ก่อการครู – Korkankru

ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม : ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู

PLC (Professional Learning Community : ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) คืออะไร?   คุณครูหลายท่านอาจรู้จัก PLC ในฐานะของ “การประชุมครู” เพื่อทบทวนภาระงานต่าง ๆ หรือหยิบยกบางประเด็นที่อาจมองว่าเป็นปัญหา มาร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนกัน หลายครั้งวง PLC นี้อาจจบลงด้วยการมอบหมายงานให้คุณครูบางท่านไปดำเนินการต่อ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาจากประเด็นพูดคุย  เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็ทำการนับเวลาประชุม...

ก่อการครู ก่อการคูณ : เมื่อหยดน้ำจะรวมตัวกัน เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนแปลง

เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร (Training of the Trainers) โมดูลที่ 1 จัดกิจกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ณ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ซึ่งเป็นการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งของครูผู้มีไฟในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาจากโครงการก่อการครู รุ่นที่ 1 และ 2 เพื่อสานรอยต่อแห่งความหวังที่อยากจะเห็นการศึกษาไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่นและจริงจังร่วมกัน...

To Be A Better Teacher- เป็นครูคนใหม่ด้วยวิจัยในชั้นเรียน

เมื่อพูดถึงคำว่า ‘วิจัย’ หลายคนคงกำลังเอามือกุมขมับและนั่งขมวดคิ้ว ด้วยความรู้สึกยุ่งยากกับภาพกองหนังสืออ้างอิงเป็นตั้งๆ แม้งานวิจัยจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ครูแสวงหาความรู้ใหม่ๆ แต่หลายครั้งการทำวิจัยนั้นอาจไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาห้องเรียนหรือผู้สอนเสมอไป การทำวิจัยจึงกลายเป็นภาระที่ครูต้องแบกรับและเกิดความทุกข์จากการทำวิจัยที่ไม่เชื่อมโยงกับบริบทในห้องเรียนและคุณค่าภายในของตัวครู ดังนั้น จะทำอย่างไรให้การทำวิจัยเป็นไปเพื่อคืนอำนาจอธิปไตยในการแสวงหาความรู้ของครู โดยครู เพื่อครูและผู้เรียน วันนี้อยากชวนให้ครูมานั่งล้อมวง ร่วมจุดไฟการเรียนรู้ผ่าน ห้องเรียน “เป็นครูคนใหม่ ด้วยวิจัยในชั้นเรียน” โดยกระบวนกร ผศ.ดร. สิทธิชัย วิชัยดิษฐ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์...

ปัญญาร่วม ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ

เวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำร่วมแห่งอนาคต : ผู้นำร่วมสร้างสุข ( Leadership for Collective Happiness – LCH )  โมดูล 3  ปัญญาร่วม ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ เป็นเวทีพัฒนาศักยภาพที่ต่อเนื่องมาจาก 2 โมดูลแรก คือ ปัญญาโลก ปัญญาชีวิต...

เราอยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำที่เรียกร้องพลังของ ‘การนำร่วม’ มากกว่าฮีโร่

ทุกปัญญาในสังคมล้วนโยงใยซึ่งกันและกันดั่งตาข่าย สังคมไม่อาจเดินหน้าไปได้หากปัญหาของการศึกษายังไม่ถูกแก้ไข การศึกษาไม่อาจดีขึ้นได้ หากความเหลื่อมล้ำยังถ่างกว้าง ปากท้องของผู้คนไม่อาจอิ่มได้ หากโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มีที่ว่างให้ผู้คนเพียงหยิบมือ ชุมชนไม่อาจแข็งแรงได้ หากการกระจายอำนาจเป็นเพียงภาพฝัน  ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างยืนอยู่ท่ามกลางสังคมที่รายล้อมด้วยปัญหาทุกมิติ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำของสังคม ฯลฯ  ขณะนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตั้งคำถามต่อปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา  ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ สังคมดีกว่านี้ได้ และเราต่างเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น...

ครูบุกหมู่บ้าน ย้ายห้องเรียนสู่ชุมชน: บ้านหนองโน อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์

Oct 15, 2020 สื่อการสอน < 1 min

รถพุ่มพวง คือสัญลักษณ์ของการเข้าถึง หลากหลาย เลือกได้ และจ่ายไหว ไม่ต่างกัน รถพุ่มพวงการศึกษาในความหมายของ 'ครูตู้ ครูตุ๋ม และครูฝน’ คือการเรียนรู้ที่ง่าย เข้าถึง จับต้องได้ และผู้เรียนรู้สึกอิสระ “เมื่อเด็กมาโรงเรียนไม่ได้ ก็ยกห้องเรียนไปไว้ในชุมชนเลยแล้วกัน” ไม่มีกำแพง ไม่มีหลังคา มีเพียงเสื่อปูพื้น กระดาษฟลิปชาร์ท มีคุณครู...

เมล็ดข้าวเปลือกไทยเบิ้ง “บ้านเราเท่ที่สุด”

Oct 15, 2020 สื่อการสอน < 1 min

“เมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งเมล็ดที่มีความสมบูรณ์​ มันไปตกที่ดินดี น้ำชุ่ม ได้รับการดูแลอย่างดี มันจะเติบโตเป็นต้นข้าวอีก 1 กอที่งอกงาม แล้วให้ผลผลิตอีกนับร้อยนับพันเมล็ด” เรื่องราวของกลุ่มเยาวชนเมล็กข้าวเปลือกไทยเบิ้ง บ้านโคกสุลง จังหวัดลพบุรี กับการเรียนรู้ในห้องเรียนชุมชน ผ่านปราชญ์และภูมิปัญญาของกลุ่มวัฒนธรรมไทยเบิ้ง และการปรับประยุกต์ภูมิปัญญาเป็นการเรียนรู้ที่หลากหลาย

วรรณา จารุสมบูรณ์: เชื่อมคน เชื่อมเมืองเพื่อขอนแก่นที่ดีกว่านี้

Oct 15, 2020 สื่อการสอน < 1 min

ไกลออกไปจากมหานครราว 452 กิโลเมตร คือสถานที่ตั้งของขอนแก่น จังหวัดที่มีเหลี่ยมมุนี่มในการพูดคุยที่หลากหลาย ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องปากท้องของชนรากหญ้า ไปจนถึงการพัฒนาเมืองที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด แน่นอนว่า เราไม่อาจแยกเมืองออกจากคนได้ เพราะการเติบโตของเมืองนั้น มีผู้คนในทุกระดับชั้นเป็นฟันเฟืองสำคัญในการไขลานเมืองมิให้เป็นอัมพาต  เรื่องราวของวิดิโอนี้จึงเกี่ยวพันกับ ‘ปัญหา’ ที่ขนาบคู่มากับการเติบโตของเมือง และเชื่อมโยงไปยัง ‘คน’ มากมายที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และประชาชน 

พังงาแห่งความสุข: ความสุขร่วมสร้างของคนพังงา

Oct 13, 2020 สื่อการสอน < 1 min

เมืองที่เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม อัตลักษณ์พื้นถิ่น อาหารการกิน และชาติพันธุ์ เมืองที่ควรจะมีความสุขโดยไม่มีเงื่อนไข แต่หลายปีที่ผ่านมา พังงากลับต้องต่อสู้กับสารพัดปัญหาที่ประเดประดังถาโถม โดยเฉพาะหลังคลื่นยักษ์เมื่อปี 2547 ไม่มากก็น้อย สึนามิคือตัวแปรที่ทำให้คนท้องถิ่นเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของบ้านเกิด และมองปัญหาตรงหน้าด้วยความรู้สึกที่ว่า พังงาดีกว่านี้ได้ กว่า 10 ปี ที่คนกลุ่มต่างๆ ในพังงาร่วมกันทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน วันนี้ความสุขเริ่มผลิดอก รอยยิ้มเริ่มออกผล...