Korkankru

บทความ / บทสัมภาษณ์

“เพราะความฮู้มีอยู่สุเเก” | รู้จัก มหา’ลัยไทบ้าน #เรียนรู้ดูทำ

การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนได้บ้าง? ในยุคที่การศึกษาเปลี่ยนผันตามความเปลี่ยนแปลง โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในระบบปัจจุบัน อัดฉีดความรู้ได้เพียงพอไหม “ความฮู้มีอยู่สุเเก” เสียงนักเรียนรู้ ‘มหาลัยไทบ้าน’ ดังก้อง สื่อความภาษาอีสานเป็นคำตอบบนความเชื่อว่า “ความรู้มีอยู่ทุกที่” และตอนนี้พวกเขาได้สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อแชร์ภาพฝันให้ชัดเจนขึ้นใน อ.สีชมพู อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น และ อ.ภูกระดึง จ.เลย The Active x ก่อการครู ชวนทำความรู้จัก ‘มหาลัยไทบ้าน’ เพื่อขยายความคำตอบจากหลักสูตรการศึกษาที่หาไม่ได้จากมหาวิทยาลัยในระบบ ผ่านอัลบั้มภาพชุด “เพราะความฮู้มีอยู่สุเเก : รู้จักมหา’ลัยไทบ้าน เรียนรู้ดูทำ” รวมเรื่องราวให้ร่วมเรียนรู้เหมือนเข้าไปอยู่ด้วยกัน รับน้องใหม่ มหา’ลัยไทบ้าน ในวันหยุดยาวต้นธันวาคม 2564 ลมหนาวภาคอีสานกระหน่ำพัดให้ชวนขนลุกเป็นระยะ ความอบอุ่นค่อย ๆ ยังขึ้นในช่วงสายจากแสงแดดและผู้คนที่เดินทางมาพบกัน เราอยู่ที่ ‘ยายตา at home’ โฮมสเตย์ใน ต.ดงลาน อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ของคนรุ่นใหม่ที่หวนกลับบ้านมาทำให้ทุ่งนาธรรมดาไกลเมืองของคนรุ่นพ่อแม่ กลายเป็นจุดเช็กอินของคนรุ่นตัวเอง ด้วยการขยับขยายจากบ้านรับแขกเป็นบ้านพักนักท่องเที่ยวซึ่งโปรโมทกันภายใต้ชื่อ “เที่ยววิถีสีชมพู” การท่องเที่ยวโดยชุมชนจากพลังหนุ่มสาวคืนถิ่นที่ช่วยกันทำ 2 ปีมานี้ วันนี้ ‘ยายตา at home’ เป็นหมุดหมายของนักเรียนรู้ที่สมัครเข้าเรียน ‘มหาลัยไทบ้าน’ ปี 1 ลานโล่งด้านหน้าโฮมสเตย์ มีนิทรรศการและผลงานศิลปะฝีมือพวกเขาบางส่วนวางจัดแสดง ฉายให้เห็นที่เที่ยวและบ่งบอกเชิงสัญลักษณ์เรื่องการศึกษา หลังจากเมื่อเมษายนที่ผ่านมา ‘ยายตา at home’ ได้รวมผู้คนซึ่งใช้ชื่อว่า “ก่อการครู 3 ภูพลัส” ทำภารกิจสร้างครูเป็นตัวคูณเคลื่อนสังคมผ่านแนวคิดขยายพื้นที่การเรียนรู้จากห้องเรียนไปสู่ชุมชน ทำความรู้จัก “ก่อการครู 3 ภูพลัส” บทที่ 1 ไทมุง ความสัมพันธ์ “ต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การเปิดมหาลัยของพวกเราอย่างเป็นทางการ การมาของพวกท่านวันนี้มีความหมายมาก เพราะถือว่ามาเป็นประจักษ์พยานในการริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ด้วยกัน เราเชื่อเรื่องการศึกษาว่าทุกคนสามารถมีอำนาจลุกขึ้นมาทำอะไรสร้างสรรค์ในบ้านตัวเองได้ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาเพื่อความเป็นไท”...

การศึกษาความเป็น “ไท” โดยเหล่าครูก่อการและหนุ่มสาวไทบ้าน

“การศึกษา” ที่เราเชื่อ คือ “การศึกษา” ที่ทำให้เรามีทักษะและความรู้ สามารถทำให้เราอยู่รอดได้ แล้วต้องทำให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสันติสุข มากกว่านั้นคือ อยู่อย่างมีความหมาย อยู่อย่างสร้างสรรค์ มีส่วนร่วม กล้าที่จะตั้งคำถามกับปัญหาที่พบเจอ กล้าที่จะลงมือทำ กล้าที่จะแตกต่าง กล้าที่นำ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อส่วนรวม ปัจจัยที่จะทำให้ภาพของ “การศึกษา” ที่เราเชื่อเกิดขึ้นได้ เริ่มต้นจากทัศนคติที่มองเห็นระบบนิเวศของการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม ไม่ได้แยกส่วนจากกันเหมือนกับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่ยังขาดการบูรณการ ตั้งแต่โครงสร้างที่แยกเป็นวิชา แยกเป็นชั้นเรียน แยกระดับการเรียนเป็นเกรด ประเมินการเรียนรู้หรือศักยภาพผู้เรียนที่ถูกตัดสินจากมุมมองหรือหลักเกณฑ์ที่ไม่หลากหลาย...

ก่อการครูอีสาน : สานเครือข่าย สร้างการเฮียนฮู้

“ก่อการครูอีสาน” คือ ขบวนการของเครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาในพื้นที่ภาคอีสาน โดยความร่วมมือของเครือข่ายครูแกนนำจากจังหวัดต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งได้วางแผนการขับเคลื่อนร่วมกันตั้งแต่ เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร (Training of the Trainers) โมดูล 1 ที่ผ่านมา ขณะนี้ความเคลื่อนไหวของขบวนการดังกล่าวได้เริ่มปรากฏให้เห็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในพื้นที่อีสาน ด้วยความหวังว่าพวกเขาจะร่วมกันสร้างเส้นทางการเรียนรู้ที่มีความหมายโดยครูอีสานเพื่อลูกหลานอีสานอย่างแท้จริง ก่อการครูกาฬสินธุ์ : ความเป็นไปได้ใหม่ที่ทลายกรอบเดิม เมื่อวันเสาร์ที่...

เรียนไปทำไม ตายไปก็ลืม

เรื่อง/ภาพ: สัญญา มัครินทร์ "เรียนไปทำไม ตายไปก็ลืม" คือข้อความ ที่ถูกเขียนบนไวท์บอร์ด หลังจากที่ผมชวนนักเรียน ช่วยกันทำความสะอาด และลบกระดานก่อนเริ่มเรียนไปก่อนหน้านี้แล้ว “ครูครับ ไอ้…มันเขียนครับ อุตส่าห์ลบเกลี้ยงแล้วแหม่” เสียงบ่นจากนักเรียนคนหนึ่ง “เฮ้ย! ดีแล้วๆ เอาไว้นั้นแหละ เดี๋ยวบ่ายนี้ เราเปิดประเด็นคุยจากประโยคนี้กัน” ครูตอบนักเรียน ในใจคิดว่าต่อไปจะเจออะไรก็ไม่รู้...

Book of Shadow เขียนลงไปบนสมุดเงา เพื่อให้เรายอมรับเรื่องแย่ๆ ของตนเองบ้าง

การที่จะรักตัวเองไม่ได้หมายความว่า เรารักแค่ด้านดีของเราเท่านั้น แต่การรักตัวเองเราควรเปิดพื้นที่ที่จะรักทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ไม่ต่างกับการที่เรารักใครสักคน เราพร้อมที่จะรักเขาทั้งด้านดีและไม่ดี กิจกรรมหนึ่งในห้องเรียนแห่งรัก ที่จะทำให้เราได้ทำงานกับตัวเองคือ การทำ Book of Shadow หรือ สมุดเงา คุณอาจเคยได้ยินมาว่า สมุดเงานี้ใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลเวทย์มนตร์ของพวกแม่มดตามนิทานและเรื่องเล่าในสมัยก่อน หรือเป็นการเขียนไดอารีแบบที่เรามักถูกบังคับให้ทำตอนเด็กๆ  แต่ในห้องเรียนนี้ การเขียน Book of Shadow...