ก่อการครู – Korkankru

โรงเรียนปล่อยแสง

เส้นทางลัดเพื่อพัฒนาระบบการศึกษามีจริง หรือเป็นเพียงฝันลมๆ แล้งๆ ที่ผู้คนจินตนาการถึง ?

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรมีหน้าตาอย่างไร? เราอาจหาคำตอบได้จากแนวคิดของฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม สิงคโปร์ และอีกหลายสิบประเทศทั่วโลกที่จัดอันดับให้อยู่ก่อนหน้าประเทศเรา ทว่าหลักคิดใดเล่าที่เข้ากับบริบทของระบบการศึกษาไทยได้ดีในภาคปฏิบัติ วิธีใดเล่าจะแก้ไขทุกปัญหาในจักรวาลการศึกษาไทยได้ สูตรลัดพัฒนาระบบการศึกษาไทยมีจริงหรือไม่ ปัญหาของครู โรงเรียน และระบบการศึกษาไทยอยู่ตรงไหนกันแน่ อาจารย์อนุชาติ พวงสำลี หนึ่งในทีมบริหารโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ฉายภาพเส้นทางการทำงานของโครงการฯ ว่าแบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญ...

อัปเลเวลครูให้ทะลุข้อจำกัด ด้วยเครื่องมือพัฒนาการสอนใหม่ๆ ในตลาดวิชาที่ครูเลือกได้

ตลาดวิชาเป็นโมดูล 2 ที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงออกแบบไว้ในหลักสูตร เพราะหลังจากครูได้ผ่านการเยียวยา ฟื้นฟูพลังใจและความเชื่อมั่นในตัวเองจากโมดูล 1 “ครูคือมนุษย์” และยังขยายความเป็นไปได้ของการเรียนการสอนผ่านโมดูล “ครูคือกระบวนกร” แล้ว ครูก็อาจต้องการเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพกว่าที่เคยรู้เคยใช้มาเดิมๆ เพื่อพลิกโฉมห้องเรียนตนเองให้เข้าสู่บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ แต่ความท้าทายคือครูแต่ละคน โรงเรียนแต่ละแห่ง ก็อาจมีโจทย์ที่ต้องการเครื่องมือแตกต่างกันไป โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจึงใช้แนวคิดออกแบบหลักสูตรการเสริมสร้างศักยภาพในลักษณะ “ตลาดวิชา” เปิดให้ครูมองเห็นเครื่องมือหลากหลายที่อาจจุดประกายความคิด และตัดสินใจเลือกเข้าเรียนวิชาต่างๆ ที่ตนเองสนใจได้อิสระ...

ฟังอารมณ์ ถามความรู้สึก ทักษะการโค้ชเพื่อดูแลใจผู้เรียน โรงเรียนสุจิปุลิ

ปัญหาที่เด็กประสบพบเจอนั้นมีมากมาย ทะเลาะกับเพื่อนกับแฟน พ่อแม่หย่าร้าง ไม่มีเงินมาโรงเรียน หรือเรียนได้ไม่ดี บางครั้งก็ไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการหรือสมอง แต่มีมิติด้านจิตวิทยาแฝงอยู่ ผู้เรียนอาจรู้สึกด้อย เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นตลอดตัวเอง มองไม่เห็นศักยภาพที่ตนมี หลากหลายและกว้างใหญ่กว่าเนื้อหาที่ครูสอน คือชีวิตจริงในทุกวันของผู้เรียน  ทำอย่างไรครูจะเท่าทันและมองเห็นมิติต่างๆ ในชีวิตของผู้เรียนได้มากขึ้น  เพื่อตอบคำถามนี้ โครงการโรงเรียนปล่อยแสงชวนอาจารย์ “เปิ้ล” - อธิษฐาน์ คงทรัพย์ และอาจารย์...

