Korkankru

บทความ / บทสัมภาษณ์

‘มะขามป้อมอาร์ตสเปซ’ ข้ามขอบการศึกษา สู่ความเป็นไปได้ของการเรียนรู้

“มนุษย์มีตั้งกี่ล้านคน คุณจะให้เด็กแต่งตัวเหมือนกัน ไปเรียนแบบเดียวกัน มีสายวิทย์ มีสายศิลป์ หรือมีแค่ 4-5 โปรแกรมในระบบโรงเรียนให้เลือกเท่านั้นหรือ ? “ความแตกต่าง ความชอบ และลักษณะของเด็กไม่เหมือนกัน คุณเปิดไปเลยอีกร้อยพันโมเดล อยู่ที่ว่าเด็กจะไปเลือกอะไร เหมาะกับจริตแบบไหน จะเรียนกึ่งโรงเรียน ครึ่งหนึ่งออกมาเรียนข้างนอก จะเรียนข้างนอกไปเลย หรือจะเรียนในโรงเรียนอย่างเดียว มันก็ไม่แปลกอะไร” เช่นเดียวกับกระแสน้ำที่มีสายธารหลักในการหล่อเลี้ยงชีวิต...

‘เรียนในโลกแห่งความจริง’ ชุมชนคือโรงเรียน ส่วนนักเรียนคือทุกคน

การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการหาความรู้และความหมายด้วยตนเอง โดยมี ‘ครู’ ทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความใคร่รู้ และเป็นผู้ชี้แนะในระหว่างเรียน ซึ่งต่างจากครูในคราบของการศึกษาแบบเดิม ที่ครอบงำและถ่ายทอดความรู้ทางเดียว ด้วยอำนาจและวาทกรรมของการเป็น ‘ผู้ให้’ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับห้องเรียนที่ต่างออกไปจากความคุ้นชิน นั่นคือ ‘การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน’ หรือการเรียนจาก ‘โลกแห่งความจริง’ เป็นกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระในบทเรียนให้สัมพันธ์กับชุมชน ผ่านการบูรณาการความรู้ในหลายศาสตร์ เน้นทักษะการคิด การแก้ปัญหา เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และเชื่อมโยงเข้ากับบริบทชีวิต...

รัฐไทยไม่ใช่เจ้าของการศึกษา
‘มหาลัย’ไทบ้าน’ โจนทะยานสู่ความเป็นไทในห้องเรียนสีชมพู

ฉากหนึ่งของจังหวัดขอนแก่นถูกขนานนามว่า ‘ขอนแก่นโมเดล’ จากแผนพัฒนาเมืองของกลุ่มเอกชนให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (smart city) หน้าตาของจังหวัดถูกปรับเปลี่ยนเหมือนภาพฝัน ความเจริญถูกโปรโมทบนจอภาพสามมิติ กระทั่งการประโคมข่าวของภาครัฐ ทว่าห่างออกไปสุดขอบจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 100 กิโลเมตร การเข้าถึงของถนนหนทางราบเรียบ อินเตอร์เน็ต น้ำปะปา หรือไฟฟ้า ของ ‘อำเภอสีชมพู’ เรียกได้ว่า อยู่ในสภาพขี้ริ้วขี้เหร่ แม้ที่แห่งนี้จะมีต้นทุนทางธรรมชาติและทัศนียภาพงดงาม...

สวนศิลป์บินสิ! ติดปีกการศึกษา ชีวิตและการเรียนรู้ที่ห้องเรียนไม่ได้สอน

“เขาทำงานหนักแทบตายเพื่อที่จะซื้ออาหารดีๆ ซื้อเสื้อผ้าดีๆ ซื้อบ้านดีๆ และเพื่อรักษาตัวเอง ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ที่เขารู้สึกไม่มีอำนาจเลือกพวกนี้ เขาต้องไปทำงานหนัก หาเงิน แล้วก็กลับมา “สังคมเราเป็นสังคมที่ถูกปกครอง ถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจใหญ่ๆ กลุ่มทุนที่อยู่ข้างหลัง จัดระเบียบสังคมให้ไปสู่ผลประโยชน์ของเขา เพราะการศึกษาก็สร้างมาเพื่อระบบทุน ระบบอุตสาหกรรม ให้คนรับใช้ระบบเหล่านั้น มันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้คนมีความสุข ให้คนใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเสรี หรือให้คนเท่ากัน” วันเวลาในวัยเยาว์เดินไปอย่างเชื่องช้า...

กิ่งก้านใบ LearnScape: การเรียนรู้นอกห้องเรียนของผู้ประสบภัยทางการศึกษา

“ผมโตมากับยาย อยู่บ้านในชทบท ชอบฝันไปเรื่อยว่าอยากเป็นทนาย อยากเป็นปลัด อยากเป็นทหาร อยากเป็นตำรวจ ผมพยายามพิสูจน์ตัวเอง ผมอยากเป็นที่หนึ่ง อยากได้รับการยอมรับตามค่านิยมของสังคม แต่ก็ไม่เคยถูกยอมรับเลยสักครั้ง “บ้านผมไม่ได้อบอุ่น ไม่ได้ปลอดภัย ท้ายที่สุด ผมเลิกเรียน ไม่สนใจอะไร ทำให้ผมติดเพื่อน รู้สึกสนิทใจกับเพื่อน เพื่อนพาทำอะไรผมก็ทำด้วย พอการพิสูจน์ตัวเองมันไม่มีคุณค่ามากพอ ผมก็ไม่รู้ว่าจะทำต่อไปเพื่ออะไร “ผมกลายเป็นเด็กที่เรียกว่ากลุ่มเปราะบาง...

