ก่อการครู – Korkankru

Featured

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Duis sed ornare turpis. Mauris libero elit, pretium nec felis vel, placerat molestie ex. Fusce vel est quis lacus porttitor dictum a eget eros.

มหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon

.............ก่อการครู ชวนทำภารกิจพิชิตดวงจันทร์กับมหา’ลัยไทบ้าน ปี 2 #Mission To The Moon การศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและปลดแอกการเรียนรู้จากรั้วโรงเรียนสู่การเรียนรู้จากชุมชน ผ่านอัลบั้มภาพชุด “Mission To The Moon : ภารกิจเที่ยว ทำ เล่น เรียน รู้...

รายงานการสังเคราะห์โครงการวิจัยมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

รายงานการสังเคราะห์ภาพรวมมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย มีเป้าหมายที่จะสังเคราะห์ข้อค้นพบจากชุดโครงการวิจัยการสำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการทางศึกษาในสังคมไทย 5 โครงการ ที่ประกอบด้วย “ทักษะแห่งศตวรรษที่21” “เพศ” “ความเสมอภาคทางการศึกษา” “ความสำเร็จของผู้เรียน” และ “การจัดการในชั้นเรียนและการลงโทษ” โดยมุ่งเน้นไปที่การสำรวจชุดความคิด ความเชื่อ และคุณค่าที่ประกอบสร้างขึ้นเป็นมายาคติทางการศึกษาในด้านต่างๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อการกำกับและควบคุมความคิด ความรู้สึก ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในระบบนิเวศการศึกษา รวมทั้งศึกษาประสบการณ์และความคิดเห็นของนักเรียนและครูอาจารย์ที่มีต่อประเด็นทางการศึกษาในด้านต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของการยึดถือหรือการต่อต้านวาทกรรมต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของปัจเจกบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม        ...

ภัสรัญ สระทองนวล: “วิชาใจ สำคัญไม่น้อยกว่าวิชาการ”

เริ่มต้นจากการเป็นครูแนะแนวไฟแรง งัดทุกกลวิชามาถ่ายทอดสู่นักเรียน เป็นครูที่เด็กๆ วิ่งเข้าหา ด้วยท่าทีเป็นกันเอง เปิดเผย รับฟัง  ทำให้ในเวลาไม่นานนัก ครูแก้ว - ภัสรัญ สระทองนวล ครูแนะแนวแห่งโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ก็กลายเป็นขวัญใจของเด็กๆ โดยปริยาย งานสอนไม่บกพร่อง งานกิจกรรมก็ไม่แพ้กัน  ครูแก้วปลุกปั้นทีมวอลเล่ย์บอลโรงเรียนในฐานะโค้ชครั้งแรก ก็หอบรางวัลที่ 3 ของจังหวัดมาประดับโรงเรียน...

กริยาสามช่องของการศึกษา: อดีตที่เคยชิน ปัจจุบันอันเจ็บปวด และอนาคตที่ใฝ่ฝัน

กล่าวกันอย่างถึงที่สุด ‘ครู’ ไม่ใช่อาชีพอันพึงปรารถนาในประเทศนี้อีกต่อไปแล้ว นับกันแค่ช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา พาดหัวข่าว ‘ครูประกาศลาออก’ ปรากฏขึ้นเป็นระยะๆ การลาออกไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เหตุผลของการเลือกที่จะลาออกจากอาชีพที่ใครหลายคนบากบั่นร่ำเรียนมาถึง 4 ปี หรือมากกว่านั้นนี่สิน่าสนใจ ว่านอกจากจะสะท้อนโครงสร้างของระบบการศึกษาของประเทศได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ไปจนถึงทำนายอนาคตของประเทศจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่น้อยก็มาก ‘ภาระงานของครูที่มากเกินไป, ค่าตอบแทนที่น้อยเกินไป, ระบบที่ขาดความเข้าใจในสิทธิและสวัสดิภาพในการทำงาน, ครูถูกผลักให้ต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้น, อำนาจรวมศูนย์ โรงเรียนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ,...

