เปิดรับสมัครโครงการก่อการครู “ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้” รุ่น 3
Reading Time: 3 minutesการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการก่อการครู : ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่น 3 ภายใต้คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาการศึกษาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับรากฐาน สังคมไทยได้ฝากความหวังต่ออนาคตของประเทศไว้ที่การศึกษาในฐานะที่เป็นระบบหลักในการพัฒนาศักยภาพของพลเมืองให้มีคุณภาพ แม้ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาสังคมไทยได้มีการพยายามปฏิรูปการศึกษาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการกระจายอำนาจและทรัพยากรในการจัดการศึกษาไปยังภาคส่วนต่างๆ การพยายามลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ การเปิดโอกาสให้มีระบบการศึกษาทางเลือกใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหา การพยายามผลักดันให้เกิดชุมชนวิชาชีพ (Professional Learning Community- PLC)
แต่กระนั้นก็ดูเหมือนว่าการศึกษาของไทยยังคงเป็นความทุกข์ของสังคม กลไกของรัฐและโครงสร้างบริหารจัดการหลักก็ยังคงไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน กรอบวิธีคิด (Mindset) ของการจัดการศึกษาในระบบกระแสหลักยังคงผลิตซ้ำวาทกรรมและความเชื่อเดิม คือ การรวมศูนย์อำนาจ การควบคุมครอบงำ การใช้กรอบมาตรฐาน-ตัวชี้วัดที่ตายตัวและการจัดการเรียนการสอนแบบ passive learning ซึ่งไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปของเยาวชนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้สอนเกิดความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ขาดความรู้และทักษะที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ช่วยให้คนค้นพบศักยภาพของตนเอง รวมทั้งตัดขาดการเรียนรู้ในชั้นเรียนออกจากบริบททางสังคม
คำถามที่เกิดขึ้นคือ เราจะสร้างการศึกษาที่ช่วยลดความทุกข์ของสังคมไทยได้อย่างไร? เราจะเราจะสร้างการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนได้อย่างไร? เราจะสร้างห้องเรียนที่มีความหมายและมีความสุขต่อทั้งตัวครูและนักเรียนได้อย่างไร?
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการก่อการครู โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านการทำงานร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคีที่ทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ โดยเล็งเห็นว่าแท้จริงแล้วกุญแจสำคัญในระบบการศึกษา ครู คือ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents)” ผู้หล่อหลอมกรอบความคิด (Mindset) ในการสร้างการเรียนรู้ บ่มเพาะคุณลักษณะภาวะผู้นำและพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กและเยาวชน ซึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โครงการฯ ได้พัฒนาศักยภาพของครูแกนนำ จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 จำนวน 84 คน และรุ่นที่ 2 จำนวน 98 คน จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างความตระหนักและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับครูหรือผู้ที่ทำงานด้านการศึกษา และโครงการฯ ยังคงทำงานกับครูที่จะเป็นจุดคานงัด 1% ของระบบการศึกษา คือ ครูที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจำนวน 5,000 คนในระยะ 5 ปี
โดยในรุ่นที่ 3 นี้โครงการฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูแกนนำทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และผู้ที่ทำงานด้านสายการสอน ที่จะเป็นผู้บุกเบิกและมีความมุ่งมั่นในการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบ active learning หรือการสร้างชั้นเรียนที่มีความหมาย ให้มีความสุขและมีชีวิตชีวา รวมทั้งร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community – PLC) ในการนี้โครงการฯ จึงเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ในหลักสูตรแกนนำครู รุ่นที่ 3 จำนวน 100 คน
