ก่อการครู – Korkankru

แบ่งทรัพยากรอย่างไร ให้การศึกษาไทยไม่เหลื่อมล้ำ

มีอะไรที่เชื่อมโยงกันในข่าว ครูดอยต้องออกจากความเป็นครู เพราะเข้าไปพัวพันกับการดูแลค่าอาหารกลางวันของเด็ก  ผลการประเมิน PISA ล่าสุดเด็กไทยคะแนนตกต่ำในทุกมิติ  แม่นักศึกษาต้องกู้เงินนอกระบบมาให้ลูกเรียน พร้อมกับต้องพยายามขอกู้ กยศ.  ฯลฯ “ความเหลื่อมล้ำ” คือคำตอบที่หลายคนอาจนึกถึงขึ้นมาทันที แต่ความเหลื่อมล้ำในการศึกษาไทยยังมีเรื่องราวใต้พรมที่มากกว่าเป็นข่าว นักวิชาการหลายสำนักจึงมาร่วมกันแลกเปลี่ยน พูดคุยและพยายามเสนอทางออกในการสัมมนาวิชาการ Education Journey Forum ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่...

“การศึกษากับเด็กชายขอบ” ปัญหาที่ถูกซ่อนไว้ใต้คำว่า ความมั่นคงกับพหุวัฒนธรรม

ขณะที่เด็กเกิดใหม่ในประเทศไทยลดลงต่อเนื่องมานับทศวรรษ และมีโรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งเสี่ยงถูกปิดตัวเนื่องจากมีจำนวนนักเรียนไม่เพียงพอ  แต่ขณะเดียวกันก็มีเยาวชนไร้สัญชาติจำนวนมากไม่อาจเข้าสู่ระบบการศึกษา  เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง รับเด็กเหล่านี้มาเรียนกว่า 100 คน และโดนตำรวจแจ้งข้อหาทำผิดกฎหมายด้านความมั่นคง  ในความเป็นจริง ประเทศไทยมีนักเรียนรหัส G หรือเด็กนักเรียนที่ไม่มีสัญชาติไทยอยู่ในระบบการศึกษากว่า 80,000 คน  การสัมมนาวิชาการ Education Journey Forum ครั้งที่ 10...

หนังสือ Active Learning เรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง และสองมือ

ภาพจำเกี่ยวกับ Active Learning ของหลายคนมักเกี่ยวข้องกับการสอนที่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ การให้ผู้เรียนได้จับกลุ่มคุยหรือทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ตำราต่าง ๆ ก็มักพูดถึง Active Learning ในแง่ของวิธีการนำไปใช้ ซึ่งหนีไม่พ้นการบอกเล่าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอน ทำให้ Active Learning มักถูกมองว่าเป็นเรื่องวิธีการสอน (Concept of Teaching) มากกว่าเป็นเรื่องวิธีการเรียนรู้...

ไม่มี one size fits all สำหรับการพัฒนาการศึกษาไทย จากเลนส์นักกระบวนกร
กับการพัฒนาโมเดลต้นแบบโรงเรียนปล่อยแสง

ลองจินตนาการถึงระบบการศึกษาไทยที่เปิดกว้างและมีหลักสูตรการสอนหลากหลาย ผลผลิตที่ได้คงจะงดงามเหมือนดอกไม้หลากสี และประเทศไทยคงมีบุคลากรงอกงามในหลากหลายเส้นทางและความสามารถ แต่ในความจริงโรงเรียนและบุคลากรทั้งครูและนักเรียน มักต้องเดินบนเส้นทางที่ถูกตีกรอบไว้ทางเดียว จนไม่อาจจินตนาการถึงทุ่งดอกไม้ที่เต็มไปด้วยสีสัน เมื่อโครงการโรงเรียนปล่อยแสงที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของครูและนิเวศการเรียนรู้ในทั้งหกโรงเรียนมาต่อเนื่องถึงปีที่ 3 จึงอยากเห็นโมเดลที่พัฒนาต่อไปให้แต่ละโรงเรียนงอกงามในแบบเฉพาะของตนเอง  “เป็นไปได้ไหมที่โครงการโรงเรียนปล่อยแสงจะสร้างโมเดลต้นแบบที่ช่วยพัฒนานิเวศการเรียนรู้ เรามีหกโรงเรียน ก็จะมีหกโมเดลต้นแบบที่ตอบโจทย์ต่างกัน อันนี้คือเป้าหมายระยะยาวโครงการ” “เกด”-ธุวรักษ์ ปัญญางาม ผู้ก่อตั้ง Insights for Change หนึ่งในกระบวนกรที่เข้ามาช่วยโครงการโรงเรียนปล่อยแสง บอกเล่าถึงการออกแบบกระบวนการในปีที่...

พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ: การจัดการเรียนรู้แบบเชื่อมโลกและชีวิต ด้วยวิธีคิดแนวราบ

สังคมไทยในอดีตชุมชนเติบโตคู่กับวัดอย่างแยกไม่ออก นอกจากจะเป็นที่พึ่งทางใจ วัดยังเป็นสถานศึกษาบ่มเพาะเยาวชนอีกด้วย ดังนั้น “พระสงฆ์” จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวละครหนึ่งของระบบการศึกษาไทยมาอย่างยาวนาน  อย่างไรก็ตามเพราะความเป็น “พระ” ที่สืบทอดคำสอนและความศักดิ์สิทธิ์ ก็ทำให้การเข้าไปจัดเรียนการสอนศาสนาในโรงเรียนปัจจุบันไม่ได้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่กลายเป็นทางแพร่งระหว่างการอบรมชี้ถูกผิด ให้นักเรียนกลายเป็นคนดี กับอำนาจเหนือท่ามกลางมายาคติของสังคมในการควบคุมชั้นเรียน  “พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ” หรือ “พระอิฐ” ผู้เข้าสู่เพศบรรพชิต มีชื่อในทางธรรมว่า “โชติปญฺโญ” จากจังหวัดตรังกลับค้นพบเส้นทางที่แตกต่างสำหรับการสร้างการเรียนรู้...