นพลักษณ์ รู้ลักษณ์ รู้ตน โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม

“บนโต๊ะข้างๆ มีภาพที่วางเรียงไว้ ในรอบแรกขอเชิญอาจารย์ทุกคนเลือกภาพที่แทนความเป็นตัวเรามากที่สุดมา 1 ใบ เลือกภาพที่สะท้อนถึงบุคลิกภาพหรือนิสัย ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากเป็น แล้วเราจะให้เล่าทีละคนว่าทำไมถึงเลือกรูปภาพนั้นมาแทนความเป็นตัวเอง” ครูผู้เข้าร่วมค่อยๆ เพ่งพินิจรูปภาพหลากหลายบนโต๊ะ ก่อนจะเลือกหยิบภาพที่ตรงใจที่สุด  บางคนเลือกภาพที่เหมือนมองจากมุมสูง สะท้อนความเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ บางคนเลือกภาพวิวทิวทัศน์เพราะให้ความสำคัญกับความสบายใจ บางคนเลือกภาพเด็กหน้าตาสดใส เพราะอยากให้ทุกคนมีรอยยิ้มและความสุขร่วมกัน กิจกรรมรอบที่ 2 เปลี่ยนจากรูปภาพ เป็นการ์ดคำที่สื่อถึงตนเอง บางคนเลือกคำว่า...

ครูตุ๊ก โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ กับทักษะ “โค้ชชิ่ง” ที่เปลี่ยนห้องเรียนให้ดีขึ้นด้วยการ “ฟัง”

“นักเรียนทุกคนทำความเคารพ” “สวัสดีค่ะ สวัสดีครับคุณครู” “นั่งลงได้” “ขอบคุณค่ะ ขอบคุณครับคุณครู” ผ่านไปประมาณ 50 นาที เราและเพื่อนร่วมชั้นเรียนก็พากันลุกขึ้นแล้วพูดบทสนทนาข้างต้นอีกครั้ง ในสมัยที่ “ห้องเรียน” หาใช่สถานที่ที่ส่งเสียงได้ตามใจชอบ กระทั่งการถามหรือต่อบทสนทนากับ “คุณครู” ก็ดูเป็นเรื่องยาก ระหว่างเวลา 50 นาทีนั้น พวกเราถูกบังคับให้รับบทเป็น “ผู้รับฟัง”...

รวมเสียงสะท้อนปัญหา จากสายตาคุณครูปล่อยแสง พวกเขากำลังเผชิญโจทย์แบบไหนในระบบการศึกษาไทย

“งานเอกสารของครูเยอะเกินไป ครูมีหน้าที่สอนในห้อง แต่ต้องไปทำงานเรื่องการเงิน ครุภัณฑ์ด้วย” “การศึกษามุ่งเน้นไปทางคะแนน ให้เด็กสอบ ให้เด็กแข่งขันกัน แล้วเด็กเรียนไปมีความสุขไหม” “โรงเรียนขนาดเล็กๆ กำลังเผชิญกับเรื่องงบ เขาต้องกังวลตลอดเวลาว่าโรงเรียนจะถูกยุบเมื่อไหร่” เสียงสะท้อนเหล่านี้มาจากครูผู้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนปล่อยแสง เมื่อถูกถามถึงปัญหาในระบบการศึกษาไทยที่มองเห็นหรือกำลังเผชิญอยู่ บางเรื่องเป็นปัญหาของครู บางเรื่องของผู้เรียน ในขณะที่บางปัญหานั้นเป็นปัญหาเชิงระบบที่อาจส่งผลให้โรงเรียนต้องปิดตัวลง โครงการโรงเรียนปล่อยแสงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานิเวศการเรียนรู้ ฟื้นคืนความสัมพันธ์ที่ดีในระบบโรงเรียน ทำให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนสามารถดูแลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการและเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข มีความหมาย และมีคุณค่า...

