Korkankru

ละหมาดที่บ้าน เข้าโบสถ์ผ่าน FB Live ไม่ไปไหนคือทำบุญ

การมาเยือนของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เขย่าหัวใจคนทั่วโลกให้สั่นไหว ใช้ชีวิตท่ามกลางความหวาดกลัว หนึ่งในที่พึ่งทางใจที่เหลืออยู่คือศาสนา แต่เพราะศาสนกิจจำนวนไม่น้อย ใช้วิธีรวมกลุ่ม ยึดโยงกันใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการตักบาตรตอนเช้า การละหมาดของอิสลามิกชน และการเข้าโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ของชาวคริสต์ อีกนัยหนึ่งก็เป็นการเชื่อมร้อยทั้งความเชื่อร่วมกันและความสัมพันธ์ในชุมชน หากจังหวะเช่นนี้ ทุกฝ่าย ทุกคนต่างเข้าใจดี แยกย้ายกันประกอบศาสนกิจที่บ้าน เพื่อกอบกู้จิตใจให้แข็งแรงที่สุดในภาวะป่วยไข้ ศาสนาอิสลาม: จงละหมาดที่บ้านของท่าน การละหมาด หนึ่งในศาสนกิจของศาสนาอิสลาม โดยชาวมุสลิมจะละหมาดวันละ...

เมื่อพ่อแม่กลัวลูกโง่ และครูกลัวผู้บังคับบัญชา ‘ลูกศิษย์’ จึงเป็นแค่ ‘ลูกค้า’ ในระบบการศึกษาไทย

คลี่ออกมาเป็นฉากๆ อธิบายวงจรที่วนเวียนซ้ำซากทีละบรรทัด ทำไมระบบการศึกษาของชาติบ้านเมืองจึงทั้งกัดกร่อนโครงสร้าง และบอนไซให้สังคมไทยก้าวไปไหนไม่พ้น เบื้องล่างภูเขาน้ำแข็ง และใต้พรมผืนนั้นมีอะไรซุกซ่อนอยู่ เป็นอีกครั้งที่ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉายภาพความผุพังของการศึกษา และเป็นอีกครั้งที่ต้องอธิบายเหตุผลว่าทำไมวิธีการแบบเดิมๆ ไม่เข้าท่า และถึงคราต้องบอกลามันเสียที นี่คือบทสนทนาที่ชวนปัดกวาดฝุ่นควันทางความคิด เพื่อร่วมกันเดินออกจากอุโมงค์ที่มืดมิดของการศึกษาไทย หากชิงชังการอยู่ในตรอกอันคับแคบ ย่อหน้าถัดจากนี้คือการพาออกไปสู่ลานกว้าง และแสงสว่างส่องถึง...

คนรวย มลพิษ การผูกขาด ค้าสัตว์ป่า โรงงานสัตว์เลี้ยง 5 สิ่งที่ไวรัสโคโรน่ากำลังทำให้หายไป

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษยชาติโดยตัวการที่ชื่อว่าไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ส่งผลให้ประชาชนล้มตายมากกว่า 3,000 ชีวิต และติดเชื้อมากกว่า 90,000 ราย ทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก เมื่อการติดเชื้อนี้ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมวลมนุษย์ การเจริญทางด้านอุตสาหกรรมเองก็ตกไปอยู่ในจุดเสี่ยงจากโรคร้ายตัวใหม่นี้ อุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างไม่สามารถควบคุมได้นั้น ทำให้ระบบนิเวศน์ล่มสลายไปทั่วโลก โดยศาสตราจารย์เจม เบนเดล ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และนักปรัชญาการเมือง รูเพิร์ท รีท ได้ถกเถียงกันไว้ว่า มนุษยชาติได้เข้าถึงจุดล่มสลายอย่างแน่นอนโดยอาจมีผู้เสียชีวิตถึง...

ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์: เรียนรู้การต่อสู้ ดิ้นรนในอดีต เพื่อเปลี่ยนแปลงอนาคต

ทำไมเราถึงรู้สึกยิ่งใหญ่กับปัญหาที่ใครก็มองว่าเล็กน้อยทำไมคนอื่นถึงเพิกเฉยและไม่เข้าใจเวลาเราบอกว่าอะไรคือสิ่งสำคัญใช่ ความรู้สึกและความคิดคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกัน และจะดีกว่าไหม หากเราสืบสาวจนทราบต้นตอของความรู้สึกและความคิดที่แตกต่างนี้ เพราะนอกจากจะช่วยทำให้เราเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เรามองเห็นตัวเองในโลกใบใหญ่และเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับโลกใบนั้น ทำให้เราพร้อมตั้งหลักเตรียมปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกได้อย่างมั่นคงอยู่เสมอ เรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับเรื่องที่ อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม พูดในเวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำ: ผู้นำร่วมสร้างสุข (Leadership for Collective Happiness - LCH) โมดูล...

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่กำลังจะมา เมื่อธรรมชาติไม่สามารถเยียวยาตัวเองได้อีกแล้ว

เมื่อโลกถึงคราวต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ คำถามคือ แล้วปัญหาที่ว่าคืออะไร? ด้วยเพราะขณะนี้ ทุกปัญหาล้วนใหญ่ไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่า สารพัดปัญหาที่หากสืบสาวราวเรื่องไปนั้น หลายคำตอบอาจอนุมานได้ว่า เกิดจากความผิดปกติของธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกันหมด กระทั่งผีเสื้อกระพือปีกอาจสั่นสะเทือนถึงดวงดาว วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ สื่อมวลชน นักเขียนสารคดีผู้คลุกคลีตีโมงอยู่กับงานด้านสิ่งแวดล้อมมาหลายสิบปี ชวนสำรวจสถานการณ์ปัญหาโลกร้อนและสิ่งแวดล้อม ในเวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำ: ผู้นำร่วมสร้างสุข...