ประกาศรายชื่อก่อการครูรุ่น 6 (ผ่านรอบสัมภาษณ์)

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจร่วมเดินทางแห่งการเรียนรู้ เพื่อก่อร่างสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้สมัครทุกท่าน ในกิจกรรมอื่น ๆ ของโครงการ

Eco school โรงเรียนตื่นรู้เชิงนิเวศน์ที่ศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

“ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน ผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เติบโตมากับพ่อแม่ธนินทร์ ปูรณัน ผู้จัดการโรงเรียนและ ศันสนีย์ ปูรณัน ครูใหญ่ ผู้ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาโรงเรียนมายาวนาน “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน “ครูนุช”...

นิเวศการเรียนรู้ฉบับป่าธรรมชาติ ณ “โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์”

หากเปรียบ “มนุษย์” เป็นดัง “ต้นไม้”   เราจะรู้ความสามารถในการเติบโตของกล้าไม้ต้นหนึ่งได้อย่างไร หากจำกัดพื้นที่ปลูกไว้เพียงกระถางปูนเล็กจ้อย และเราจะค้นพบศักยภาพแท้จริงของมนุษย์คนหนึ่งได้อย่างไร หากจำกัดรูปแบบการเรียนรู้ไว้เพียงเส้นทางเดียว  “ครูนุ่น” ปฐมพร ปูรณัน และ “ครูนุช” นุชวรา ปูรณัน สองสาวพี่น้องผู้บริหารรุ่นสองของโรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา นิยามการสร้างระบบนิเวศของโรงเรียนตรงกันว่าคล้ายการเกิดของป่าธรรมชาติ เพราะการเติบโตของเด็กไม่เหมือนการปลูกพืชในพื้นที่จำกัดแล้วหยอดปุ๋ยเร่งโต ทว่าคือการส่งเสริมให้กล้าไม้หรือ...

โรงเรียนปลอดขยะ จุดเริ่มต้นการสร้างจิตสำนึกสู่สังคม เพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ต่อนักเรียน

ก่อนเทอมสุดท้ายของภาคเรียนที่ 2 ปี 2566 จะปิดลง ในเวลาใกล้เลิกเรียนมีดอกอินทนิลสีม่วงจางคว้างกลีบไปมาเป็นฉากหลัง พร้อมกับบรรยากาศจอแจของเด็กนักเรียนด้านหน้าประตูทางออก ท่ามกลางแก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะยิบย่อยก็ปลิวเกลื่อนกระจัดกระจายทั่วถนน  ผลมาจากขยะของทุกคนในโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ที่ทิ้งมาแต่เช้าจรดค่ำจนล้นถัง “ตอนนั้นยังไม่ได้ย้ายมาบรรจุที่นี่แต่มีโอกาสเข้ามาคุมสอบ กศน. ที่โรงเรียนคำแสนฯ เราเห็นสภาพโรงเรียนมีแต่ขยะ เอ๊ะทำไมอะไรกันนักหนาเรียกว่าสกปรกเลยว่าได้” ครูปิ๋ว-อุไรวรรณ บุญเต็ม ครูชำนาญการพิเศษ ที่เล่าถึงสภาพแวดล้อมเมื่อหลายสิบปีก่อน  ร่องรอยในอดีตนั้นยังหลงเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบันอยู่บ้าง...

โรงเรียนที่เด็กสบายใจ ด้วยความเชื่อมั่นและคำพูดอ่อนโยน โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์

โรงเรียนศรีนครินทร์วิทยานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสงขลาที่มีห้องเรียนทางเลือกหลากหลาย ทั้งห้องเรียนมอนเตสซอรี ซึ่งเด็กจะได้เรียนแบบบูรณาการคละวิชาและระดับชั้น ห้องเรียนภาษาที่ได้เรียนทั้งภาษาที่ 2 และ 3 กับครูเจ้าของภาษาโดยตรง หรือแม้แต่ห้องเรียนหลักสูตรธรรมดาก็ยังเน้นการเรียนแบบ Open Approach ที่ให้เด็กเลือกทำโปรเจกต์ของตัวเองควบคู่ไปกับกิจกรรมพิเศษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและองค์ความรู้ของชุมชน การพาเด็กไปทำกิจกรรมมากมายขนาดนี้ คุณครูจะต้องมีทั้งความเป็นนักกระบวนกรคอยออกแบบจัดการกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นเพื่อนที่เด็กไว้ใจเพื่อชักชวนเขาไปเรียนสิ่งใหม่ในเวลาเดียวกัน “ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่เด็กกลับมาเรียนหลังจากเรียนออนไลน์เพราะโควิด-19  หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวยังไง  เราพบว่าเด็กบางคนไม่กล้าเข้าไปพูดคุยขอคำปรึกษากับครูประจำชั้น...