ห้องเรียนอนุบาลของครูต้าร์ “วิชาอะไรก็ได้ เด็กสนใจอะไรก็เรียนสิ่งนั้นแหละ”

ในห้องเรียนของคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาปฐมวัย ‘ต้าร์’ คือ 1 ใน 7 ของชายหนุ่มที่เลือกเรียนสาขานี้ ทุกคนในห้องมองว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะส่วนใหญ่แล้ว ‘ครูอนุบาล’ มักเป็นผู้หญิงเสียส่วนมาก เขาจึงถูกถามอยู่เป็นประจำว่าทำไมถึงเลือกเรียนเป็นครูอนุบาล ชายหนุ่มเล่าว่า ใจจริงอยากเรียนศาสตร์ของสถาปัตยกรรม แต่เพราะพิษเศรษฐกิจ ครอบครัวจึงสนับสนุนให้เขาเลือกรับราชการที่ดูจะมั่นคง เขาจึงเลือกเป็นครูปฐมวัยจวบจนถึงปัจจุบัน ชั่วโมงบินในอาชีพนี้ของเขาเดินทางมาถึงปีที่ 5 แล้ว...

เราอยู่ในสังคมเหลื่อมล้ำที่เรียกร้องพลังของ ‘การนำร่วม’ มากกว่าฮีโร่

ทุกปัญญาในสังคมล้วนโยงใยซึ่งกันและกันดั่งตาข่าย สังคมไม่อาจเดินหน้าไปได้หากปัญหาของการศึกษายังไม่ถูกแก้ไข การศึกษาไม่อาจดีขึ้นได้ หากความเหลื่อมล้ำยังถ่างกว้าง ปากท้องของผู้คนไม่อาจอิ่มได้ หากโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี มีที่ว่างให้ผู้คนเพียงหยิบมือ ชุมชนไม่อาจแข็งแรงได้ หากการกระจายอำนาจเป็นเพียงภาพฝัน  ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างยืนอยู่ท่ามกลางสังคมที่รายล้อมด้วยปัญหาทุกมิติ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำของสังคม ฯลฯ  ขณะนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตั้งคำถามต่อปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา  ผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ สังคมดีกว่านี้ได้ และเราต่างเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้น...

'ปฐมบท' ใต้พรมแห่งความดีงาม : สำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

เมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’  ‘ปฏิรูปการศึกษา’ วาทกรรมคุ้นหูที่วนเวียนหลอกหลอนเราและผู้คนที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ ปรากฏการณ์ความล้มเหลวทางการศึกษาปรากฏชัดให้เราเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนบนหน้าข่าวของสื่อทุกสำนักแทบจะทุกวัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงบนหนทางการวิวัฒน์ไปข้างหน้า ขานไปกับเส้นเวลาที่ไม่อาจถอยหลังกลับ แต่เพราะเหตุใดการศึกษาไทยกลับก้าวถอยหลังสวนทางกับนานาประเทศในสังคมโลก ปรากฏการณ์การศึกษาคือภาพสะท้อนสภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธ การศึกษาเป็นเช่นใดก็สร้างสังคมเช่นนั้น หรือเพราะสภาพสังคมเป็นเช่นใดก็จะสร้างการศึกษาเช่นนั้น ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งสอดคล้องบรรสานกันอย่างแนบแน่นดุจคำถามโลกแตก ‘ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน’ นโยบายการศึกษารายวันถูกผลิตขึ้นจากผู้กำหนดนโยบายที่หวังว่าการสร้างนโยบายเหล่านั้นจะเป็น ‘วัคซีน’ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคระบาด โดยที่ไม่เคยคำนึงว่า เรายังไม่เคยวินิจฉัยโรคอย่างถึงแก่น เพียงแค่นำเข้าเทคโนโลยีที่อาจใช้ได้ผลในประเทศอื่น ๆ โดยไม่ศึกษาบริบทของปัญหาและสภาพแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะที่อาจมีวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดได้มากกว่า แต่เราจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’ ...