สื่อสารอย่างสันติ ไม่ใช่โลกสวย ให้สังคมอยู่รอดจากความโกรธและโรคระบาด

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทั่วโลกมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ยอดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บรรยากาศในประเทศไทยเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ประชาชนทุกคนใช้ชีวิตกันอย่างระวังตัว หลายคนหาทางออกเพื่อปกป้องตัวเองด้วยสวมหน้ากากอนามัยแทบจะตลอดเวลา บางคนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการพบปะผู้อื่น เลือกทำงานที่บ้าน เก็บตัว และเริ่มกักตุนอาหาร ความหวาดระแวงที่เกิดขึ้น บ่มเป็นความเครียดสะสม และความเครียดนี่เองกลายเป็นชนวนชวนทะเลาะให้โหมกระหน่ำ ลำพังแค่กักตัวเองอยู่ในบ้านก็เหมือนโดนรุมด้วยความโกรธ เครียด แค้น เศร้า ท่วมโลกโซเชียลมีเดียไปหมด เราต้องอยู่ในสภาพแบบนี้ไปอีกพักใหญ่แน่ๆ...

ความเหลื่อมล้ำฝัง DNA: จงร่ำรวยไปอีกนาน หรือไม่ก็ยากจนไปอีก 5 ชั่วโคตร!

"กฎหมายก็เหมือนกับใยแมงมุม ที่จะดักจับได้เฉพาะคนอ่อนแอและยากจน แต่จะแหลกสลายไม่เป็นชิ้นดีเมื่อเจอกับคนรวยและผู้มีอิทธิพลบารมี" อแนคคาร์ซิส (Anacharsis) นักปรัชญาชาวไซเทียน (Scythians) กล่าวไว้เมื่อ 6 ศตวรรษ ก่อนคริสตกาล ส่วนในศตวรรษปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมีนักปราชญ์ใดมากล่าวคำขยายความ เพราะภาพประจักษ์ก็มักปรากฏให้เห็นจนชินตา ยามใดก็ตามที่กระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นกับคนมีเงิน ใช่หรือไม่ว่าเราพอจะคลำทางได้ว่าคำพิพากษาจะออกหัวหรือก้อย ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม แต่กระบวนการยุติธรรมมักเกี่ยวข้องกับตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์ และหลักการทางเศรษฐศาสตร์ก็สัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และความเหลื่อมล้ำที่ว่า ก็มีปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องขบคิด...

ประกาศเลื่อนกิจกรรมอบรมก่อการครูรุ่น 3

เรียน ครูแกนนำรุ่น 3 ทุกท่าน ตามที่ท่านได้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมเป็นครูแกนนำของโครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่น 3 นั้น เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในประเทศไทย ทำให้การจัดงานขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงโดยไม่สมควร ทางคณะผู้จัดจึงมีมติขอ แจ้งเลื่อนการจัดอบรมออกไปอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายหรือเข้าสู่สภาวะปกติ และหากทราบวันจัดอบรมที่ชัดเจนจะแจ้งให้ท่านทราบในภายหลัง โดยครูแกนนำทุกท่านยังได้รับสิทธิในการเข้าร่วมโครงการฯ รุ่น...

เข้าใจชีวิต เข้าใจโลก ด้วยการใช้ปัญญาโลก และปัญญาชีวิต

โครงการผู้นำแห่งอนาคตได้ออกแบบจัดอบรมเวทีผู้นำร่วม หรือ CL ซึ่งเป็นการชักชวนกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายวงการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกระบวนการ dialogue และ world cafe หลังจากเคยจัดอย่างต่อเนื่องใน 3 ปีแรกของโครงการ หลังจากการสรุปบทเรียนและปรับปรุงกระบวนการ ในชื่อ “เวทีพัฒนาศักยภาพผู้นำแห่งอนาคต "ผู้นำร่วมสร้างสุข" ( Leadership for Collective Happiness -...

เปลี่ยน ‘โรงเรียน’ เป็น ‘โรงเล่น’ ผ่านการออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้

การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ : เมื่อผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในห้องเรียน เกมมักเป็นผู้ร้ายในสายตาของสังคม เพราะมันดึงดูดความสนใจและเวลาของนักเรียนให้ไปสนใจเกมมากกว่าการเรียนเนื้อหาวิชาการต่างๆ เกมจึงกลายเป็นเสมือนผู้ร้ายในสายตาของคุณครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่ แต่เรากลับไม่ค่อยตั้งคำถามว่า เกมทำงานกับความคิดของเด็กอย่างไร และทำอย่างไรให้ผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในการสร้างแรงดึงดูดความสนใจของนักเรียน วันนี้เราจึงอยากชวนให้คุณมาร่วมจุดไฟการเรียนรู้ ผ่าน “ห้องเรียนออกแบบการเรียนรู้ผ่านเกม” โดยวิทยากร ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีม DeSchooling Game...