Korkankru

บัวหลวงก่อการครู

ใกล้เกษียณ​ก็เปลี่ยนทัน ‘ธนาพร ก้อนทอง’ ครูวัย 56 ผู้พิสูจน์​ว่าไม้แก่ยังดัดได้

เป็นเวลา 31 ปีแล้วกับการเป็นครู  และเป็นเวลาอีกแค่ 4 ปี ที่เธอจะเกษียณจากการงานที่ทำมาทั้งชีวิต  ‘ก่อการครู’ คือชื่อโครงการที่เธอเห็นผ่านตาบ่อยครั้งบนโลกโซเชียล กระทั่งวันหนึ่ง จดหมายที่จ่าหน้าซองด้วยชื่อโครงการที่คุ้นตาก็ถูกส่งมาที่โรงเรียน แวบแรกคืออยากรู้อยากลอง แต่อีกวาบหนึ่งในความคิด เธอก็แสนเบื่อหน่ายกับการอบรมครูที่เคยผ่านมานับครั้งไม่ถ้วน  ชั่งใจได้สักพัก ครูเจี๊ยบ-ธนาพร ก้อนทอง โรงเรียนวัดบ้านกล้วย จังหวัดสระบุรี จึงเขียนจดหมายแนะนำตัวมายัง ‘ก่อการครู’ และเธอได้รับคัดเลือก  อบรมที่ไร้ปากกา สมุด หนังสือ  “สามวันสำหรับการอบรมมันนานมาก...

‘ตลาดวิชา’ ห้องเรียนกลางตลาดที่พาครูและเด็กออกไปเรียนรู้จากชีวิตจริง

“ฉันเรียนเรื่องนี้ไปทำไม” “ฉันเรียนเรื่องนี้แล้วจะเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร?” “ทำไมฉันต้องรู้เรื่องนี้” “ทำไม…” ย้อนไปในความทรงจำ ฉันและคุณล้วนผ่านห้องเรียนมามากหลายรูปแบบเมื่อครั้งเป็นนักเรียนวัยกระเตาะ บ้างก็เป็นห้องเรียนที่สนุกสนาน ได้ลงมือทำ และได้นำประสบการณ์มาเชื่อมโยงกับบทเรียน หรือบ้างก็เป็นห้องเรียนที่เราต่างหันหน้าเขาหากระดาน มือขวาถือปากกา ดวงตาจ้องเขม็งบนกระดาน หูก็ต้องคอยฟังเนื้อหาตามหนังสือ ขณะที่เสียงในหัวของเราก็อื้ออึงไปด้วยประโยคที่ว่า ‘ทำไมฉันต้องเรียนเรื่องนี้’ ‘ฉันจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรในชีวิตจริง’  คำถามเหล่านี้สะท้อนภาพเช่นไรในภูมิทัศน์ของการศึกษาไทย เราจึงชวน ครูเปี๊ยก-ดร.สิทธิชัย วิชัยดิษฐ อาจารย์คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในวิทยากรของโครงการก่อการครู...

ห้องเรียนที่สร้างสรรค์คือสวรรค์และแสงสว่าง

คนเป็นครูอย่าขโมยความคิดสร้างสรรค์ไปจากเด็ก ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้มัน เพื่อเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง หลายครั้งเรามักได้ยินสังคมพูดว่า “ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องพรสวรรค์ มันสอนกันไม่ได้” แต่แวดวงการศึกษาในปัจจุบันกลับเรียกร้องให้เด็กรุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ เรียกร้องให้เด็กต้องคิดสิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่รูปแบบการสอนและทรัพยากรที่จะทำให้เขาเติบโตกลับไม่เคยเปลี่ยนแปลง บทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จัก “การออกแบบห้องเรียนสร้างสรรค์” ที่จะช่วยผ่าทางตันของการศึกษาไทย โดย คุณพฤหัส พหลกุลบุตร หรืออาจารย์ก๋วย และคุณธนาวัฒน์ รายะนาคร ทีมกระบวนกรจากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) ภายใต้โครงการก่อการครู โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...

ถ้าหากครูมีเวทมนตร์ – เสกการเรียนรู้ที่มีความหมายสู่หัวใจของนักเรียน

ย้อนไปในความทรงจำ เราต่างมีครูอยู่บางประเภทที่ไม่ได้มีวิธีการสอนแปลกใหม่ ครูคนนั้นมีเทคนิคการสอนเรียบง่าย แต่ว่ากลับสามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของนักเรียนได้ไม่ยาก และนักเรียนก็รู้สึกว่าครูคนนี้มีบางสิ่งที่น่าประทับใจ เราจะรู้สึกปลอดภัยทุกครั้งเมื่อครูปรากฏอยู่ตรงหน้า ซึ่งในบทความชิ้นนี้ และในห้องเรียนที่เรากำลังจะพาทุกคนไปรู้จัก เราเรียกสิ่งนี้ว่า ‘เวทมนตร์ของครู’  ‘เวทมนตร์ในที่นี้ไม่ใช่มิติลี้ลับ’ แต่คือพลังในตัวครูที่ดำรงอยู่ และยังไม่ถูกรับรู้ว่าสิ่งนั้นคือเวทมนตร์ กระทั่งหลงลืมเวทมนตร์ที่ตนมี  เราจึงชวน ครูจ๊อย-ดร.ปวีณา แช่มช้อย อาจารย์คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการละครเพื่อการเรียนรู้และพิธีกรรมศึกษา และครูโจ้-กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร วิทยากรและกระบวนกรด้านการศึกษา มาพูดคุยในประเด็นที่ว่าด้วยการพัฒนาเวทมนตร์ในตัวครู...

Book of Shadow เขียนลงไปบนสมุดเงา เพื่อให้เรายอมรับเรื่องแย่ๆ ของตนเองบ้าง

การที่จะรักตัวเองไม่ได้หมายความว่า เรารักแค่ด้านดีของเราเท่านั้น แต่การรักตัวเองเราควรเปิดพื้นที่ที่จะรักทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ไม่ต่างกับการที่เรารักใครสักคน เราพร้อมที่จะรักเขาทั้งด้านดีและไม่ดี กิจกรรมหนึ่งในห้องเรียนแห่งรัก ที่จะทำให้เราได้ทำงานกับตัวเองคือ การทำ Book of Shadow หรือ สมุดเงา คุณอาจเคยได้ยินมาว่า สมุดเงานี้ใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลเวทย์มนตร์ของพวกแม่มดตามนิทานและเรื่องเล่าในสมัยก่อน หรือเป็นการเขียนไดอารีแบบที่เรามักถูกบังคับให้ทำตอนเด็กๆ  แต่ในห้องเรียนนี้ การเขียน Book of Shadow...

‘ครูคือมนุษย์’ สำรวจภูมิทัศน์ภายในของความเป็นครู เพื่อเข้าใจผู้คนที่อยู่รอบห้องเรียน

เมื่อการศึกษากลายเป็นความทุกข์ร่วมของชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเกิดความร่วมมือกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางศึกษาของ โรงเรียนประชารัฐ และการพัฒนาขับเคลื่อนโรงเรียนร่วมพัฒนาในโครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) หลังจากกิจกรรมทำความรู้จัก และจับคู่รับฟังที่มาของอาชีพครู และอาชีพครูมีคุณค่าต่อตัวเราและคนอื่นอย่างไร และจับกลุ่ม 4...

เมื่อการศึกษาเป็นความทุกข์ ก่อการครูจับมือธนาคารกรุงเทพ เปลี่ยนการศึกษาไทย

เมื่อการศึกษากลายเป็นความทุกข์ร่วมของชาติ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเกิดความร่วมมือกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางศึกษาของ โรงเรียนประชารัฐ และการพัฒนาขับเคลื่อนโรงเรียนร่วมพัฒนาในโครงการ "ก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้" และ โครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา" (Partnership School Project) รศ. เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี...