ก่อการครู – Korkankru

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู     ทำความรู้จักกับ Visual Note หลายคนอาจคุ้นเคย เคยเห็น หรือ ไม่รู้จักกับ Visual Note ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งในศาสตร์ Visual Thinking มาก่อน วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักเเละฝึกทำ...

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์ โดย จุฑารัตน์ จอมเมืองบุตร เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? เป็นคำถามหรือคำกล่าวที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ เมื่อเรียนในชั้นสูงขึ้นคำถามนี้จะยิ่งมีมากขึ้น อันที่จริงแล้ววิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับมนุษย์เราเป็นอย่างมาก ช่วยให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียม...

หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะในโรงเรียนไทย ไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเต่ที่นี่เปลี่ยนมาเเล้วกว่า 2 ปี

  เมื่อต้องปรับเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะ เชื่อว่าทั้งคุณครูเเละผู้บริหารต่างก็มีความกังวลว่าในการปรับหลักสูตรครั้งนี้ต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง มีความยากง่ายเเละท้าทายเเค่ไหน เเละเเน่นอนว่าเมื่อปรับเเล้วเกิดผลอะไร วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักกับ โรงเรียนฐานสมรรถนะในบริบทของประเทศไทยกันบ้างไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเตที่มีเปลี่ยนเป็นฐานสมรรถนะมากว่า 2 ปีเเล้ว เเต่ละขั้นตอนการเปลี่ยนเเปลงเป็นอย่างไรบ้างจากการทำงานลงมือจริงหน้างานโดยผอ.วี หรือคุณปวีณา พุ่มพวง ที่จะมาฉายภาพการศึกษาฐานสมรรถนะในบริบทโรงเรียนไทยให้เรากัน   ก้าวเเรกสู่หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ     โรงเรียนวัดถนนกะเพรา โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง...

จิตวิทยาเชิงบวกกับการทบทวนจุดเเข็งของตัวเอง

จิตวิทยาเชิงบวก     ท่ามกลางความเหนื่อยล้าเเละวุ่นวายของสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีเเค่ไหนถ้าเรายังสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างเเข็งเเกร่งเเละเต็มไปด้วยอารมณ์เชิงบวก จิตวิทยาเชิงบวก เเนวคิดใหม่ของหลักจิตวิทยาที่หันมาให้ความสำคัญกับอารมณ์ด้านบวก และจุดแข็งของตนเองมากยิ่งขึ้น อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว” ถ้าใจเราเข้มเเข็งเเล้วล่ะก็การจะยิ้มสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตก็จะสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อการครูชวนมาทำความรู้จักกับจิตวิทยาเชิงบวกเเละพร้อมกับทบทวนจุดเเข็งของตัวเองผ่าน Toolkit จิตวิทยาเชิงบวกกัน จิตวิทยาเชิงบวกสร้างกันได้ง่ายนิดเดียว สำหรับใครที่ยังนึกภาพจิตวิทยาเชิงบวกไม่ชัดเจนนักตามไปอ่านกันได้ที่ ลิงก์ นี้เลย นอกจากจิตวิทยาเชิงบวกจะดีต่อใจเราเเล้ว การมีใจที่เข้มเเข็งเเละเปี่ยมไปด้วยพลังบวกยังส่งผลต่อคนรอบข้างได้อีกด้วยผ่านการกระตุ้น 3...

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม      ศราวุธ จอมนำ   มันฝรั่งล็อตใหญ่ถูกส่งไปยังโรงงานแห่งหนึ่ง มันแต่ละหัวถูกลำเลียงไปตามสายพาน เข้าสู่ขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยความเท่าเทียม ไม่มีลูกไหนได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งลำดับของการไปสู่แต่ละแผนก วิธีการที่ใช้ในแผนกนั้น ๆ ระยะเวลาในแผนกนั้น ๆ ด้วย...

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...

จัดการศึกษาฐานสมรรถนะอย่างไรให้สำเร็จ ผ่านเลนส์การศึกษานานาชาติ

จัดการศึกษาฐานสมรรถนะอย่างไรให้สำเร็จ ผ่านเลนส์การศึกษานานาชาติ   “การศึกษาฐานสมรรถนะ” คำยอดฮิตที่บรรดาคุณครู ผู้บริหาร หรือบุคคลากรในวงการการศึกษาต่างได้ยินกันจนติดหู เมื่อไทยกำลังจะปรับหลักสูตรเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะซึ่งเเน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มีทั้งกลุ่มคนที่เข้าใจเเละไม่เข้าใจในสิ่ง ๆ นี้ วันนี้ก่อการครูจะพาทุกคนมารู้จักกับหลักสูตรฐานสรรถนะในต่างประเทศกันบ้าง ในประเทศที่ว่ากันว่า “การศึกษาดี” พวกเขามีการจัดการศึกษาอย่างไร มีวิธีดูเเลหรือสร้างการเรียนรู้อย่างไรให้กับเยาวชนในประเทศ   ฟินเเลนด์ ประเทศที่การศึกษาดีที่สุดในโลก เนเธอร์เเลนด์ ประเทศที่เด็กมีความสุขมากที่สุดในโลก สิงคโปร์...

เมื่อประเมินกันที่ข้อสอบ เด็กชายขอบจึงต้องอยู่รอบนอกตลอดไป?

เมื่อประเมินกันที่ข้อสอบ เด็กชายขอบจึงต้องอยู่รอบนอกตลอดไป?   ประเด็นเรื่องคุณภาพของการศึกษาไทยคือเรื่องที่สังคมต้องนำกลับมาถกกันใหม่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะเมื่อใกล้ช่วงเวลาของการสอบใหญ่ระดับชาติ การสอบวัดผลในหลายสนามทั้งใหญ่และเล็กต่างบ่งชี้ให้เห็นถึงอนาคตที่เป็นไปได้ยากขึ้นสำหรับการเรียนต่อในระดับสูงเนื่องจากคะแนนกลายเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนพิเศษนอกห้องเรียนไปจนถึงเรียนล่วงหน้าจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับครอบครัวที่มีฐานะ อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นไม่ใช่ทุกครอบครัวจะสามารถเข้าถึงสถาบันเรียนพิเศษในปัจจุบันได้ทุกครอบครัวโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่างไกลเมืองใหญ่ที่อุดมไปด้วยแหล่งกวดวิชา   หากอ้างอิงข้อมูลการเติบโตของสถานศึกษากวดวิชาในระบบอย่างเป็นทางการตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจะพบว่ามีสถานศึกษากวดวิชาในปี 2556 จำนวน 2,342 แห่ง ขณะที่ในปี 2562 มีจำนวน 2,652 แห่ง ซึ่งมีเขตพื้นที่กรุงเทพมีอัตรากระจุกตัวเป็นอันดับหนึ่ง ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ...

ประเมินอย่างไรให้ได้สมรรถนะกับเครื่องมือ Rubrics

เราเรียนไปทำไม?  คำถามสุด classic ที่ตกเป็นประเด็นบ่อยครั้งกับการศึกษาที่ว่าสุดท้ายเเล้วผลลัพธ์ที่เราคาดหวังคืออะไร   การศึกษาที่ให้คุณค่าในตัวเลขมากกว่าการเรียนรู้ของเด็ก ? คะเเนน = การเรียนรู้ เราเองอาจคุ้นชินกับการตัดสินผลการเรียนรู้ผ่านตัวเลขเเละเกรด จนบางครั้งมันเเทบจะกลายเป็นหมุดหมายการเรียนที่ถูกให้ค่าเสียยิ่งกว่าการเรียนรู้จริง ๆ ที่เกิดขึ้นเสียอีก ด้วยปัจจัยหลากหลายที่ทำให้เกรด เข้ามามีส่วนสำคัญต่ออนาคตเเละส่งผลกระทบต่อการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือการหางานทำ เเต่สุดท้ายเเล้วการประเมินผลการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไรกันเเน่?   การประเมินฐานสมรรถนะ    [caption...

Grow Model เเผนที่การโค้ช

Grow Model เเผนที่การโค้ช      ทักษะการโค้ชเพื่อครูเป็นหนึ่งในบทเรียนตลาดวิชาของก่อการครู เพื่อช่วยเสริมทักษะพื้นฐานของการโค้ชให้แก่ครู  เพราะคุณครูไม่ได้มีหน้าที่เเค่บอกสอนให้เด็กทำตามแต่เพียงอย่างเดียว แต่ครูยังมีหน้าที่ฝึกให้เด็กคิดเป็น มีทักษะชีวิตที่จะรับผิดชอบต่อตนเอง มีทักษะการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะติดตัวเด็กไปจนโต  ครูที่มีทักษะการโค้ชจะช่วยสนับสนุนให้เด็กพัฒนาศักยภาพ และเรียนรู้ที่จะแสวงหาคำตอบและการตัดสินใจได้ด้วยตนเองผ่านการรับฟังและตั้งคำถามของครู  โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นที่กำลังค้นหาตนเอง ต้องการความเข้าใจ ความไว้วางใจและอยากได้ความมั่นใจจากผู้ใหญ่ว่าเขาคิดเองได้ การสั่งหรือบอกให้พวกเขาเชื่อฟังโดยไม่เปิดโอกาสให้ได้คิด ได้ตั้งคำถาม จึงอาจไม่ใช่ทางออกอีกต่อไป วันนี้ก่อการครูพาทุกคนมารู้จักกับเครื่องมือโค้ชชิ่ง...