก่อนว่า แล้ว “ขอบ” ที่กำลังชวนทุกคนข้ามนั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับปัญหาข้างต้นอย่างไร ประดิษฐกรรมที่เรียกว่า “ระบบการศึกษา” โดยธรรมชาติเมื่อมนุษย์เกิดมาก็เรียนรู้จากสิ่งรอบตัวเพื่อที่จะเอาชีวิตรอดอยู่แล้ว ความรู้ที่ได้จากการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัวและทำให้เกิดทักษะในการดำรงชีพต่างๆ นั้นถูกถ่ายทอดต่อกันมารุ่นสู่รุ่น เป็นการศึกษาที่จัดการกันเองโดยประชาชน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่หลากหลาย...
‘ห้องเรียนข้ามขอบ’ ข้ามขอบฟ้าไปเป็นเยาวชนพลเมืองโลก การศึกษาไทยต้องไม่เหมือนเดิม
เวลาที่เรานึกถึงห้องเรียนในโรงเรียนเรานึกถึงอะไรได้บ้าง? เราอาจจะนึกถึงวิชาเรียนหลายๆ ตัวที่ยังหาคำตอบไม่ได้ด้วยซ้ำว่าจะลําบากตรากตรําไปเพื่ออะไร อาจจะนึกถึงเวลาที่ตอบคำถามผิด แล้วดูแย่ในสายตาคนอื่น หรือถูกตัดสินว่าความคิดของเรามันอาจเป็นไปไม่ได้ นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งข้อดีของโรงเรียนก็มีให้เห็นมากมาย และก็มีช่องโหว่อีกมากภายใต้ระบบและกรอบที่ครอบงำมันเอาไว้ แต่สำหรับที่นี่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลับมีความพยายามที่จะค่อยๆ ขยับขอบเพื่อเปิดน่านฟ้าใหม่ให้กับการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่จำกัดกรอบอยู่แค่ในระบบโรงเรียนเพียงแบบเดียวเท่านั้น ‘เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้’ จึงเริ่มก่อการผ่านการชักจูงผู้คนในเมืองที่มีศักยภาพหลายหลาก มากระจายอำนาจทางความรู้ สร้างสรรค์กิจกรรมด้วยกัน เป็นเทศกาลการเรียนรู้ที่สนุกสนานอย่าง ‘ตุลามาแอ่ว’ ก่อนที่ในปีนี้ จะค่อยๆ ขยับขอบไปสู่การทดลองนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่อย่าง ‘ห้องเรียนข้ามขอบ’ ด้วยการทำงานมาอย่างยาวนานของ ‘มะขามป้อม’ หรือมูลนิธิสื่อชาวบ้าน...
ห้องเรียนดีๆ สักห้องเกิดขึ้นได้อย่างไร? ถอดรหัสนวัตกรรมห้องเรียนของคุณครูนักออกแบบ
คุณเคยนั่งเรียนในห้องเรียนที่ทำให้รู้สึกประทับใจไม่ลืมไหม? อาจเป็นชั่วโมงเรียนที่เปลี่ยนมุมมองบางอย่าง พาคุณไปเจอกับคำถามอันน่าฉงน ชักชวนให้ปะติดปะต่อข้อมูลความรู้อย่างสนุกสนาน หรืออาจเป็นห้องเรียนธรรมดาๆ แต่มีคุณครูที่จุดประกายให้คุณอยากไปเรียนรู้ต่อ “คนมักเข้าใจว่าถ้าครูสอนดี ห้องเรียนจะดี แล้วเด็กก็จะดีไปเอง เราต้องมองถึงองค์ประกอบที่ซับซ้อนกว่านั้น ไม่ติดกับดักของภาพห้องเรียนดีๆ ที่ปลายทาง แล้วเอาความกดดันมาลงที่ครูว่าต้องทำให้ได้ ครูต้องสอนเก่ง”รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี มองว่าห้องเรียนที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ ภายใต้ข้อจำกัดมากมายของระบบโรงเรียน ยังมีครูจำนวนหนึ่งที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ คณะทำงานวิชาการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงเชิญชวนทุกคนมา ร่วมสังเกตการทำงานของคุณครู เพื่อหาคำตอบร่วมกันว่า “ห้องเรียนดีๆ...
คลังความรู้
‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ ตราประทับของความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน ?
กระแสของ Pride Month หรือ เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ ได้รับการตอบรับจากสังคมไม่เว้นแต่ในรั้วโรงเรียน โดยเห็นได้จากการจัดกิจกรรมหรือการสร้างรูปธรรมอย่าง ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ เพื่อเป็นเครื่องมือหรือตราประทับว่า โรงเรียนแห่งนั้นล้วนให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางเพศ คำถามชวนคิดต่อ คือ การมี ‘ห้องน้ำสีรุ้ง’ จะช่วยให้นักเรียนรู้สึกได้รับการยอมรับในอัตลักษณ์ทางเพศของตนจริงหรือ? และโรงเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการเคารพต่อความแตกต่างทางเพศจริงหรือ? แน่นอนว่า หนึ่งในประโยชน์สำคัญของการมีห้องน้ำสีรุ้ง คือ การเพิ่มพื้นที่หรือเพิ่มทางเลือกให้แก่นักเรียนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายนอกเหนือจากชาย/หญิง มีพื้นที่ที่ช่วยให้รู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องใช้ห้องน้ำในการทำธุระส่วนตัว ทว่า ความรู้สึกดังกล่าวควรถูกจำกัดเพียงแค่ในพื้นที่ห้องน้ำหรือไม่...
กุญแจสู่ประตูแห่งความหวังของการศึกษาไทย การปลดล็อกจากโรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ)
ครบรอบ 2 ปีของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาพิจิตร - อุตรดิตถ์ (Partnership School Project) กับ 5 โรงเรียนนำร่อง ได้จัดเวทีเครือข่าย แสดงพลังสื่อสารสังคม สร้างการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของคนในชุมชน เพื่อทบทวนเส้นทางห้องเรียนที่เปลี่ยนไป เครื่องมือที่เชื่อมให้เกิดห้องเรียนแห่งความรัก รวมทั้งความท้าทายที่แต่ละโรงเรียนได้ก้าวข้าม ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่จะขยายสู่สังคมการศึกษาไทย ซึ่งเวทีแรก ประเดิมด้วย โรงเรียนบางมูลนาก(ราษฎร์อุทิศ) ภายใต้การสื่อสาร The...
“ลอง เรียน รู้” เส้นทางสู่การค้นพบตัวเองของเด็กวัยเรียน (รู้)
ภายในงานเสวนา “ส่งเสียงถึง (ว่าที่) นายก: เรื่องมันเศร้าขอเล่านิดนึง” จัดโดย InsKru พื้นที่แบ่งปันไอเดียการเรียนรู้ของคุณครูทั่วประเทศ เมื่อเดือนเมษายน 2566 “โจ๊ก” - ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต ศึกษานิเทศก์ (ศน.) ชำนาญการ สะท้อนความคาดหวังของนักเรียนกับภาคส่วนอื่นๆ ว่าไม่สอดคล้องกัน “ถ้าถามว่าหลักสูตรควรจะเน้นอะไร ให้เลือกเน้นระหว่าง หนึ่ง การรู้จักและค้นพบตัวเอง...