10 ทักษะแห่งปี 2025 และ Soft Skills 7 ด้าน
โรงเรียนต้องมอบทักษะที่หลากหลายในโลกที่พลิกผัน
Reading Time: 3 minutes
เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงส่งผลอย่างมากต่อชีวิตของพวกเรา เราอยู่ในโลกที่หมุนเร็วกว่าแต่ก่อนถึง 20 เท่า และจะหมุนเร็วขึ้นทุกนาทีในอนาคต ปัญหาที่ตามมาจึงมีหลายประการ หนึ่งในนั้นคือปัญหาการสูญเสียทุนมนุษย์ (Human Capital Loss) ที่เป็นผลสืบเนื่องจากระบบการศึกษาที่ปรับตัวไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการเตรียมกำลังคนในอนาคตให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการอย่างแท้จริง
ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอมุมมองการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันว่า โรงเรียนต้องมอบทักษะจำเป็นให้แก่เด็กๆ โดยก่อนหน้านี้ในแวดวงการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมต่างพูดกันถึงทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) และความต้องการคนทำงานที่มีคุณสมบัติแบบ ‘Super Duck’ แต่ในวันนี้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เคยพูดถึงกันนั้นอาจไม่เพียงพออีกต่อไป หรือแม้กระทั่งการเป็น Super Duck ก็อาจไม่สามารถเอาตัวรอดได้ในยุคสมัยนี้
จากทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่ทักษะ 2025
เมื่อโลกเปลี่ยนเร็วขึ้นทุกวัน ทักษะในศตวรรษที่ 21 จึงไม่เพียงพอต่อความเร็วของโลกอีกต่อไป ในปี 2020 World Economic Forum ได้สำรวจ 10 ทักษะที่จำเป็นไว้ดังนี้
1) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)
2) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
3) ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creativity)
4) ทักษะการบริหารจัดการคน (People Management)
5) ทักษะการประสานงานกับผู้อื่น (Coordinating with Others)
6) ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
7) ทักษะการใช้ดุลยพินิจและการตัดสินใจ (Judgment and Decision Making)
8) ทักษะการให้บริการ (Service Orientation)
9) ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation)
10) ทักษะความยืดหยุ่นทางสติปัญญา (Cognitive Flexibility)
ทว่าการสำรวจล่าสุด World Economic Forum ได้จัดทำรายงาน The Future of Jobs ว่าด้วยเรื่องแนวโน้มและทิศทางของอาชีพในอนาคต โดยประกาศทักษะการทำงานที่จำเป็นในปี 2025 ดังนี้
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดค้นนวัตกรรม (Analytical and Innovation)
2) ทักษะการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้อย่างมีกลยุทธ์ (Active Learning and Learning Strategies)
3) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem-solving)
4) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking and Analysis)
5) ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีความเป็นเอกลักษณ์ และริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ (Creative, Originality, and Initiative)
6) ทักษะการเป็นผู้นำและการมีอิทธิพลต่อสังคม (Leadership and Social Influence)
7) ทักษะการใช้ ตรวจสอบ และควบคุมเทคโนโลยี (Technology Use, Monitoring, and Control)
8) ทักษะการออกแบบเทคโนโลยีและการเขียนโปรแกรม (Technology Design and Programming)
9) ทักษะการล้มแล้วลุกเร็ว การรับมือกับความกดดัน และความยืดหยุ่น (Resilience, Stress Tolerance, and Flexibility)
10) ทักษะการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา และการสรรหาไอเดียใหม่ๆ (Reasoning, Problem-solving, and Ideation)
แม้จะมีหลายทักษะที่ยังคงเหมือนกันกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แต่จุดที่แตกต่างก็คือ ทักษะ 2025 เป็นทักษะผสมผสาน ไม่ใช่ทักษะเชิงเดี่ยว เพราะทักษะโดดๆ เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของโลกในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์จึงต้องมาพร้อมกับการคิดเชิงวิเคราะห์ หรือทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ก็ต้องมาพร้อมกับการเริ่มต้นสร้างสิ่งใหม่ด้วย
เมื่อแนวโน้มทักษะในปี 2025 เน้นการประสานทักษะต่างๆ ไว้ด้วยกัน จึงทำให้ทักษะอาชีพในอนาคตที่ตอบโจทย์ความต้องการ ไม่ใช่แค่ Super Duck อีกต่อไป แต่จะต้องเป็น Ultra Duck ที่เน้นเก่งรอบด้าน โดยเฉพาะเก่งในการใช้เครื่องมือต่างๆ ผสานเข้ากับการใช้ทักษะในปี 2025 ในการทำงานในโลกอนาคต
Soft Skills เตรียมความพร้อมของเด็ก เพื่อรับมือโลกที่แตกต่างหลากหลาย
