Korkankru

โรงเรียนปล่อยแสง

ฟื้นคืนบรรยากาศห้องเรียนด้วยการเล่น โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ จังหวัดสงขลา มีเป้าหมายการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อบ่มเพาะเด็กให้เติบโตเต็มศักยภาพที่เขาพึงเป็น แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยาวนาน บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่สดใสเหมือนเดิม  ทำอย่างไรจะฟื้นคืนบรรยากาศการเรียนรู้ กระตุ้นทั้งครูและผู้เรียนให้กลับมาตื่นตัวกับกิจกรรมตรงหน้า ใช้สื่อออนไลน์ในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้อย่างเข้าใจแทนที่จะปล่อยให้เป็นปัญหา เพื่อตอบคำถามนี้เราจึงชวน “เต้” - ผดุงพงศ์ ประสาททอง กับ “ขวัญ” - ขวัญหทัย...

กิจกรรม Empowerment เรียนรู้เสริมพลังใจแก่กันที่โรงเรียนสุจิปุลิ

เราจะใช้ลมหายใจของตัวเราเองในการเล่นเกมนี้ เมื่อคุณยืนอยู่ประจำจุดคุณจะหายใจเท่าไหร่ก็ได้ เพราะนี่เป็นบ้านแห่งลมหายใจของคุณ ภารกิจคือการออกไปคว้าจับเทพีแห่งสุขภาพ ความสําเร็จ และความรัก ที่เดินวนอยู่นอกบ้าน  เมื่อออกจากบ้านทุกคนจะต้องกลั้นลมหายใจ ใครไม่ไหวก็ให้รีบกลับมา ลองทบทวนตัวเองว่าในบรรดาเทพีทั้งสาม ตอนนี้เรากำลังต้องการสิ่งไหนมากที่สุด  เริ่มค่ะ! อาจารย์น้อง - ธนัญธร เปรมใจชื่น วิทยากรประจำกิจกรรมของโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ให้สัญญาเริ่มต้นเกมแรกของวัน นี่คือกิจกรรมเกม “บ้านแห่งสายลม” ในกิจกรรมการอบรม...

เวทีเสวนาโรงเรียนปล่อยแสง นิเวศการเรียนรู้ที่มีความหมาย

“นิเวศการเรียนรู้” คือคำสำคัญที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงนำมาพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เพราะเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับโรงเรียน คงไม่มีใครคนใดคนหนึ่งขับเคลื่อนได้เพียงลำพัง แต่คำสำคัญนี้ยังเป็นแค่กรอบคิดหรือวิธีการทำงานในมุมมองของหลายๆ คน เพราะยังไม่เคยเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง งานเวทีปล่อยแสงซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2566 จึงตั้งใจเปิดพื้นที่ให้ผู้คนจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสงได้มาแลกเปลี่ยน บอกเล่าการทำงานของการพัฒนานิเวศการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้สู่ชีวิตจริง  มาร่วมฟังทีมผู้จัด ผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครู รวมถึงนักเรียนที่มาร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีเสวนา “โรงเรียนปล่อยแสง นิเวศการเรียนรู้ที่มีความหมาย” ไปพร้อมๆ กัน นิเวศที่ฉันเติบโต “ตอนประถมฯ...

ถอดบทเรียน 6 โรงเรียนปล่อยแสง ย้อนรอยเส้นทางการเรียนรู้ที่ผลิบาน

“รู้สึกตื่นเต้นพอสมควร เพราะปีนี้เป็นครั้งแรกที่เรามารวมกันพร้อมหน้าทั้ง 6 โรงเรียน หลังจากที่อบรมโมดูลต่างๆ ของโครงการ ก็ไม่มีโอกาสมาเจอกันแบบนี้ ต่างคนต่างอยู่โรงเรียนของตัวเอง ค้นหาโจทย์และพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของโรงเรียนตามประเด็นที่แตกต่างกัน  วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มาแลกเปลี่ยนและสะท้อนการเรียนรู้กันว่า โรงเรียนฉันมีโจทย์แบบนี้ เกิดการเรียนรู้แบบนี้ ของโรงเรียนเธอล่ะเป็นอย่างไร”  อธิษฐาน คงทรัพย์ หรืออาจารย์เปิ้ล หัวหน้าโครงการโรงเรียนปล่อยแสงและผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงานถอดบทเรียนรวมในรอบ 2 ปีของโครงการฯ เมื่อปลายเดือนเมษายน...

การเงินส่วนบุคคล ที่ส่งผลกับทั้งครอบครัว ครูอิงอิง โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์

หากชวนทุกคนมาเสนอวิชาที่ช่วยพัฒนาครู เชื่อว่าจะได้รับคำตอบหลักๆ อย่างวิชาเสริมเทคนิคและพัฒนาแนวการสอน วิชาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ ไปจนถึงวิชาบูรณาการเนื้อหาในห้องเรียนเข้ากับชีวิตประจำวัน แต่วันนี้ครูคนหนึ่งมีคำตอบอื่นที่น่าสนใจ คุณครู ‘อิงอิง’ ศิริวิมล เวียงสมุทร โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู หนึ่งในคุณครูจากโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ซึ่งชวนเรามาเดินจับจ่ายซื้อของที่ตลาดข้างโรงเรียนและบอกว่า วิชาที่ตนเองได้ไปเรียนมาแล้วคิดว่าสำคัญมากกับทั้งคุณครูและนักเรียน คือวิชา “การเงินส่วนบุคคล” “ปัญหาการเงินเป็นเรื่องใหญ่และสร้างความเครียดให้ครอบครัวเราพอสมควร หลายครั้งเรายังใช้เงินแบบเดือนชนเดือนเหมือนกัน  เราเป็นครูที่บรรจุเข้ามาได้ไม่กี่ปี ยังไม่มีวิทยฐานะหรือฐานเงินเดือนสูง ...

ก่อร่างสร้างนิเวศการเรียนรู้ บันทึกการทำงานพัฒนาโรงเรียนจากสายตานักวิจัย

2 ปีของ “โครงการโรงเรียนปล่อยแสง” คุณครูหลายคนได้เดินทางไปบนสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง หลายคนได้เติมพลังไฟให้ลุกโชนจากใกล้มอดดับ หลายคนได้ฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ พร้อมกับเรียนรู้ทักษะและเครื่องมือใหม่ๆ หลายคนได้ลงมือก่อการบางอย่างในห้องเรียนและเริ่มเห็นการผลิดอกออกผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น  คุณครูแต่ละคนจากหลายโรงเรียน ล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราว ปล่อยแสงสว่างสดใสด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราอยากชวนทุกท่านมารับฟังเรื่องราวเดิมในมุมมองใหม่ ที่เล่าผ่านสายตาของนักวิจัย ได้แก่  รศ. ดร. ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล (อาจารย์แต้ว), ผศ. ดร....

ฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการศึกษา

มีคำกล่าวที่ว่า “ก้าวที่ยากที่สุดของการเดินทางคือก้าวแรก” หากเป็นเช่นนั้น แล้วถ้าเราอยากจะเปลี่ยนแปลงครูสักคนหนึ่ง เราควรเริ่มต้นกันอย่างไร  เพื่อตอบคำถามนี้ เราจึงมาคุยกับ พฤหัส พหลกุลบุตร, ธนัญธร เปรมใจชื่น และ ผศ. นพ. พนม เกตุมาน วิทยากรในโมดูลที่หนึ่งของโครงการโรงเรียนปล่อยแสง ผู้ออกแบบห้องเรียนแรกที่ครูทุกคนจะต้องผ่าน เพื่อปรับฐานคิด ปลุกคุณครูให้ตื่นมาย้อนมองคุณค่าภายในตนเอง และเชื่อมั่นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง...

กว่าจะเป็นห้องเรียนแนะแนวแห่งรัก ครูลูกหมี โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์

ห้องเรียนโล่งกว้าง สะอาดสะอ้าน บนผนังห้องมีบอร์ดปฏิทินและตารางสอบ ทั้ง GAT/PAT O-NET วิชาสามัญและวิชาเฉพาะอื่นๆ ไม่ไกลจากทางเข้ามีคุณครูยิ้มแฉ่งอารมณ์ดีค่อยทักทายนักเรียนที่เดินพ้นประตูเข้ามาอย่างเป็นกันเอง  เด็กๆ ทิ้งตัวลงนั่งบนพื้นห้องโดยไม่มีทีท่าเคอะเขิน บ้างจับกลุ่มนั่งคุยเล่นกันกับเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันตลอดช่วงปิดเทอม บ้างเข้ามาพูดคุยกับคุณครูอย่างสนิทสนม  นี่คือบรรยากาศในวันแรกของการเปิดภาคการศึกษา ณ ห้องเรียนวิชาแนะแนวของ คุณครู ‘ลูกหมี’ สุพัตรา ศรีพันธบุตร โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู...

Sensory Integration ห้องเรียนเคลื่อนไหวร่างกายที่ช่วยเติมเต็มจิตใจ ครูธิดา โรงเรียนสุจิปุลิ

เด็กหญิงยืนอยู่ที่มุมห้อง บนพื้นเต็มไปด้วยห่วงสีแดงวงใหญ่เรียงเป็นแถวๆ ในมือเธอมีกระดาษแผนที่บอกทิศทาง ภารกิจคือนำตุ๊กตาไปวางในห่วงสีแดงอันสุดท้ายตามเส้นทางที่กำหนด หลังจากหยุดยืนชั่งใจอยู่สักครู่ เธอก็ค่อยๆ ก้าวเดิน จากห่วงอันหนึ่งไปยังอีกอัน เด็กๆ กระตือรือร้น ยกมือขอทำภารกิจเป็นคนต่อไป แม้บางคนจะมีผิดพลาดบ้าง ลังเลบ้าง แต่บรรยากาศในห้องยังเต็มไปด้วยความสนุกสนานจากเสียงเชียร์ของเพื่อนๆ และคำพูดให้กำลังใจของคุณครู  นี่คือห้องเรียนวิชา Sensory Integration ของ โรงเรียนสุจิปุลิ จังหวัดฉะเชิงเทรา...

นักเรียน ครู ผู้ปกครอง นิเวศการเรียนรู้เพื่อโอบอุ้มเด็กให้เติบโต ‘ครูแอน’ โรงเรียนสุจิปุลิ

กลุ่มผู้ปกครองนั่งรออยู่ที่หน้าเวที เด็กๆ ในชุดผึ้งค่อยๆ เดินเรียงแถวออกมา ร้อง เล่น เต้นตามจังหวะเสียงเพลง ก่อนจะจูงมือ พาคุณพ่อคุณแม่เข้าห้องเรียน เพื่อเล่าถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ตลอดช่วงเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา นาฎฤดี จิตรรังสรรค์ หรือ “ครูแอน” นี่คือบรรยากาศวันนำเสนอโครงงานของเด็กชั้นก่อนอนุบาลในโรงเรียนสุจิปุลิ จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนแนวคิดใหม่ของ นาฎฤดี จิตรรังสรรค์ หรือ...