เราจึงอยากเชื้อเชิญคุณมาร่วมสร้างประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ที่มีความหมาย ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงทั้งใจ กาย สมองและจิตวิญญาณ บ่มเพาะทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Facilitation) ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง มาร่วมกันสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ สร้างพื้นที่หล่อเลี้ยงพลังใจในการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยกัน
สิ่งที่คุณจะได้รับเมื่อเข้าร่วมโครงการ คือ ทักษะ ความรู้ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ประกอบด้วย problem-based learning และ project-based learning โดยมีการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้แบบกลุ่มและเฉพาะบุคคลเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด นอกเหนือจากกระบวนการแล้ว ยังมีการออกแบบเนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับบริบทสถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน อาทิ การออกแบบห้องเรียนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ การออกแบบเกมการเรียนรู้ จิตวิทยาเชิงบวกและการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่จะช่วยเสริมและค้นพบศักยภาพภายในตนเอง ซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้ในชั้นเรียนได้ รวมทั้งการมีชุมชนกัลยาณมิตรที่สนับสนุนการเติบโตและพัฒนาทั้งในมิติทางจิตใจและเชิงวิชาชีพ
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาศักยภาพครูให้มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Facilitation) ในรายวิชาที่ตนเองและ/หรือทีมรับผิดชอบอยู่ รวมทั้งขยายผลไปยังเพื่อนครูภายในพื้นที่การทำงานของตนเอง
- เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่หล่อเลี้ยงพลังใจเป็นกัลยาณมิตรเกื้อกูลต่อการเติบโต
การรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
1. กลุ่มเป้าหมาย:
กลุ่มครูแกนนำทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และผู้ที่ทำงานด้านสายการสอน ที่จะเป็นผู้บุกเบิกและมีความมุ่งมั่นในการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบ active learning หรือการสร้างชั้นเรียนที่มีความหมาย จำนวน 100 คน
2. สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ:
- ทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ เครื่องมือ สื่อการเรียนรู้ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในการทำงาน
- การสร้างสรรค์นวัตกรรม สื่อการเรียนรู้และการประเมินผลแบบใหม่ๆ ด้วยตนเอง
- การเข้าถึงระบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งรวบรวมความรู้ คลังข้อมูล ชุดกิจกรรมต่างๆ ที่นำไปปรับใช้ได้
- ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ร่วมสร้างชุมชนกัลยาณมิตรที่สนับสนุนการเติบโตและพัฒนาทั้งในมิติทางจิตใจและเชิงวิชาชีพร่วมกัน
- ประกาศนียบัตรจากโครงการฯ
- อนึ่ง หลักสูตรต่างๆ ที่เข้าร่วมตามโครงการนี้ ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ผู้เข้าร่วมสามารถนำชั่วโมงการเข้าร่วมไปนับเป็นชั่วโมงเพื่อประกอบการเลื่อนวิทยฐานะได้
โครงการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแก่ผู้เข้าร่วม ได้แก่ ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 4 โมดูล, ค่าตอบแทนวิทยากรและสื่อการเรียนรู้, ค่าสถานที่จัดอบรม ที่พัก (ยกเว้นโมดูล 2 รายวิชาเลือก) อาหารและเครื่องดื่มให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มูลค่ารวม 30,000 บาทต่อท่าน
3. ระยะเวลาในการรับสมัคร: ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563
4. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก: วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563
5. คุณสมบัติของผู้สมัคร:
- ครูรุ่นใหม่ซึ่งทำงานอยู่ในระบบการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และผู้ที่ทำงานด้านสายการสอน ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
- ได้รับการเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาตามสายงาน
- สามารถเข้าร่วมกิจกรรมใน ทุกโมดูล การเรียนรู้ตามที่ได้กำหนดไว้อย่างน้อย โมดูลละ 20 ชั่วโมง (รวมแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง)
- มีประสบการณ์ในการสอนอย่างน้อย 2 ปี
