ก่อการครู – Korkankru

บัวหลวงก่อการครู

หันหลังให้กับไม้เรียว ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน

“ถ้าไม่ทำการบ้าน จะโดนตี” “ถ้าไม่อ่านหนังสือ เธอจะสอบตก” “ถ้าทำคะแนนไม่ดี เธอจะไปแข่งกับใครได้” “ถ้าทำงานไม่เสร็จ ห้ามออกไปเล่นเด็ดขาด นั่งทำไปจนกว่าจะเสร็จ” การเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเหล่านี้ นอกจากไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนหรือเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ซ้ำร้าย แนวทางเช่นนี้อาจให้ผลในทางตรงข้าม และลงเอยด้วยความกลัว ความกังวลของผู้เรียน จากการที่ชีวิตถูกฝึกว่าห้ามผิดพลาดตลอดเวลา เช่นนี้แล้ว ห้องเรียนจึงไม่ใช่สถานที่อันพึงปรารถนาอีกต่อไป ‘ห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก’ โครงการบัวหลวงก่อการครู โดยการดูแลของ...

‘กล้าที่จะไม่สอน’ สร้างห้องเรียนที่ปราศจากความกลัว

“เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ และวินัยที่เกิดจากการใช้อำนาจบังคับก็ไม่ยั่งยืน”  คำพูดของ พฤหัส พหลกุลบุตร หรือ ‘อาจารย์ก๋วย’ จากมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มละครมะขามป้อม) ได้กล่าวไว้บนเวทีการเรียนรู้ ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 ณ จังหวัดอุดรธานี ได้สะท้อนให้เห็นถึงหัวใจสำคัญของปัญหาในระบบการศึกษาไทยมาตลอด หัวใจที่ทำให้เห็นว่าการศึกษาที่ดีไม่ควรเกิดจากการบีบบังคับ และห้องเรียนที่ดีควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก  พฤหัส...

เปิดใจรับฟังเสียงเด็ก สร้างห้องเรียนที่เป็นมิตรต่อความแตกต่างหลากหลาย

“ทุกคนมีความแตกต่าง แล้วแตกต่างจากอะไร”“ฐานะ ความเป็นอยู่ ภูมิหลัง ความสนใจ ร่างกาย พรสวรรค์-พรแสวง ฯลฯ”“แล้วเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรล่ะ”“ไม่รู้หรอก แต่เราเปิดใจและรับฟังกันมากขึ้นได้นะ” ตัวแปรมากมายเกินนับไหวและเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจลึกซึ้งในทุก ๆ รายละเอียดของแต่ละบุคคล ทว่าโลกสอนเราว่าต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ โดยที่ไม่ลิดรอน เบียดบัง หรือทิ้งใครไว้ข้างหลัง  คำถามคือ ครูควรเริ่มปลูกฝังให้เด็กรู้จักโลกของความแตกต่างหลากหลายอย่างไร ปริมณฑลของคำตอบ อาจเริ่มจาก ‘ห้องเรียน’...

‘แหย่ให้อยาก ยุให้สงสัย’ วิชาวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนไม่เบือนหน้าหนี

“เราไม่ได้อธิบายเยอะ แค่แหย่นิดหน่อยว่า ไฟที่เราเปิดกันทุกวัน มันติดได้ยังไง” ใครจะเชื่อว่าคำถามเรียบง่ายเช่นนี้จะสามารถกระตุ้นให้นักเรียนกระหาย จดจ่อ และเปลี่ยนความเซื่องซึมของวิชาวิทยาศาสตร์ให้อยู่ในบรรยากาศที่นักเรียนสามารถสรุปผลการทดลองตามแบบฉบับของตนเองได้โดยปราศจากความหวาดกลัว ฐิติยาภรณ์ วิเศษโวหาร หรือ ‘ครูเจี๊ยบ’ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน จังหวัดอุดรธานี อธิบายว่า สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเธอไม่ใช่การถ่ายทอดเนื้อหา แต่เป็นการดึงความสนใจและกระตุ้นความอยากรู้ของนักเรียน เธอเล่าว่า ตัวเองผ่านการอบรมครูมาหลายต่อหลายโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่หนีไม่พ้นการแจกชีทและทำการทดลองตามวิทยากร เสมือนห้องเรียนที่ให้นักเรียนจดตามที่ครูบอก...

ห้องเรียนแห่งความรู้ ห้องเรียนแห่งความรัก

ห้องเรียนทุกห้องจะมีแต่เสียงหัวเราะ ถ้าทั้งครูและนักเรียนเปิดใจคุยกัน ด้วยความเข้าใจถ้าโรงเรียนไหนอยากร่วมสร้างห้องเรียนแห่งรัก ลองฟังประสบการณ์จากครูโรงเรียนอุนบาลหนองหานวิทยายนที่ช่วยกันถอดบทเรียนเพื่อทำให้ทุกห้องเรียนเบ่งบานด้วยความรักและความเข้าใจ “มีนักเรียนคนหนึ่งเข้ามาใหม่เรียนตอนกลางเทอม เขาอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ พอเราพยายามกระตุ้นน้องเพื่อให้เรียนทันเพื่อน แต่เขากลับร้องไห้ ซึ่งเราก็ตกใจมาก เพราะไม่คิดว่า การถามว่า ทำไมไม่ส่งการบ้านจะทำให้เขาร้องไห้ หลังจากนั้นเราก็ใส่ใจและสังเกตเขาพฤติกรรมเขามากขึ้น” เป็นประสบการณ์ตรงของ “วิไลลักษณ์ รู้กิจ” หรือ ครูลิลลี่ ครูประจำชั้น ป.2...

ชุดภาพ จุดไฟในใจครูด้วยเวทมนตร์แห่งรัก

ท่ามกลางต้นไม้ร่มครื้มในโรงแรมฟ้าหลวงรีสอร์ท จังหวัดอุดรธานี บรรดาครูโรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายนกว่า 40 ชีวิตนัดหมายกันที่นี่เพื่อถอดบทเรียน พร้อมเติมพลังให้กันและกันเพื่อพัฒนาห้องเรียนด้วยหลักสูตรใหม่ที่ตัวแทนครูบางคนได้เข้าเรียนรู้หลักสูตร “บัวหลวงก่อการครู” ซึ่งเป็นหลักสูตรพัฒนาศักยภาพของครูเพื่อเติมเต็มความรู้ให้กับเหล่าอนาคตของชาติ  ก่อนเริ่มจุดไฟในใจครู ก่อนจะเริ่มอบรมปฏิบัติการ “จุดไฟในใจครู สร้างการเรียนรู้เปี่ยมพลัง”  ศรีสมร สนทา ผู้อำนวยโรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน จ.อุดรธานี  ได้ปลุกไฟในตัวครูรุ่นลูก มีใจความสำคัญว่า ก่อนจะมีการประชุมวันนี้ พวกเราต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ทั้งจากเหตุการณ์โควิดบ้าง...

ห้องเรียนอนุบาลของครูต้าร์ “วิชาอะไรก็ได้ เด็กสนใจอะไรก็เรียนสิ่งนั้นแหละ”

ในห้องเรียนของคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาปฐมวัย ‘ต้าร์’ คือ 1 ใน 7 ของชายหนุ่มที่เลือกเรียนสาขานี้ ทุกคนในห้องมองว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะส่วนใหญ่แล้ว ‘ครูอนุบาล’ มักเป็นผู้หญิงเสียส่วนมาก เขาจึงถูกถามอยู่เป็นประจำว่าทำไมถึงเลือกเรียนเป็นครูอนุบาล ชายหนุ่มเล่าว่า ใจจริงอยากเรียนศาสตร์ของสถาปัตยกรรม แต่เพราะพิษเศรษฐกิจ ครอบครัวจึงสนับสนุนให้เขาเลือกรับราชการที่ดูจะมั่นคง เขาจึงเลือกเป็นครูปฐมวัยจวบจนถึงปัจจุบัน ชั่วโมงบินในอาชีพนี้ของเขาเดินทางมาถึงปีที่ 5 แล้ว...