นอกจากการเสริมสร้างทักษะให้กับเด็กเพื่อเข้าสู่โลกการทำงานในอนาคตแล้ว ทักษะที่เด็กจะต้องใช้ในการเอาตัวรอดในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอก็มีความสำคัญเช่นกัน จากการสำรวจว่าทักษะใดจะช่วยให้เด็กที่ออกจากระบบการศึกษาสามารถเอาตัวรอดในสังคมได้ ดร.เกียรติอนันต์ พบว่าความรู้ในด้านวิชาการมีผลไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ในการช่วยให้เด็กเอาตัวรอดในสังคมได้ แต่ Soft Skills หรือทักษะทางอารมณ์และสังคม กลับเป็นส่วนสำคัญมากในจุดนี้
Soft Skills 7 ด้าน ที่เด็กจะต้องมี เพื่อเอาตัวรอดทั้งในโลกปัจจุบันและอนาคต มีดังนี้
1) ทักษะทุนจิตวิทยาเชิงบวก
2) ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล
3) ทักษะความร่วมมือกัน
4) ทักษะความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ
5) ทักษะการแก้ปัญหา
6) ทักษะความฉลาดทางอารมณ์
7) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กไทยคือ ทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งจากการสำรวจของ ดร.เกียรติอนันต์ พบว่าเด็กไทยในหลายพื้นที่ยังมีทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีมากนัก ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Soft Skills ตัวสำคัญที่จะช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตรอดในสังคมได้ ดังนั้นระบบการศึกษาในปัจจุบันจึงควรให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
การแนะแนวในโรงเรียนต้องเน้นพัฒนาทักษะ ไม่ใช่อาชีพ
เมื่อความต้องการทักษะการทำงานในอนาคตและสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โรงเรียนจึงจำเป็นต้องปรับตัวทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนรู้ ไปจนถึงการแนะแนวและพัฒนาตนเอง โดย ดร.เกียรติอนันต์ เสนอว่า การแนะแนวอาชีพให้แก่นักเรียนด้วยวิธีการแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เนื่องจากโลกกำลังเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การประกอบอาชีพเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งอาจไม่เพียงพอหรืออาจอยู่รอดได้เพียงชั่วคราว ไม่อาจยึดเป็นอาชีพถาวรที่สามารถทำได้ตลอดชีวิต เพราะหลายอาชีพจะค่อยๆ สูญหายและหมดความจำเป็นลงไปตลอดเวลา
โรงเรียนจึงต้องเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพอยู่ตลอดเวลา หรืออาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่โรงเรียนจะต้องฝึกฝนและเตรียมความพร้อมให้กับเด็กคือ ทักษะที่จะทำให้พวกเขาก้าวต่อไปในอนาคตได้ และเป็นทักษะที่จะช่วยให้เขาเอาตัวรอดจากความพลิกผันของสังคมได้
อ้างอิง:
These are the top 10 job skills of tomorrow – and how long it takes to learn them
เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงส่งผลอย่างมากต่อชีวิตของพวกเรา เราอยู่ในโลกที่หมุนเร็วกว่าแต่ก่อนถึง 20 เท่า และจะหมุนเร็วขึ้นทุกนาทีในอนาคต ปัญหาที่ตามมาจึงมีหลายประการ หนึ่งในนั้นคือปัญหาการสูญเสียทุนมนุษย์ (Human Capital Loss) ที่เป็นผลสืบเนื่องจากระบบการศึกษาที่ปรับตัวไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการเตรียมกำลังคนในอนาคตให้มีทักษะและองค์ความรู้ที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการอย่างแท้จริง
ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอมุมมองการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันว่า โรงเรียนต้องมอบทักษะจำเป็นให้แก่เด็กๆ โดยก่อนหน้านี้ในแวดวงการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมต่างพูดกันถึงทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) และความต้องการคนทำงานที่มีคุณสมบัติแบบ ‘Super Duck’ แต่ในวันนี้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เคยพูดถึงกันนั้นอาจไม่เพียงพออีกต่อไป หรือแม้กระทั่งการเป็น Super Duck ก็อาจไม่สามารถเอาตัวรอดได้ในยุคสมัยนี้
จากทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่ทักษะ 2025
เมื่อโลกเปลี่ยนเร็วขึ้นทุกวัน ทักษะในศตวรรษที่ 21 จึงไม่เพียงพอต่อความเร็วของโลกอีกต่อไป ในปี 2020 World Economic Forum ได้สำรวจ 10 ทักษะที่จำเป็นไว้ดังนี้
1) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)
2) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
3) ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creativity)
4) ทักษะการบริหารจัดการคน (People Management)
5) ทักษะการประสานงานกับผู้อื่น (Coordinating with Others)
6) ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
7) ทักษะการใช้ดุลยพินิจและการตัดสินใจ (Judgment and Decision Making)
8) ทักษะการให้บริการ (Service Orientation)
9) ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation)
10) ทักษะความยืดหยุ่นทางสติปัญญา (Cognitive Flexibility)
ทว่าการสำรวจล่าสุด World Economic Forum ได้จัดทำรายงาน The Future of Jobs ว่าด้วยเรื่องแนวโน้มและทิศทางของอาชีพในอนาคต โดยประกาศทักษะการทำงานที่จำเป็นในปี 2025 ดังนี้
