ก่อการครู – Korkankru

โรงเรียนปล่อยแสง

“เกม” เปลี่ยนห้องเรียน ชั่วโมงความสุขของนักเรียนและครูเก๋ โรงเรียนมักกะสันพิทยา

ร่วมเรียน ร่วมเล่น ในห้องเรียนวิชาเคมีของ ‘ครูเก๋’ สุดารัตน์ ประกอบมัย โรงเรียนมักกะสันพิทยา ที่เธอพัฒนาสื่อการสอนมาเป็นเครื่องมือเปลี่ยนกระบวนการในคาบเรียน เปิดพื้นที่ให้นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้อย่างมีความสุข ได้ทั้งความรู้ ความสนุก ความเข้าใจในตนเองและผู้อื่น “เดินสามช่อง ไป H ไฮโดรเจน!”“ติ๊ง~” เสียงกดกระดิ่งดังขึ้น นักเรียนนั่งล้อมวงเป็นกลุ่มเล็กๆ ทอยลูกเต๋า เดินหมาก จั่วการ์ดสีสันสดใส...

“โรงเรียนปล่อยเเสง” ปลุกความรู้สู่โอกาสร่วมสร้างนิเวศการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ

“โรงเรียนปล่อยเเสง” ปลุกความรู้สู่โอกาสร่วมสร้างนิเวศการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ หากพูดถึงคำว่า “ระบบการศึกษา” ภาพเเรกที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้นโรงเรียน สถานที่บ่มเพาะความรู้ที่เด็ก ๆ ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับนิเวศนี้ เเต่หากจะขับเคลื่อนเเละพัฒนาการศึกษาให้ดีได้นั้นอาจพูดได้ว่าเเค่ลำพังโรงเรียนเองอาจไม่พอ ด้วยคนหลายกลุ่ม องค์กรหลายองค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับระบบการศึกษาในขณะเดียวกันที่การศึกษาเองก็ส่งผลต่อระบบเเละประชากรของประเทศมากมาย การศึกษาจึงไม่ใช่เเค่เพียงเรื่องของโรงเรียนเเต่มีหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานเอกชนก็เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทยกันมากขึ้่น TCP บริษัทเครื่องดื่มชั้นนำระดับประเทศกับบทบาทในการขับเคลื่อนการศึกษา บริษัทที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรมจำกัด (กลุ่มธุรกิจ TCP) หรือที่หลายคนอาจรู้จักกันในนามบริษัทกระทิงเเดงเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนการศึกษาภายใต้หมุดหมายหลักคือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา...

หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะในโรงเรียนไทย ไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเต่ที่นี่เปลี่ยนมาเเล้วกว่า 2 ปี

  เมื่อต้องปรับเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะ เชื่อว่าทั้งคุณครูเเละผู้บริหารต่างก็มีความกังวลว่าในการปรับหลักสูตรครั้งนี้ต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง มีความยากง่ายเเละท้าทายเเค่ไหน เเละเเน่นอนว่าเมื่อปรับเเล้วเกิดผลอะไร วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักกับ โรงเรียนฐานสมรรถนะในบริบทของประเทศไทยกันบ้างไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเตที่มีเปลี่ยนเป็นฐานสมรรถนะมากว่า 2 ปีเเล้ว เเต่ละขั้นตอนการเปลี่ยนเเปลงเป็นอย่างไรบ้างจากการทำงานลงมือจริงหน้างานโดยผอ.วี หรือคุณปวีณา พุ่มพวง ที่จะมาฉายภาพการศึกษาฐานสมรรถนะในบริบทโรงเรียนไทยให้เรากัน   ก้าวเเรกสู่หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ     โรงเรียนวัดถนนกะเพรา โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง...

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม      ศราวุธ จอมนำ   มันฝรั่งล็อตใหญ่ถูกส่งไปยังโรงงานแห่งหนึ่ง มันแต่ละหัวถูกลำเลียงไปตามสายพาน เข้าสู่ขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยความเท่าเทียม ไม่มีลูกไหนได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งลำดับของการไปสู่แต่ละแผนก วิธีการที่ใช้ในแผนกนั้น ๆ ระยะเวลาในแผนกนั้น ๆ ด้วย...

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...