กนกพร พิมพา: เมื่อครูเอาชนะเด็กหนึ่งครั้ง ประตูแห่งความสัมพันธ์ก็ปิดลงทันที

มุก-กนกพร พิมพา เพิ่งบรรจุเป็นครูที่ โรงเรียนวัดอัมพวัน จังหวัดลพบุรี ได้ 7 เดือนเท่านั้น วัดจากอายุและชั่วโมงบินในการสอนหนังสือ เธอคือครูน้องเล็กสุดในโรงเรียน หากฝันแรกของมุกคือพยาบาล ไม่เฉียดใกล้ครูเลยด้วยซ้ำ แต่เพราะครอบครัวต้องแบกรับค่าใช้จ่ายส่งเสียลูกหลานเรียนหลายคน มุกจึงจับพลัดจับผลูมาเรียนครูโดยปริยาย “ตอนเรียนครูเราไม่อินเลย เพิ่งจะเริ่มมาชอบก็ตอนฝึกสอน ตอนนั้นเราเจอเด็กที่ถุยน้ำลายลงพื้นเพื่อให้เราเดินไปเหยียบ เอาเรื่องมาก แต่ตอนนั้นสิ่งที่เราคิดคือ เด็กคนนี้ต้องมีอะไรบางอย่างในใจจากการทำแบบนี้ เราอยากรู้ อยากแก้ปัญหา...

คำตอบที่เด็กอยากบอก สำคัญกว่าคำตอบที่ครูอยากได้ 

“เราเห็นนักเรียนไม่มีความสุข เขาจะเงียบมากเลย ไม่โต้ตอบ หรือถามตอบอย่างไม่เป็นธรรมชาติ เราก็ถามตัวเองนะว่าเพราะเด็กกลัวเราหรือเปล่า หรือเป็นเพราะเราไม่ค่อยฟังเขาเลย” คือความทุกข์ที่ ครูเก๋ – เวฬุรีย์  ชินคง กำลังเผชิญให้ห้องเรียนของเธอ และเป็นเหตุผลของการเข้าร่วมหลักสูตรก่อการครู ในห้องเรียนทักษะการโค้ชเพื่อครู โดยเธอได้ฉายภาพบรรยากาศของห้องเรียนก่อนหน้านี้ว่า  “แต่ก่อนเราไม่ฟังใครเลย ถึงฟังก็ฟังน้อยมาก จะพูดตลอดเพราะพูดไม่คิด พอมาเรียนตั้งแต่ โมดูล 1 ครูคือมนุษย์  3...

เปลี่ยน ‘โรงเรียน’ เป็น ‘โรงเล่น’ ผ่านการออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้

การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ : เมื่อผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในห้องเรียน เกมมักเป็นผู้ร้ายในสายตาของสังคม เพราะมันดึงดูดความสนใจและเวลาของนักเรียนให้ไปสนใจเกมมากกว่าการเรียนเนื้อหาวิชาการต่างๆ เกมจึงกลายเป็นเสมือนผู้ร้ายในสายตาของคุณครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่ แต่เรากลับไม่ค่อยตั้งคำถามว่า เกมทำงานกับความคิดของเด็กอย่างไร และทำอย่างไรให้ผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในการสร้างแรงดึงดูดความสนใจของนักเรียน วันนี้เราจึงอยากชวนให้คุณมาร่วมจุดไฟการเรียนรู้ ผ่าน “ห้องเรียนออกแบบการเรียนรู้ผ่านเกม” โดยวิทยากร ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีม DeSchooling Game โดย เถื่อนเกม ภายใต้โครงการก่อการครู โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)...