Korkankru

e-learning learning tools บัวหลวงก่อการครู

กิจกรรม ‘จิ๊กซอว์’ สานพลัง สร้างปฏิสัมพันธ์ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม1 min read

Reading Time: < 1 minutes การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมจิ๊กซอว์ (Jigsaw) โดยเป็นกิจกรรมที่เปรียบเด็กเป็นจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นมาต่อรวมกันเพื่อสร้างความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง และกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาถ่ายทอดให้กับผู้อื่น นัยหนึ่งเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ที่รอบด้านหลากหลายมิติอีกด้ว Dec 21, 2023 < 1 min

กิจกรรม ‘จิ๊กซอว์’ สานพลัง สร้างปฏิสัมพันธ์ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม1 min read

Reading Time: < 1 minutes

แวดวงการศึกษาในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียน รวมถึงการวางเป้าหมายสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุขและมีความหมายต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน ภายใต้ความท้าทายที่สถานศึกษาแต่ละแห่งมีปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน การทำงานเพื่อขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับสถานศึกษา  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมองเห็นความเชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ ทั้งระบบ  รวมถึงคำนึงถึงบริบทแวดล้อม ทรัพยากร และแหล่งเรียนรู้บนฐานทุนชุมชนตนเอง

การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ด้วยการเรียนการสอนแบบ Active Learning จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 

หนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่ส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดีคือ การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมจิ๊กซอว์ (Jigsaw) โดยเป็นกิจกรรมที่เปรียบเด็กเป็นจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นมาต่อรวมกันเพื่อสร้างความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง และกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาถ่ายทอดให้กับผู้อื่น นัยหนึ่งเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ที่รอบด้านหลากหลายมิติอีกด้วย

กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมจิ๊กซอว์ ประกอบด้วย

  1. ให้ผู้เรียนรวมกลุ่ม โดยคละความสามารถ ซึ่งจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า ‘การสร้างกลุ่มบ้าน’
  2. กำหนดหน้าที่ให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มบ้าน รับผิดชอบเนื้อหาแต่ละหัวข้อตามที่ผู้สอนกำหนดไว้ (เสมือนได้ชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์คนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้
  3. สมาชิกแยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นที่ได้รับเนื้อหาเดียวกัน และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด
  4. สมาชิกแต่ละคนกลับไปกลุ่มบ้านของตนเอง และแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อนในกลุ่ม ให้เข้าใจสาระเนื้อหาที่แต่ละคนแยกย้ายกันไปเรียนรู้ 
  5. สร้างสรรค์ผลงานร่วมกันของกลุ่มบ้าน และนำเสนอผลงาน

ระหว่างกิจกรรมจะเกิดการเรียนรู้ใน 2 ช่วง คือช่วงที่แต่ละคนแยกย้ายไปเรียนรู้ และอีกช่วงหนึ่งคือกลับมาแลกเปลี่ยนกันที่กลุ่มบ้านของตนเองเพื่อสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน 

ยกตัวอย่างการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมจิ๊กซอว์ ในการอบรม “โครงการบัวหลวงก่อการครู” หัวข้อ Active Learning และทักษะแห่งอนาคต โดยเริ่มจากการสร้างกลุ่มบ้านขึ้นมา และให้แต่ละคนแยกย้ายกันไปเรียนรู้จากฐานความรู้ 3 ฐาน ได้แก่

  • ‘ฐานหัว’ เน้นการคิด ระดมสมอง
  • ‘ฐานใจ’ เน้นอารมณ์ ความรู้สึก
  • ‘ฐานกาย’ เน้นขยับร่างกาย เคลื่อนไหว

หลังจากผู้เข้าร่วมอบรมกลับมาที่กลุ่มบ้านของตนเอง แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละฐาน กลุ่มละ 6 นาที จากนั้นจึงสรุปสิ่งที่แต่ละกลุ่มได้เรียนรู้

“หลังจากกลับมารวมกัน ทำให้เราคิดว่าทั้ง 3 ฐานมีความสำคัญพอๆ กัน แต่สังเกตได้อย่างแรกคือ ฐานใจ ก่อนจะทำอะไรถ้าเราไม่มีใจที่จะทำ ก็ไม่สามารถคิดหรือทำอะไรต่อไปได้ จึงยกให้ฐานใจมาก่อน รองลงมาคือ ฐานหัว จะเน้นใช้ความคิด วิเคราะห์ ออกแบบ การจำ การสนทนา และฐานสุดท้ายคือ ฐานกาย ที่มีการลงมือปฏิบัติ การทำงานจะไม่สำเร็จถ้าขาดทั้ง 3 ฐาน และต้องทำไปพร้อมกัน”

ผู้เข้าร่วมอบรมคนหนึ่งกล่าวสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากทั้ง 3 ฐาน หลังจากเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มบ้านของตนเอง 

จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมจิ๊กซอว์ ช่วยให้ผู้เรียนได้สร้างปฏิสัมพันธ์ภายในห้องเรียน เรียนรู้การทำงานร่วมกัน และส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตัวกิจกรรมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองที่ต้องไปเรียนรู้นอกกลุ่ม และคำนึงถึงผลสำเร็จของส่วนรวม สำคัญคือได้ฝึกทักษะการสื่อสาร เนื่องจากต้องถ่ายทอดเนื้อหาที่ได้ไปเรียนรู้มาให้เพื่อนในกลุ่มได้รับรู้และเข้าใจเนื้อหา

การพัฒนานิเวศการเรียนรู้ในห้องเรียน ด้วยการเรียนการสอนแบบ Avtive Learning พร้อมกับการสร้างทักษะที่หลากหลาย กิจกรรมการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างนิเวศการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การนำเสนอ ผ่านการระดมสมอง ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Your email address will not be published.