Korkankru

Reading Time: < 1 minutes บทสะท้อนการเรียนรู้งานเวทีเครือข่ายแสดงพลังสื่อสารสังคม โรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช Dec 28, 2022 < 1 min

แนวคิดโรงเรียนร่วมพัฒนา1 min read

Reading Time: < 1 minutes

ข้อเสนอแนะ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช

เป็น “ความจริง” ของระบบการศึกษาไทย ที่น่าเศร้าใจ และหากมองในมุมบวก ก็เป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องกระตุ้นการเปลี่ยนใหญ่ (transformation) ของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เพียงแต่ทำงานตามคำสั่งของหน่วยงานเหนือ ถูกสะท้อนผ่านภาพการได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รับคำสั่งที่ดี ไม่เป็น agency หรือผู้ที่ทำงานริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับการทำงานสร้างสรรค์ ในระบบที่ “สุดโหด” (wicked) อย่างระบบการศึกษา

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) เป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและบริษัท มูลนิธิ องค์กร หรือสถาบันที่สนับสนุนทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการบริหารให้กับสถานศึกษา โดยมีเป้าหมายพัฒนาใน 4 ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพครู การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และคุณภาพการบริหารจัดการ นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดในการพัฒนาสถานศึกษาที่มากกว่าการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่มุ่งขยายความหมายของสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทักษะ และคุณภาพชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมทั้งจากชุมชน โรงเรียน และเครือข่ายความร่วมมือ

 เวทีเครือข่ายแสดงพลังสื่อสารสังคม โรงเรียนร่วมพัฒนา จังหวัดพิจิตร ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิชให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาเรื่องภาคีร่วมพัฒนา ภายใต้แนวคิด 80 : 20

80 คือ ขบวนการร่วมพัฒนาในพื้นที่ อันได้แก่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน อปท. ธุรกิจเอกชนในพื้นที่ และเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันหนุนการพัฒนาโรงเรียน

20 คือ การสนับสนุนจากภายนอก อย่างที่มูลนิธิใจกระทิง และคณะวิทยาการเรียนรู้ฯ เข้าไปหนุน จะเห็นว่า น้ำหนักของ “ร่วมพัฒนา” ควรอยู่ในพื้นที่เองเป็นส่วนใหญ่

ซึ่งศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เสนอว่า กระทรวงศึกษาธิการ/สพฐ. เองควรเข้ามาร่วมเรียนรู้ และจับเอาข้อเรียนรู้ สำหรับนำไปพัฒนาระบบการจัดการของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้หนุนโรงเรียนในโครงการ ไม่ใช่การทำงานภายใต้ wrong mindset (มิจฉาทิฐิ) ของกระทรวงศึกษาธิการ นั่นคือหลงใช้การบริหารแบบควบคุม และสั่งการ มีผลให้ผู้ทำงานในระบบไม่กล้าคิดเอง และคิดเองไม่เป็น

โรงเรียนร่วมพัฒนาจึงกลายเป็น ‘โรงเรียนแยกกันพัฒนา’ หมายความว่ากระทรวงศึกษาธิการก็สั่งการไปตามสไตล์ของตน ภาคีร่วมพัฒนาก็ดำเนินการไปในอีกสไตล์หนึ่ง ทางโรงเรียนในโครงการก็ต้องเรียนรู้และปรับตัว ให้สามารถส่งมอบหลักฐานแสดง means ของการจัดการศึกษาที่ดีต่อต้นสังกัด โดยที่ทางกระทรวงหลงสรุปว่า เป็นหลักฐานว่าเด็กมีผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนด

เจตนาของศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ คือ ไปเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่ไปร่วม แล้วสะท้อนคิดออกมาสื่อสารต่อสังคม ว่าปัญหาระดับรากฐานของระบบการศึกษาไทยคืออะไรกันแน่ หรือความหมายที่แท้จริงคือ ต้อง transform กระทรวงศึกษาธิการ ?

Your email address will not be published.