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดค้นนวัตกรรม (Analytical and Innovation)
2) ทักษะการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้อย่างมีกลยุทธ์ (Active Learning and Learning Strategies)
3) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem-solving)
4) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking and Analysis)
5) ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีความเป็นเอกลักษณ์ และริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ (Creative, Originality, and Initiative)
6) ทักษะการเป็นผู้นำและการมีอิทธิพลต่อสังคม (Leadership and Social Influence)
7) ทักษะการใช้ ตรวจสอบ และควบคุมเทคโนโลยี (Technology Use, Monitoring, and Control)
8) ทักษะการออกแบบเทคโนโลยีและการเขียนโปรแกรม (Technology Design and Programming)
9) ทักษะการล้มแล้วลุกเร็ว การรับมือกับความกดดัน และความยืดหยุ่น (Resilience, Stress Tolerance, and Flexibility)
10) ทักษะการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา และการสรรหาไอเดียใหม่ๆ (Reasoning, Problem-solving, and Ideation)
แม้จะมีหลายทักษะที่ยังคงเหมือนกันกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แต่จุดที่แตกต่างก็คือ ทักษะ 2025 เป็นทักษะผสมผสาน ไม่ใช่ทักษะเชิงเดี่ยว เพราะทักษะโดดๆ เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของโลกในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์จึงต้องมาพร้อมกับการคิดเชิงวิเคราะห์ หรือทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ก็ต้องมาพร้อมกับการเริ่มต้นสร้างสิ่งใหม่ด้วย
เมื่อแนวโน้มทักษะในปี 2025 เน้นการประสานทักษะต่างๆ ไว้ด้วยกัน จึงทำให้ทักษะอาชีพในอนาคตที่ตอบโจทย์ความต้องการ ไม่ใช่แค่ Super Duck อีกต่อไป แต่จะต้องเป็น Ultra Duck ที่เน้นเก่งรอบด้าน โดยเฉพาะเก่งในการใช้เครื่องมือต่างๆ ผสานเข้ากับการใช้ทักษะในปี 2025 ในการทำงานในโลกอนาคต
Soft Skills เตรียมความพร้อมของเด็ก เพื่อรับมือโลกที่แตกต่างหลากหลาย
นอกจากการเสริมสร้างทักษะให้กับเด็กเพื่อเข้าสู่โลกการทำงานในอนาคตแล้ว ทักษะที่เด็กจะต้องใช้ในการเอาตัวรอดในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอก็มีความสำคัญเช่นกัน จากการสำรวจว่าทักษะใดจะช่วยให้เด็กที่ออกจากระบบการศึกษาสามารถเอาตัวรอดในสังคมได้ ดร.เกียรติอนันต์ พบว่าความรู้ในด้านวิชาการมีผลไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ในการช่วยให้เด็กเอาตัวรอดในสังคมได้ แต่ Soft Skills หรือทักษะทางอารมณ์และสังคม กลับเป็นส่วนสำคัญมากในจุดนี้
Soft Skills 7 ด้าน ที่เด็กจะต้องมี เพื่อเอาตัวรอดทั้งในโลกปัจจุบันและอนาคต มีดังนี้
1) ทักษะทุนจิตวิทยาเชิงบวก
2) ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล
3) ทักษะความร่วมมือกัน
4) ทักษะความสามารถในการปรับตัวด้านอาชีพ
5) ทักษะการแก้ปัญหา
6) ทักษะความฉลาดทางอารมณ์
7) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กไทยคือ ทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งจากการสำรวจของ ดร.เกียรติอนันต์ พบว่าเด็กไทยในหลายพื้นที่ยังมีทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีมากนัก ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Soft Skills ตัวสำคัญที่จะช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตรอดในสังคมได้ ดังนั้นระบบการศึกษาในปัจจุบันจึงควรให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
การแนะแนวในโรงเรียนต้องเน้นพัฒนาทักษะ ไม่ใช่อาชีพ
เมื่อความต้องการทักษะการทำงานในอนาคตและสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โรงเรียนจึงจำเป็นต้องปรับตัวทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนรู้ ไปจนถึงการแนะแนวและพัฒนาตนเอง โดย ดร.เกียรติอนันต์ เสนอว่า การแนะแนวอาชีพให้แก่นักเรียนด้วยวิธีการแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เนื่องจากโลกกำลังเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การประกอบอาชีพเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งอาจไม่เพียงพอหรืออาจอยู่รอดได้เพียงชั่วคราว ไม่อาจยึดเป็นอาชีพถาวรที่สามารถทำได้ตลอดชีวิต เพราะหลายอาชีพจะค่อยๆ สูญหายและหมดความจำเป็นลงไปตลอดเวลา
โรงเรียนจึงต้องเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพอยู่ตลอดเวลา หรืออาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่โรงเรียนจะต้องฝึกฝนและเตรียมความพร้อมให้กับเด็กคือ ทักษะที่จะทำให้พวกเขาก้าวต่อไปในอนาคตได้ และเป็นทักษะที่จะช่วยให้เขาเอาตัวรอดจากความพลิกผันของสังคมได้
อ้างอิง: