Korkankru

กิจกรรม

สรุปการอบรมโมดูลที่ 1 ครั้งที่ 21 min read

Reading Time: 2 minutes การเรียนรู้เรื่อง Edge Walking and Leadership for Future เป็นการอบรมแรกของชุดการอบรม 4 ครั้ง มีคุณวิแกรม บัตต์ จากองค์กร Leadership That Works จากประเทศอินเดีย Sep 20, 2018 2 min

สรุปการอบรมโมดูลที่ 1 ครั้งที่ 21 min read

Reading Time: 2 minutes

สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น ปีที่ 2
โมดูลที่ 1: Edge Walking and Leadership for Future

การเรียนรู้เรื่อง Edge Walking and Leadership for Future เป็นการอบรมแรกของชุดการอบรม 4 ครั้ง มีคุณวิแกรม บัตต์ จากองค์กร Leadership That Works จากประเทศอินเดีย คุณไพลิน จิรชัยสกุล และอธิษฐาน์ คงทรัพย์ เป็นทีมกระบวนกร โดยกล่าวว่าความรู้เรื่องการเดินบนขอบมีอยู่ในทุกคนอยู่แล้ว กระบวนกรมีหน้าที่เป็นเพียงแค่ช่องทางผ่าน เพื่อนำพาความรู้ที่มีอยู่แล้วบนโลกเข้าไปเชื่อมโยงให้ผู้เข้าร่วมเห็นภาพ และไขให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับแต่ละคนอย่างไร และทำให้เข้าใจชีวิตข้างในได้อย่างไร

โดยคำจำกัดของ ขอบ อาจอาศัยอุปมาอุปมัยมาใช้ในการอธิบายให้เห็นภาพได้เช่น ช่วงรอยต่อระหว่างหญ้ากับผืนน้ำ จะเป็นช่วงที่ระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ รุ่มรวยมาก แนวขอบปะการัง ชายทะเล หรือขอบของประเทศ การเป็นพ่อแม่ ขอบของคนทำงานที่ต้องข้ามไปมาตลอดเวลา ได้แก่ เอากำไรหรือไม่เอากำไร ทำงานเพื่อเงินหรือทำเพื่อให้ จะนับถือศาสนาหรือไม่นับถือดี แพทย์ทางเลือกหรือแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นต้น ล้วนแต่เป็นขอบ

และจากการเรียนรู้เกี่ยวกับสมอง พบว่าสมองของมนุษย์เรียนรู้จากความต่าง เช่น มีคำถามและคำตอบ มีสีขาวกับดำ การเผชิญกับเรื่องขอบจึงเป็นจุดที่มีการเรียนรู้และการเติบโตมากที่สุด การเดินบนขอบจึงเป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้และเติบโต เผชิญกับความเป็นจริงของชีวิตและโลกได้

การอบรม Edge Walking คือการเข้าไปทำงานกับขอบภายในของแต่ละคน โดยพาเข้าไปมีประสบการณ์ว่าการดำรงอยู่บนขอบเป็นอย่างไร ผ่านร่างกาย ผ่านความรู้สึกของแต่ละคน แล้วกลับมาเชื่อมต่อกับความเชื่อและความคิดภายใน โดยการเรียนรู้เรื่องขอบจะมีสามมิติ มิติแรกคือการเข้าไปเป็นสักขีพยานในขอบ เพื่อจะเห็นขอบของตัวเอง มิติที่สองคือการไปเดินบนขอบ มิติที่สามคือการเข้าไปสัมผัสประสบการณ์และแปรเปลี่ยนขอบ

DAY 1

หลังจากกระบวนการบรรยายเรื่องขอบในเบื้องต้นแล้ว จึงให้ผู้เข้าร่วมจับกลุ่ม 4 คน แบ่งปันขอบในอดีตที่ทำให้เป็นแต่ละคนในปัจจุบัน เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยร่วมกัน ก่อนจะสะท้อนในกลุ่มใหญ่

ต่อด้วยการทำงานกับขอบในมิติแรก คือการเป็นประจักษ์พยานกับขอบ ซึ่งจากประสบการณ์ของคุณวิแกรม การเดินบนขอบตามลำพัง เป็นเรื่องที่เหน็ดเหนื่อยมาก เพราะผู้คนรอบตัวจะเริ่มมีคำถาม เนื่องจากเห็นเราแตกต่างไปจากเดิม ทำให้แต่ละคนอาจจะรู้สึกว่าเราผิดปกติ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมองจากการทำตามลำพังไปเป็นการสร้างชุมชนที่เดินบนขอบไปด้วยกันได้ จะทำให้ชีวิตง่าย ความอับอายเปลี่ยนไปสู่ความรู้สึกอัศจรรย์ใจและมิตรภาพ แต่การกระทำดังกล่าวต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะต้องเปิดใจของตนเองออกมา เพื่อพูดหรือกระทำบางอย่างออกไป

โดยกระบวนกรชวนอาสาสมัครผู้เข้าร่วมหนึ่งคนมาร่วมสาธิตการเป็นประจักษ์พยานกับขอบของตนเอง 12 ขั้นตอน ได้แก่

1. ระบบพื้นที่ที่จะเป็นตัวแทนของขอบ ระบุความยาว
2. ระบุฝั่งที่รู้และฝั่งที่ไม่รู้ ระบุความหนาและลักษณะของขอบ
3. เดินในฝั่งที่รู้ในความเงียบสักครู่
4. ระบุ 4 สิ่งที่สำคัญสำหรับเราในอดีตและปัจจุบัน
5. เดินบนขอบและเห็น 4 สิ่งนั้นในขณะที่เดิน / เดินอีกรอบ ระบุว่าสังเกตเห็นสิ่งใดที่ต่างไปบ้าง
6. เดินในฝั่งที่เราไม่รู้ ถ้ารู้สึกอึดอัดให้กลับมาที่ขอบ แล้วลองกลับไปฝั่งที่ไม่รู้ใหม่
7. กลับไป-กลับมา สังเกตความรู้สึก
8. เราอยากจะเชื้อเชิญอะไรจากฝั่งที่เราไม่รู้มาที่ขอบบ้าง
9. นำคุณภาพของทั้งสองฝั่งมาบนขอบ เดินบนขอบ
10. สังเกตเห็นอะไรที่ต่างไปบ้าง เมื่อเราหลอมรวมคุณภาพของทั้งสองฝั่ง
11. นึกถึงพื้นที่ในชีวิตที่สามารถหลอมรวมทั้งสองสิ่งนี้ได้จริง / ลองเดิน
12. บอกว่ารู้สึกอย่างไร-ได้เรียนรู้อะไร

ก่อนจะให้ผู้เข้าร่วมจับกลุ่มสามคนฝึกการเดินบนขอบ แล้วแบ่งกลุ่ม 12 คน แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม ก่อนจะจับคู่สัมภาษณ์ 5 คำถาม เพื่อช่วยให้แต่ละคนเจอขุมพลังของตนเอง เพื่อใช้ในการเดินบนขอบได้อย่างมั่นคงได้แก่

1. แบ่งปันช่วงเวลาที่คุณสร้างแรงบันดาลใจ้แห่ผู้อื่นผ่านตัวอย่างส่วนตัวของคุณในการใช้ความกล้าหาญในชีวิตที่เผชิญกับสิ่งที่แปลกแยกทั้งหลาย อะไรคือความพิเศษที่ยังคงอยู่จากสถานการณ์นั้น
2. ช่วงเวลาที่คุณต้องตัดสินใจอย่างยากลำบาก คุณได้ก้าวเข้าสู่ความไม่รู้และคุณรู้สึกภูมิใจกับมันเกิดขึ้นเมื่อใด คุณได้เติบโตขึ้นจากผลของการกระทำนี้อย่างไร
3. เล่าช่วงเวลาที่คุณปล่อยแบบแผน / ความเชื่อ หรือสถานการณ์เก่าๆ เพื่อโอบรับสิ่งใหม่ เพราะคุณต้องการฟังเสียงหัวใจตนเอง และรู้ด้วยปัญญาญาณว่า นี่คือสิ่งที่ใช่ ที่ต้องทำ
4. สิ่งพิเศษที่ยังคงอยู่คืออะไร คุณจัดการกับคำวิพากษ์วิจารณ์ ความท้าทาย และอารมณ์ความรู้สึกของคุณอย่างไร
5. แบ่งปันช่วงเวลาที่ความแปลกแยกถาโถมต่อต้านคุณ และคุณเลือกที่จะยืนหยัดและดำรงอยู่ผ่านช่วงที่ยากลำบาก ขุมพลังความเข้มแข็งของคุณคืออะไร คุณได้เรียนรู้อะไร คุณเติบโตขึ้นอย่างไร ในฐานะบุคคล / ผู้นำ

DAY 2

หลังจากจับคู่สัมภาษณ์เพื่อหาขุมพลังของแต่ละคนต่อจากเมื่อวานแล้ว จึงให้ผู้เข้าร่วมจับกลุ่ม 6 คนคุยกันว่า หนึ่ง คุณภาพอะไรในคู่ของเราที่ส่งผลกระทบและทำให้เรารู้สึกได้รับแรงบันดาลใจ สอง กิจกรรมทำให้เราพบขุมพลังหรือความเข้มแข็งอะไรของตัวเอง แล้วแบ่งปันในกลุ่มใหญ่

ก่อนจะฝึกทักษะสำคัญสองอย่าง ทักษะแรกคือการโอบรับขั้วตรงข้าม มองเห็นสองขั้ว ระหว่างสิ่งที่เรารู้กับสิ่งที่เราไม่รู้ อดีตกับอนาคต วิถีทางเดิมๆ กับวิถีทางใหม่ๆ ในการลงมือกระทำ การเดินอยู่บนขอบ ต้องมองเห็นว่าฝั่งตรงข้ามมีอะไรอยู่ เช่น ระหว่างการกลัวไม่ได้รับการถูกยอมรับกับการถูกยอมรับอย่างเต็มที่ และไม่ปฏิเสธสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป แต่เห็นว่าความเป็นไปได้ทั้งสองอย่าง

โดยแบ่งกลุ่มสามคนเดิมทำแบบฝึกหัดร่วมกัน ช่วยกันหาว่า อะไรคือฝั่งตรงข้ามและอีกฝั่งหนึ่งของแต่ละคน เราอยากได้ฝั่งไหนมากกว่าหรือชอบฝั่งไหนมากกว่า แล้วช่วยเพื่อนมองหาว่า มีสิ่งใดจากสองฝั่งที่หลอมรวมหรืออยู่ด้วยกันได้

ก่อนจะฝึกทักษะที่สองคือเรื่อง Intuitive Reasoning หรือการใช้เหตุผลเชิงญาณทัศนะ โดยกระบวนกรสองคนเป็นผู้สาธิตได้แก่

1. ให้อยู่ในความเงียบ
2. เปิดรับข้อความ ภาพเสียง ความรู้สึกใดๆ ที่ผ่านกายและใจ โดยไม่ตัดสิน
3. พูดออกไปเลยโดยไม่เซนเซอร์ตัวเอง แล้วจึงจับกลุ่ม
4. คนฝึกเปิดรับและให้ญาณทัศนะกับขอบของเพื่อน ก่อนจะแบ่งสองกลุ่มสะท้อนการเรียนรู้ที่ได้จากกิจกรรม

DAY 3

เริ่มด้วยอยู่กับความเงียบ นำพาทุกคนเข้ามาสู่ภาวะปัจจุบันขณะ แบ่งกลุ่มย่อยสามคนแบ่งปันความรู้สึก แล้วแบ่งปันกันในวงใหญ่

ต่อด้วยแบบฝึกหัดการฟังเพื่อการวิวัฒน์ ต่อจากการเข้าไปฟังญาณทัศนะของตัวเองเมื่อวาน เป็นฟังจากสามมุมมอง หนึ่งคือ การฟังจากเสียงของเด็ก สองคือ การเข้าไปฟังตัวเราที่สุดยอดในอนาคตอีกสิบปีข้างหน้า สามคือ การเข้าไปฟังเสียงของดวงดาวและโลก โดยใช้สองทักษะเมื่อวาน คือการฟังญาณทัศนะและการโอบอุ้มขั้วตรงข้าม เพิ่มด้วยการตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบ อยู่กับความสงสัยใคร่รู้

เมื่อกระบวนกรกับอาสาสมัครหนึ่งคนสาธิตการฟังเพื่อวิวัฒนาการ เป็นการให้จับคู่ฝึก ตามกระบวนการฝึกการฟังเพื่อการวิวัฒน์ ได้แก่

  1. ระบุขอบของเรา ระบุพื้นที่ในชีวิตจริงที่สะท้อนถึงขอบนั้น
  2. แบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนแทนเสียงเด็กๆ เสียงตัวเราในอนาคต เสียงโลก ให้เลือกที่จะเดินเข้าไปฟังแต่ละเสียงในแต่ละพื้นที่ (สวมวิญญาณเสียงนั้น)
  3. จินตนาการว่าเราเดินบนขอบนั้น ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจและความกลัวคือมิตร (ไม่น่ากลัว) ฟังเสียงที่ได้ยินและพูดออกมา เพื่อถามคำถามสัมภาษณ์แต่ละเสียง
  4. เมื่อฟังเสียงใดเสียงหนึ่งแล้ว ให้เดินกลับออกมา สะท้อนว่าเราได้เรียนรู้อะไร
  5. อยู่กับตนเอง บันทึกเรื่องราวที่ได้เรียนรู้

แล้วจึงจับกลุ่ม 4 แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำพาแต่ละคนไปสู่จุดที่เติบโตจากกิจกรรมรับฟังอย่างมีวิวัฒนาการ

ทักษะสุดท้าย คือแบบฝึกหัดการสร้างสรรค์และการทำลายล้าง เป็นทักษะที่จะนำไปช่วยผู้คนรอบตัวเราที่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงแล้วเกิดต่อต้าน ให้มาสนับสนุนเราต่อไป เมื่อเขามีประสบการณ์ว่าเรามีการเปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่ และสัมผัสได้ว่าการเปลี่ยนแปลงมีความหมายกับตัวเขาเอง ทำให้การต่อต้านเบาบางลง โดยขั้นตอนแรกคือ การคิดว่าใครบ้างที่อยู่รอบตัวเราจะได้รับผลกระทบจากการเดินบนขอบของเรา เพื่อทำให้เราเตรียมตัวเตรียมใจรับปฏิกิริยาต่อต้าน ขั้นตอนที่สองคือ จะทำอย่างไรให้เขามีประสบการณ์ในการเดินบนขอบของเรา และความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง

หลังจากแต่ละคนคิดถึงคนที่ได้รับผลกระทบจากการเดินบนขอบของเรา และจับกลุ่ม 4 คนเดิมแลกเปลี่ยนกันแล้ว ส่วนสุดท้ายของการอบรมเดินบนขอบ คือการให้แต่ละคนระบุพิธีกรรมหรือการกระทำซ้ำๆ ที่หยุดเราไม่ให้เดินอยู่บนขอบ แล้วละทิ้งพิธีกรรมดังกล่าวไป พร้อมกับสร้างพิธีกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยทำให้เราเดินบนขอบได้ แล้วแบ่งปันกันในกลุ่ม 4 คน

ก่อนจะปิดวงร่วมกันในกลุ่มใหญ่

วันอาทิตย์ที่ 17 – วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2561
ณ โรงแรมเดอะ รอยัลเจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท
โดยโครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์