ครูและนักเรียน เราคือมนุษย์ที่ผิดพลาด และเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บทเรียนจาก “ครูศักดิ์” ครูฟิสิกส์ผู้ต้องรับบทครูฝ่ายกิจการนักเรียน

ชีวิตวัยเรียนสำหรับเด็กบางคนไม่ง่ายนัก การบ้านอาจไม่ใช่ภาระหนักหนาที่พวกเขาต้องแบกรับเสมอไป ปัญหาครอบครัว สิ่งเร้ารอบข้าง ความสับสนระหว่างวัย ฯลฯ หลายอย่างถาโถมเข้ามาพร้อมกันในช่วงวัยนี้  คงดีไม่น้อยหากโรงเรียนจะเป็นพื้นที่หนึ่งที่ช่วยให้การเติบโต เรียนรู้ และเข้าใจกับโลกใบนี้ง่ายขึ้นบ้าง “ครูศักดิ์” วีระศักดิ์ เวียงสมุทร ครูประจำวิชาฟิสิกส์ และหัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ กำลังสร้างพื้นที่เหล่านั้นให้กับนักเรียนของเขา พื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้ จุดเริ่มต้นการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนปล่อยแสงของครูศักดิ์ ไม่ใช่เพราะความสนใจส่วนตัว ทว่าเพราะได้ติดสอยห้อยตาม...

นิเวศที่ฉันได้เลือกที่จะเติบโต

ในเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการโรงเรียนปล่อยแสง และเครือข่าย ได้จัดงาน เวทีปล่อยแสง : สร้างการศึกษาไทยให้มีอนาคต เพื่อนำเสนอวิธีคิด การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์โลกอนาคต ผ่านผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ตั้งแต่ ตัวแทนจากศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยอิสระ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน ในรูปแบบของงานเสวนา หนึ่งในผู้ที่ขึ้นไปร่วมปล่อยแสงบนเวทีแห่งนี้คือ นางสาวรัตนาภรณ์...

Active Learning ประตูการเรียนรู้พาเด็กสู่ชุมชน โรงเรียนบ้านกาเนะ

“วันนี้เรามีตัวอย่างของดีในชุมชน 3 อย่าง มีกาแฟพื้นเมือง โรตีกาปาย และขนมรังต่อ เราจะนำของดีทั้งสามมาใช้จัดการเรียนการสอนอย่างไรได้บ้าง” วิทยากรให้คุณครูแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ระดมความคิดช่วยกันว่าหากจะต้องขายของให้ผู้ที่ไม่เคยรู้จัก จะแนะนำอย่างไรให้คนสนใจ “โรตีกาปาย ชาวจีนอพยพเอามาขาย รสชาติหอมอร่อย แป้งกรอบสะอาดบริสุทธิ์ กินกับข้าวโพดก็อร่อยนะคะ” คุณครูกลุ่มโรตีขายก่อน “บ้านเราภาคใต้เรียกขนมรังต่อ ภาคกลางเรียกขนมดอกจอก ส่วนผสมครบ 5 หมู่...

หลากวิธีเสริมพลังครู เมื่อในชั่วโมงเรียนไม่ได้มีครูคนเดียวในห้อง โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง

โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จังหวัดปราจีนบุรี โรงเรียนประจำชุมชน ตั้งใจพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เน้นบูรณาการกับการสร้างเสริมทักษะอาชีพที่ผู้เรียนสนใจ  แต่ความท้าทายที่กำลังเผชิญ คือข้อจำกัดด้านความเชี่ยวชาญของครูที่ต้องเปิดสอนวิชาใหม่ๆ หลายวิชามารองรับ จึงเป็นโจทย์หนึ่งที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงพยายามเข้าไปช่วยแต่ละโรงเรียนพัฒนานิเวศการเรียนรู้ที่มีสภาพแวดล้อมและบริบทของชุมชนแตกต่างกันไป วันที่โครงการฯ เดินทางมาถึงโรงเรียนศรีรักษ์ฯ วิทยากรพบว่าคุณครูไม่ได้ขาดแคลนเครื่องมือออกแบบการสอน แต่อาจต้องการแรงเสริม เปิดพื้นที่ทดลองบางอย่างเพื่อสร้างความมั่นใจ และเปิดมุมมองการทำงานใหม่ๆ ผ่านการสอนร่วมกันเป็นทีม หรือ Team teaching ที่เน้นการบูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน...