ก่อการครู – Korkankru

เด็กกลัวครู… ครูจะปกครองง่ายขึ้นจริงหรือ ?

เธอต้องทำแบบนี้… เธอต้องเรียนตามที่ฉันบอก…หากเธอไม่ทำเธอจะต้องถูกลงโทษ ไม้เรียวสัญลักษณ์ของห้องเรียนไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม้ชี้กระดานเครื่องมือที่ถูกประกอบสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูสามารถชี้จุดที่ตนต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้นได้ ทว่าไม้ชี้กระดานนั้นกลับถูกวัฒนธรรมการสร้างความกลัวเพื่อง่ายต่อการปกครองครอบงำจนมีวิวัฒนาการกลายเป็นไม้เรียวอาวุธคู่กาย หากใครกระทำผิดหรือไม่เข้าใจในเนื้อหา ไม้เรียวนี้จะถูกตีเข้าไปยังผู้เรียน จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถูกส่งต่อกันมาอย่างช้านาน ความรุนแรงที่ถูกซ่อนอยู่ใต้พรมระบบการศึกษา ภัยร้ายที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ มณี อั่วหงวน หรือ “ครูน้อย” โรงเรียนวัดบ้านห้วยยาว จ.พิจิตร บอกเล่าประสบการณ์การใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้เรียนตลอดชีวิตการเป็นครูร่วม 30 ปี จนได้รับฉายาลับหลังว่า “แม่เสือ”...

พลังของพื้นที่เรียนรู้คู่ขนานกับการศึกษาในระบบ: เพราะทุกคนต่างมีบทบาทต่อการศึกษา

‘มนุษย์เด็ก’ ในสถานการณ์โลกที่ผันผวน โรคระบาด โลกรวนรุนแรง เรียกร้องให้เขาต้องปรับตัว ค่าครองชีพสูง สวนทางกับเศรษฐกิจทางบ้านที่ไม่สู้ดี ตัวเร่งที่ทำให้ตัดสินใจว่าอยาก ‘อยู่ต่อ’ หรือ ‘พอแค่นี้’ กับระบบการศึกษา ทุนนิยมเร่งเร้า โซเชียลมีเดียประชิดตัว เครื่องมือปลูกฝังค่านิยมชั้นดีที่เด็กในครอบครัวห่างเหินไม่มีคนสร้างการเรียนรู้พร้อมเชื่อและทำตาม ท่ามกลางความซับซ้อนและปั่นป่วนเหล่านี้ การที่มนุษย์เด็กเดินเข้าสู่รั้วโรงเรียน ใช้เวลาจากวัยเด็กสู่วัยรุ่นเพื่อหวังเติบโต แข็งแกร่ง มีเกราะกำบังต่อโลกจากการเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง จึงเป็นเรื่องที่มองอย่างไรก็เป็นไปได้ยาก...

ให้เด็กได้ ‘เลือก’ อีกสักครั้ง ข้ามขอบไปคุยเรื่องเด็กหลุดจากระบบ สู่ห้องเรียนระบบ 2 กับ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อฯ

 “ผมจะทำที่ห้วยซ้อ บ้านผมอยู่ที่นี่ ถึงห้วยซ้อเหลือเด็กแค่ 200 คน ผมก็จะเขียนย้ายมา”   ถ้อยคำยืนยันหนักแน่นของ ‘พิเศษ ถาแหล่ง’ ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมื่อย้อนพูดถึงครั้งที่สอบผู้บริหารได้เป็นครั้งแรก หลังจากชีวิตราชการก่อนหน้าอยู่ในบทบาทครูฝ่ายปกครองโรงเรียนห้วยซ้อที่คลุกคลีใกล้ชิดอยู่กับเด็กหลากหลายรูปแบบด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่า การเป็นครูไม่ใช่แค่การจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการทำงานที่สัมพันธ์กับชีวิตของเด็กอย่างรอบด้าน  นอกจากเหตุผลที่ว่าห้วยซ้อเป็นโรงเรียนในพื้นที่ ‘บ้าน’ ของตัวเองแล้ว การที่ห้วยซ้อกลายเป็นหมุดหมายของเขาในฐานะผู้อำนวยการ...

เชื่อมคน เชื่อมการเรียนรู้ สู่การศึกษาไร้รอยต่อ

“ในประเทศไทยมีคนที่ทำงานเพื่อเด็กและเยาวชนมาก มีผู้ที่พยายามทำศูนย์การเรียนรู้โดยอาศัยอำนาจในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีองค์กรที่พยายามช่วยเหลือเด็กให้ได้เรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ โดยที่ยังไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ ทำงานร่วมกันกับการศึกษาในระบบโดยยังไม่ผนวกเข้ามาเป็นองคาพยพที่สำคัญในหลักสูตร มีส่วนราชการจำนวนไม่น้อยที่ทำเรื่องนี้โดยตรงและพยายามทำงานในเชิงระบบ รอยต่อของผู้เกี่ยวข้องนี้เองคือสิ่งที่เชิญทุกคนมาร่วมในวันนี้” รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี หัวหน้าคณะทำงานทางวิชาการ SATการศึกษาและการเรียนรู้ กล่าวเปิดงานสัมมนา เมื่อรัฐที่เป็นหน่วยงานสำคัญในการกำหนดวาระ จัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ ขณะที่ผู้สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้นทำงานในพื้นที่เล็กๆ ของตนเอง...

นโยบายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปสู่จุดหมาย

‘มหกรรมการศึกษา นิเวศการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้’ ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “ร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ความเป็นไปได้ใหม่” ชวนสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจทีซีพี (TCP)...

งานวิจัยใหม่ สู่การศึกษาไร้รอยต่อ

“การศึกษาไร้รอยต่อ” เป็นคำใหม่ ศัพท์ใหม่ ที่โครงการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เป็นธงนำในการฉายภาพรวมของปัญหาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างจินตนาการใหม่ ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ มาร่วมกันปฏิรูปการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ผู้มีส่วนสำคัญหนึ่ง คือหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมทางด้านการศึกษาและการเรียนรู้  ขณะที่ SAT เองก็พร้อมจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  จึงเป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาวิชาการ...

การศึกษานั้นไม่ได้แย่ และมีความเป็นไปได้ใหม่

โครงการโรงเรียนปล่อยแสง พัฒนานิเวศการเรียนรู้ โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ กลุ่มธุรกิจทีซีพี จัดงาน ‘มหกรรมการศึกษา นิเวศการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้’ ชวนผู้อำนวยการ ครู และนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมาร่วมกันส่งต่อพลังและจุดประกายว่า ความเป็นไปได้ใหม่ของการศึกษา จากความรู้ที่โครงการได้ทดลองพัฒนากับโรงเรียนมาเป็นเวลาสามปีคืออะไร หากอยากเห็นเด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมาย โรงเรียนต้องจัดและปรับอย่างไร  กิจกรรมภายในงานต้อนรับผู้คนในวงการการศึกษาและผู้ที่สนใจ มีทั้งนิทรรศการเกี่ยวกับโครงการ นิทรรศการรูปธรรมนิเวศการเรียนรู้จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ...

สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ

สู่การศึกษาไทยไร้รอยต่อ จากการทำงานในระยะที่หนึ่งของ SAT การศึกษาและการเรียนรู้ หรือ Strategic Agenda Team ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานทางวิชาการ และเครือข่ายของหน่วยปฏิบัติการ ที่มีชุดความรู้จากการปฏิบัติให้กับ สกสว. เพื่อนำความรู้นี้มาขับเคลื่อนระบบการศึกษา เราพบว่าการศึกษาไทยนั้นมี “รอยต่อ” ทั้งในแง่ของตัวระบบเอง ในด้านความหลากหลายของผู้เรียน ในด้านของศาสตร์ความรู้ หรือแม้แต่รอยต่อของผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคการศึกษา  การศึกษาไร้รอยต่อ (Seamless...

ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ”

หากจะพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากระบบการศึกษา- ไทยเรายังคงได้ยินเรื่องเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องแทบทุกจะช่องทางทั้งบทความงานเสวนา หรืองานวิจัยและก็ดูเหมือนจะเป็นไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่มีเด็กกว่า 1.02 ล้านคนที่หลุดจากระบบการการศึกษา เด็กมากมายขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ และได้รับสิทธิที่ควรจะได้รับ แต่การศึกษาในระบบก็ไม่ตอบโจทย์ทักษะที่จำเป็นในอนาคต และไม่ยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อความสนใจหรือเป้าหมายในชีวิตของเด็กแต่ละคน ทำให้คนที่ได้วุฒิจากระบบการศึกษาไม่มีทักษะที่พร้อมนำไปใช้ทำงานได้จริง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนที่เป็นปัญหาสำคัญต้องเฝ้าระวังในขณะนี้  ดังนั้นถ้าจะตอบคำถามว่า ทำไมเราจึงต้องการ “ห้องเรียนข้ามขอบ” ก็คงต้องกลับไปทำความเข้าใจกันก่อนว่า แล้ว “ขอบ” ที่กำลังชวนทุกคนข้ามนั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับปัญหาข้างต้นอย่างไร...

‘ห้องเรียนข้ามขอบ’ ข้ามขอบฟ้าไปเป็นเยาวชนพลเมืองโลก การศึกษาไทยต้องไม่เหมือนเดิม

เวลาที่เรานึกถึงห้องเรียนในโรงเรียนเรานึกถึงอะไรได้บ้าง? เราอาจจะนึกถึงวิชาเรียนหลายๆ ตัวที่ยังหาคำตอบไม่ได้ด้วยซ้ำว่าจะลําบากตรากตรําไปเพื่ออะไร อาจจะนึกถึงเวลาที่ตอบคำถามผิด แล้วดูแย่ในสายตาคนอื่น หรือถูกตัดสินว่าความคิดของเรามันอาจเป็นไปไม่ได้ นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งข้อดีของโรงเรียนก็มีให้เห็นมากมาย และก็มีช่องโหว่อีกมากภายใต้ระบบและกรอบที่ครอบงำมันเอาไว้ แต่สำหรับที่นี่ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลับมีความพยายามที่จะค่อยๆ ขยับขอบเพื่อเปิดน่านฟ้าใหม่ให้กับการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่จำกัดกรอบอยู่แค่ในระบบโรงเรียนเพียงแบบเดียวเท่านั้น ‘เชียงดาวเมืองแห่งการเรียนรู้’ จึงเริ่มก่อการผ่านการชักจูงผู้คนในเมืองที่มีศักยภาพหลายหลาก มากระจายอำนาจทางความรู้ สร้างสรรค์กิจกรรมด้วยกัน เป็นเทศกาลการเรียนรู้ที่สนุกสนานอย่าง ‘ตุลามาแอ่ว’...

ห้องเรียนดีๆ สักห้องเกิดขึ้นได้อย่างไร? ถอดรหัสนวัตกรรมห้องเรียนของคุณครูนักออกแบบ

คุณเคยนั่งเรียนในห้องเรียนที่ทำให้รู้สึกประทับใจไม่ลืมไหม?  อาจเป็นชั่วโมงเรียนที่เปลี่ยนมุมมองบางอย่าง พาคุณไปเจอกับคำถามอันน่าฉงน ชักชวนให้ปะติดปะต่อข้อมูลความรู้อย่างสนุกสนาน  หรืออาจเป็นห้องเรียนธรรมดาๆ แต่มีคุณครูที่จุดประกายให้คุณอยากไปเรียนรู้ต่อ “คนมักเข้าใจว่าถ้าครูสอนดี ห้องเรียนจะดี แล้วเด็กก็จะดีไปเอง เราต้องมองถึงองค์ประกอบที่ซับซ้อนกว่านั้น ไม่ติดกับดักของภาพห้องเรียนดีๆ ที่ปลายทาง แล้วเอาความกดดันมาลงที่ครูว่าต้องทำให้ได้ ครูต้องสอนเก่ง”รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี มองว่าห้องเรียนที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ ภายใต้ข้อจำกัดมากมายของระบบโรงเรียน ยังมีครูจำนวนหนึ่งที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์ คณะทำงานวิชาการ SAT การศึกษาและการเรียนรู้...