- หากสมัครมาเป็นกลุ่มโรงเรียนละ 3 – 5 คน หรือ ครูในเครือข่ายพื้นที่เดียวกัน 3 – 5 คน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
- ตั้งใจที่จะนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้จริงในชั้นเรียนและโรงเรียน
6. เงื่อนไขในการสมัคร:
หากท่านได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ ขอความร่วมมือให้ท่านชำระเงินประกันการเข้าร่วม เพื่อยืนยันการเข้าร่วมโครงการจำนวน 3,000 บาท ภายในวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ – วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 ซึ่งท่านจะได้รับเงินจำนวนนี้คืนเมื่อท่านเข้าร่วมโครงการฯ ครบทุกโมดูล เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง
7. เกณฑ์ในการคัดเลือก
ทางโครงการจะคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมโครงการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามที่โครงการกำหนด เป็นผู้ที่สนใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบถ้วน ทั้งนี้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกต้องดำเนินการขออนุมัติการเข้าร่วมจากต้นสังกัด และสนับสนุนค่าเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเอง ทางโครงการจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม (ค่าวิทยากร เอกสารประกอบ วัสดุอุปกรณ์) ค่าอาหาร สถานที่และที่พักในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่จัดกิจกรรมในโมดูล 1 โมดูล 3 และโมดูล 4
รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรม | วันเวลาที่กำหนด |
ประกาศรับสมัคร | 16 มกราคม – 14 กุมภาพันธ์ |
ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือก | 20 กุมภาพันธ์ |
ผู้ผ่านการคัดเลือกแจ้งยืนยันสิทธิ์และชำระเงินประกันการเข้าร่วม จำนวน 3,000 บาท | 20 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม |
โมดูล 1 : ครูคือมนุษย์ (20 ชั่วโมง) | 20 – 22 เมษายน |
โมดูล 2 : ตลาดวิชา เลือก 2 วิชาที่สนใจจาก 7 วิชา (20 ชั่วโมง) | พฤษภาคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – กันยายน |
โมดูล 3 : ครูคือกระบวนกร (20 ชั่วโมง) | 16 – 18 ตุลาคม |
โมดูล 4 : เวทีครูปล่อยแสง เวทีเสวนา Ed talk เผยแพร่ผลงานสานเครือข่าย (20 ชั่วโมง) | 27 – 29 พฤศจิกายน |
โมดูล 1 : ครูคือมนุษย์ สำรวจภูมิทัศน์ภายในของความเป็นครู จำนวน 20 ชั่วโมง
เพื่อสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจในตนเอง พื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การสร้างความรู้ของตนเอง คุณค่าความหมายของการเป็นครู
ระยะเวลา : ระหว่างวันจันทร์ที่ 20 – วันพุธที่ 22 เมษายน 2563
สถานที่ : โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/38zU7SI
โมดูล 2 : พัฒนาการเรียนรู้ (ตลาดวิชา) จำนวน 20 ชั่วโมง
ผู้เข้าร่วมจะเลือกเรียนในรายวิชาที่หลากหลายตามความสนใจ เพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ตามรายละเอียดที่โครงการกำหนด โดยต้องมีการเข้าร่วมอย่างน้อย 2 รายวิชา และมีจำนวนชั่วโมงสะสมอย่างน้อย 20 ชั่วโมง
ระยะเวลา : ระหว่างเดือน พฤษภาคม – กันยายน 2563
สถานที่ : คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
รายวิชาหลัก (เลือกได้ 2 วิชา)
ลำดับ | ชื่อวิชา | รับ | วิทยากร | กำหนด |
1 | การออกแบบห้องเรียนสร้างสรรค์ (Creative Learning Classroom) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2PFlq5q | 25 คน | คุณพฤหัส พหลกุลบุตร และทีมมะขามป้อม | 13 – 14 มิ.ย. 63 |
2 | ทักษะการโค้ชเพื่อครู (Coaching Skills for Teachers) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2QfqWNx | 25 คน | ดร.มณฑล สรไกรกิติกูลอ.อธิษฐาน์ คงทรัพย์อ.ไพลิน จิรชัยสกุล | 27 – 28มิ.ย. 63 |
3 | จิตวิทยาเชิงบวกและการเรียนรู้(Positive Psychology and Learning) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2LVxlea | 25 คน | นพ.พนม เกตุมานดร.สุรวิทย์ อัสสพันธุ์ | 4 – 5 ก.ค. 63 |
4 | การออกแบบประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ผ่านเกม (Game Design For Experiential Learning) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/35mycMT | 40 คน | ทีม Deschooling Game | 18 – 19 ก.ค. 63 |
5 | คิด/เห็น/เป็นภาพ (Visual Thinking) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2YV4ITE | 25 คน | คุณศุภวิชช์ สงวนคัมธรณ์ | 8 – 9 ส.ค. 63 |
6 | การประเมินเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Evaluation) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/36fboio | 40 คน | รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง | 29 – 30 ส.ค. 63 |
7 | เป็นครูคนใหม่ด้วยวิจัยในชั้นเรียน (To Be A Better Teacher by Conducting Classroom Action Research) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/35c27Xf | 25 คน | ผศ.ดร.สิทธิชัย วิชัยดิษฐ | 12 – 13 ก.ย. 63 |
รายวิชาเลือกเสรี (ตลาดวิชา)
ลำดับ | ชื่อวิชา | รับ | วิทยากร | กำหนด |
1 | นพลักษณ์เรียนรู้ตัวตน คนทำงานสอนอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/37sfAeP | 30 คน | อ.อธิษฐาน์ คงทรัพย์อ.ดร.ฐิติกาญจน์ อัศตรกุลอ.ดร.ลินดา เยห์อ.ดร.ปวีณา เเช่มช้อยอ.กานน คุมพ์ประพันธ์ | 11 – 12 ก.ค. 63 |
2 | เวทมนตร์คาถาในการสร้างการเรียนรู้ที่เปี่ยมความหมาย (Magical Classroom: meaningful learning) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2YVleTL | 30 คน | ดร.ปวีณา แช่มช้อยคุณกิตติรัตน์ ปลื้มจิตร | 1 – 2ส.ค. 63 |
3 | ทักษะการโค้ชเพื่อครู (Coaching Skills for Teachers) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/35hwlrQ | 30 คน | ดร.มณฑล สรไกรกิติกูลอ.อธิษฐาน์ คงทรัพย์อ.ไพลิน จิรชัยสกุล | 8 – 9 ส.ค. 63 |
4 | ห้องเรียนแห่งรัก: เครื่องมือการสะท้อนตนและสร้างสรรค์พื้นที่ของความสุข(Self-Reflection & Dialogue) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2EkMukY | 30 คน | คุณธนัญธร เปรมใจชื่น | 15 – 16 ส.ค. 63 |
5 | ครูกล้าแสดง (Actor Teachers) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2RUnLMv | 30 คน | ผศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ อ.คอลิด มิดำ | 22 – 23 ส.ค. 63 |
6 | คิด/เห็น/เป็นภาพ (Visual Thinking) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2YV4ITE | 30 คน | คุณศุภวิชช์ สงวนคัมธรณ์ | 5 – 6ก.ย. 63 |
7 | การออกแบบประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ผ่านเกม (Game Design For Experiential Learning) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/35mycMT | 30 คน | ทีม Deschooling Game | 19 – 20 ก.ย. 63 |
8 | ห้องเรียนแห่งการค้นพบ: ออกแบบการเรียนรู้ในความสนใจของผู้เรียนที่หลากหลายด้วย RBL อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2QdBNHP | 30 คน | ทีมสถาบันรามจิตติ | 26 – 27 ก.ย. 63 |
โมดูล 3 : ครูคือกระบวนกร จำนวน 20 ชั่วโมง
หลักพื้นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ รูปแบบของกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย
ระยะเวลา : ระหว่างวันศุกร์ที่ 16 – วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2563
สถานที่ : โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2ZInfD5
โมดูล 4 : ครูปล่อยแสง จำนวน 20 ชั่วโมง
นำเสนอผลงานการสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำ ผ่านการจัดนิทรรศการ เวทีเสวนา เวที EdTalk และการจัดกระบวนการเรียนรู้ในห้องย่อยโดยครูแกนนำรุ่น 2 สะท้อนการเรียนรู้ วางแผนต่อยอดขยายผลก่อการครูในพื้นที่ของตนเอง
ระยะเวลา : ระหว่างวันศุกร์ที่ 27 – วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2563
สถานที่ : คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2QicHrn
*** รวมจำนวนชั่วโมงที่ต้องเข้าร่วมอย่างน้อย 80 ชั่วโมง ***
ผู้ประสานงานโครงการก่อการครู
คุณจิตตมาศ จิระสถิตย์พร (ออม) โครงการก่อการครู คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121
- โทร 094-6852793
- อีเมล project.lsed@lsed.tu.ac.th
ภาคีเครือข่าย
- คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- โครงการผู้นำแห่งอนาคต
- มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม)
- Deschooling Game – ความสนุกปลุกการเรียนรู้
- inskru
- สถาบันรามจิตติ
- 7 Presents
- Blackbox