เปลี่ยนการ feedback สุดทิ่มแทง ด้วยการตั้งคำถามอย่างทรงพลัง และฟังอย่างลึกซึ้ง ผ่านห้องเรียนโค้ชเพื่อครู

เปลี่ยนครูเป็นโค้ช หน้าที่สอนก็หนักพอแล้วทำไมเราต้องมีทักษะโค้ชด้วย ? ลองนึกภาพว่า ถ้าครูทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ผู้ให้ความรู้อย่างเดียว เมื่อหมดคาบครูก็กลับบ้าน ทว่าความจริงครูไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่ให้ความรู้ แต่เหมือนเรากำลังดูแลชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง หลายคนแบกความทุกข์ไว้เต็มหลัง เมื่อเผชิญกับปัญหา และต้องการหนทางเพื่อแก้ไข หรือต้องการคำแนะนำ ครูมักเป็นบุคคลเป็นอันดับแรก ๆ ที่ผู้เรียนนึกถึง และคงจะดีไม่น้อยถ้ามีใครสักคนมานั่งรับฟังอยู่ข้าง ๆ เขา ซึ่งเด็กทุกคนปราถนาที่จะได้รับการมองเห็นและการไว้วางใจ ดังนั้นทักษะการโค้ชจึงเข้ามามีบทบาทในห้องเรียน และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้ครูสามารถกลับมาดูแลหัวใจของเพื่อนมนุษย์หรือของเด็กในห้องเรียน...

รักษ์เขาชะเมา: การเรียนรู้คู่ขนาน เมื่อห้องเรียนไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของชีวิต

“โรงเรียนไม่มีความสุข หนูไม่อยากไปโรงเรียน”“ถ้าไม่อยากไปโรงเรียน แล้วมีโรงเล่นจะไปไหม” บทสนทนาขนาดสั้น ผ่านคำบอกเล่าจาก ป้าแฟ๊บ-บุปผาทิพย์ แช่มนิล ผู้ดูแลกลุ่มรักษ์เขาชะเมา ถึงที่มาของ ‘โรงเรียน โรงเล่น’ โดยมีความเชื่อมั่นว่า การศึกษาควรหลากหลาย ไม่ผูกขาด ใครใคร่เรียนก็ได้เรียน ผ่านการศึกษาบนฐานชุมชน เปิดพื้นที่นอกห้องเรียนให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ธรรมชาติ รู้จักวิถีชุมชน ณ ทุ่งควายกิน อำเภอแกลง...

‘โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้’ เพราะช่วงเวลาผ่อนคลายคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

“การไปโรงเรียนหรือการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของเด็ก เขาเครียดมาก ทำให้เกิดภาวะปิดกั้นไม่สามารถที่จะเรียนรู้ ขณะที่ครูก็ข่มขู่ บังคับ โดยเฉพาะโรงเรียนที่บอกว่าตัวเองเป็นวิชาการ เพราะฉะนั้นนอกจากเด็กจะถดถอยแล้ว ก็คือกลัวไปอีกร้อยแปด “ในทางหลักสูตรแกนกลางเขาอาจจะเขียนไว้สวย แต่ในทางปฏิบัติที่เราเห็น เด็กยังมีภาวะการเรียนรู้ถดถอย โดยเฉพาะเด็กรอบนอกที่เราเจอ เขาไม่กล้าที่จะพูดความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตัวเอง เด็กเรียนจบม.3 แทบไม่รู้เลยว่าจะประกอบอาชีพอะไร ค้นหาตัวเองเจอหรือยัง ถ้ามันเวิร์คเด็กเราจะมีศักยภาพสูงกว่านี้ ประเทศเราจะไปได้ไกลกว่านี้แล้ว” ‘ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้’...

“เราต่างมี  Learning style เป็นของตัวเอง”
โจทย์ของการศึกษา คือการเรียนรู้ที่ไร้ขอบ 

ว่ากันตามตรง การศึกษาไทย คลำไปตรงไหนก็ดูจะเต็มไปด้วยปัญหา และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการก็ดี รวมทั้งเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง ในหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สิ่งที่พบคือ การกำหนดนโยบายใหม่เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ การยกเลิกโครงการเดิมเพื่อจัดทำโครงการใหม่ โดยไม่คำนึงถึงความต่อเนื่องและผลสัมฤทธิ์ของโครงการ นโยบายหลายอย่างมุ่งไปสู่การเรียกร้องความนิยมในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่คำนึงผลเสียระยะยาว หลายโครงการทำเพื่อหาผลประโยชน์ในทางทุจริตที่ปรากฏอยู่ตามหน้าข่าวไม่ขาดตา หรือกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ปัญหาที่แท้ไม่เคยถูกแก้ ซ้ำเติมด้วยปัญหาใหม่ ที่มาในนามของการแก้ไขปัญหา นี่คือวัฏจักรของระบบการศึกษาไทย ที่กำลังถูกตั้งเรียกร้องทั้งรากฐานวิธีคิดและวิธีปฏิบัติรูปแบบใหม่...

แนวคิดโรงเรียนร่วมพัฒนา

ข้อเสนอแนะ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เป็น “ความจริง” ของระบบการศึกษาไทย ที่น่าเศร้าใจ และหากมองในมุมบวก ก็เป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องกระตุ้นการเปลี่ยนใหญ่ (transformation) ของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เพียงแต่ทำงานตามคำสั่งของหน่วยงานเหนือ ถูกสะท้อนผ่านภาพการได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้รับคำสั่งที่ดี ไม่เป็น agency หรือผู้ที่ทำงานริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับการทำงานสร้างสรรค์ ในระบบที่ “สุดโหด” (wicked) อย่างระบบการศึกษา โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา...