ก่อการครู – Korkankru

The active

‘มหาลัยนัยหลืบ’ หลักสูตรของเด็กช่างฝัน

“หมุนวงล้อการเรียนรู้ กับ ครูสายปั่น” บทที่ 2 เรื่องเล่าจากการเดินทางของเราครั้งนี้ เป็นช่วงเวลาที่ผมและทีมงานก่อการครูได้ขับเคลื่อนกิจกรรมรถพุ่มพวง ชวนเรียนรู้ ณ กาฬสินธุ์ ทดลองให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านบริบทชุมชนของตนเอง แล้วให้ผู้เรียนค้นหาประเด็นที่พวกเขาสนใจในชุมชน จำได้ว่ามีนักเรียน ม.ปลาย คนหนึ่ง สนใจเรื่อง ดินธรรมดา ๆ แต่มาถึงตอนนี้ ดินในวันนั้นได้เปลี่ยนคน ๆ หนึ่ง ไปไกลกว่าที่ผมคิด...

“เพราะความฮู้มีอยู่สุเเก” | รู้จัก มหา’ลัยไทบ้าน #เรียนรู้ดูทำ

การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนได้บ้าง? ในยุคที่การศึกษาเปลี่ยนผันตามความเปลี่ยนแปลง โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในระบบปัจจุบัน อัดฉีดความรู้ได้เพียงพอไหม “ความฮู้มีอยู่สุเเก” เสียงนักเรียนรู้ ‘มหาลัยไทบ้าน’ ดังก้อง สื่อความภาษาอีสานเป็นคำตอบบนความเชื่อว่า “ความรู้มีอยู่ทุกที่” และตอนนี้พวกเขาได้สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อแชร์ภาพฝันให้ชัดเจนขึ้นใน อ.สีชมพู อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น และ อ.ภูกระดึง จ.เลย The Active x ก่อการครู ชวนทำความรู้จัก ‘มหาลัยไทบ้าน’ เพื่อขยายความคำตอบจากหลักสูตรการศึกษาที่หาไม่ได้จากมหาวิทยาลัยในระบบ ผ่านอัลบั้มภาพชุด “เพราะความฮู้มีอยู่สุเเก : รู้จักมหา’ลัยไทบ้าน เรียนรู้ดูทำ” รวมเรื่องราวให้ร่วมเรียนรู้เหมือนเข้าไปอยู่ด้วยกัน รับน้องใหม่ มหา’ลัยไทบ้าน ในวันหยุดยาวต้นธันวาคม 2564 ลมหนาวภาคอีสานกระหน่ำพัดให้ชวนขนลุกเป็นระยะ ความอบอุ่นค่อย ๆ ยังขึ้นในช่วงสายจากแสงแดดและผู้คนที่เดินทางมาพบกัน เราอยู่ที่ ‘ยายตา at home’ โฮมสเตย์ใน ต.ดงลาน อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ของคนรุ่นใหม่ที่หวนกลับบ้านมาทำให้ทุ่งนาธรรมดาไกลเมืองของคนรุ่นพ่อแม่ กลายเป็นจุดเช็กอินของคนรุ่นตัวเอง ด้วยการขยับขยายจากบ้านรับแขกเป็นบ้านพักนักท่องเที่ยวซึ่งโปรโมทกันภายใต้ชื่อ “เที่ยววิถีสีชมพู” การท่องเที่ยวโดยชุมชนจากพลังหนุ่มสาวคืนถิ่นที่ช่วยกันทำ 2 ปีมานี้ วันนี้ ‘ยายตา at home’ เป็นหมุดหมายของนักเรียนรู้ที่สมัครเข้าเรียน ‘มหาลัยไทบ้าน’ ปี 1 ลานโล่งด้านหน้าโฮมสเตย์ มีนิทรรศการและผลงานศิลปะฝีมือพวกเขาบางส่วนวางจัดแสดง ฉายให้เห็นที่เที่ยวและบ่งบอกเชิงสัญลักษณ์เรื่องการศึกษา หลังจากเมื่อเมษายนที่ผ่านมา ‘ยายตา at home’ ได้รวมผู้คนซึ่งใช้ชื่อว่า “ก่อการครู 3 ภูพลัส” ทำภารกิจสร้างครูเป็นตัวคูณเคลื่อนสังคมผ่านแนวคิดขยายพื้นที่การเรียนรู้จากห้องเรียนไปสู่ชุมชน ทำความรู้จัก “ก่อการครู 3 ภูพลัส” บทที่ 1 ไทมุง ความสัมพันธ์ “ต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การเปิดมหาลัยของพวกเราอย่างเป็นทางการ การมาของพวกท่านวันนี้มีความหมายมาก เพราะถือว่ามาเป็นประจักษ์พยานในการริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ด้วยกัน เราเชื่อเรื่องการศึกษาว่าทุกคนสามารถมีอำนาจลุกขึ้นมาทำอะไรสร้างสรรค์ในบ้านตัวเองได้ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาเพื่อความเป็นไท”...

ครูก่อการปั่น สังเกตกายใจ เห็นอะไรที่ซ่อนอยู่

“หมุนวงล้อการเรียนรู้ กับ ครูสายปั่น” บทที่ 1 ถ้าพูดถึง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผมคิดว่าหลาย ๆ คน คงจะนึกถึงกิจกรรมที่มีอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ แล้ว ปั่นจักรยาน มันเป็นกิจกรรมส่วนไหนของการศึกษาในระบบ มีอะไรซ่อนอยู่ ผมขอชวนผู้อ่านจินตนาการว่ากำลังนั่งบนเบาะ แล้วปั่นจักรยานไปพร้อมกับเรา “จักรยาน” กิจกรรมทางเลือกโรงเรียนในระบบ   สวัสดีครับ ผม ครูตู้...

“กาฬสินธุ์ศึกษา” ปลายฝันชุมชนแห่งการเรียนรู้

“ครู” ที่อยากเชื่อมโยงทรัพยากรเข้ากับชีวิตผู้เรียน มีคนกล่าวว่า “กาฬสินธุ์นี้ดินดำน้ำซุ่ม” ออกเสียงสำเนียงอีสาน สื่อถึงชื่อเสียงเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งยึดเกี่ยวไว้กับอาชีพเกษตรกรรมและการประมงพื้นบ้านของผู้คนที่มีมานาน ถึงแม้ในบริบทความเป็นชุมชน “ดินดำ น้ำซุ่ม” จะมีเรื่องราวของความร่มเย็น แต่หากมองไปยังความภาคภูมิใจของคนแถบนี้ อาจจัดได้ว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยมองเห็นศักยภาพ และความง่ายงามของทรัพยากรที่พวกเขามี สำหรับ ครูสราวุฒิ พลตื้อ หรือ ครูตู้ ผู้มีบุคลิกไม่ยอมหยุดนิ่งกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ย่อมอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านเครื่องมือที่เขาถนัด นั่นคือ “การศึกษา” ก้าวครูกล้าเปลี่ยน หากเจอนอกรั้วโรงเรียนก็อาจจะแยกได้ยากว่าชายคนนี้มีอาชีพอะไร ในบรรยากาศทั่วไปเขามักสวมเสื้อยืดธรรมดา ไม่ก็เสื้อเชิ้ตแขนยาวเรียบง่ายในกิจกรรมที่ต้องพบปะผู้คน เป็นคนพูดคุยด้วยคำที่มีแง่คิดราวกับเคยเป็นนักบวช เราอาจทายว่าเขาคือศิลปิน แต่จริง...

การศึกษาความเป็น “ไท” โดยเหล่าครูก่อการและหนุ่มสาวไทบ้าน

“การศึกษา” ที่เราเชื่อ คือ “การศึกษา” ที่ทำให้เรามีทักษะและความรู้ สามารถทำให้เราอยู่รอดได้ แล้วต้องทำให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสันติสุข มากกว่านั้นคือ อยู่อย่างมีความหมาย อยู่อย่างสร้างสรรค์ มีส่วนร่วม กล้าที่จะตั้งคำถามกับปัญหาที่พบเจอ กล้าที่จะลงมือทำ กล้าที่จะแตกต่าง กล้าที่นำ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อส่วนรวม ปัจจัยที่จะทำให้ภาพของ “การศึกษา” ที่เราเชื่อเกิดขึ้นได้ เริ่มต้นจากทัศนคติที่มองเห็นระบบนิเวศของการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม ไม่ได้แยกส่วนจากกันเหมือนกับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่ยังขาดการบูรณการ ตั้งแต่โครงสร้างที่แยกเป็นวิชา แยกเป็นชั้นเรียน แยกระดับการเรียนเป็นเกรด ประเมินการเรียนรู้หรือศักยภาพผู้เรียนที่ถูกตัดสินจากมุมมองหรือหลักเกณฑ์ที่ไม่หลากหลาย...

More Than Art อำนาจของศิลปะ และธรรมชาติ

หลังจากเราขึ้นเขา ลุยป่ากันมาหลายสัปดาห์ “ห้องเรียนและธรรมชาติ” ครั้งนี้ เลยปรับให้เบา และโหดน้อยลงกว่าทุกครั้ง แม้จะเป็นช่วงหน้าฝน แต่สภาพอากาศช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ฝนทิ้งช่วงห่างไปหลายวัน ความร้อนอบอ้าว ทำให้เราต้องหาพื้นที่เย็น ๆ ธรรมชาติสีเขียว ผ่อนคลาย หายร้อน คลายเครียดจากการเรียนออนไลน์ และช่วยเกาะเกี่ยวนักเรียนที่ไม่ชอบออนไลน์ให้ได้ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือช่วยเยียวยาตัวครูเอง และนักเรียนของเรา “ลำน้ำพอง” คือห้องเรียนธรรมชาติของพวกเรา โดยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ มีรองผู้อำนวยการต่างโรงเรียน...

ภูเขาหลังบ้าน ใกล้เเค่ไหน ก็ไม่เคยไปถึง

  “การเรียนรู้ คือ ชีวิต”  และ “ชีวิต คือการเรียนรู้” ครูสอยอ | สัญญา มัครินทร์   แล้วธรรมชาติของมนุษย์เรา เรียนรู้ไปทำไม? เรียนรู้กันอย่างไร? และเรียนรู้อะไรกัน? ที่จะทำให้ชีวิตเรา อยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย มันมีปรัชญาการศึกษา...