ก่อการครู – Korkankru

ด้านการศึกษา

“เกม” เปลี่ยนห้องเรียน ชั่วโมงความสุขของนักเรียนและครูเก๋ โรงเรียนมักกะสันพิทยา

ร่วมเรียน ร่วมเล่น ในห้องเรียนวิชาเคมีของ ‘ครูเก๋’ สุดารัตน์ ประกอบมัย โรงเรียนมักกะสันพิทยา ที่เธอพัฒนาสื่อการสอนมาเป็นเครื่องมือเปลี่ยนกระบวนการในคาบเรียน เปิดพื้นที่ให้นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้อย่างมีความสุข ได้ทั้งความรู้ ความสนุก ความเข้าใจในตนเองและผู้อื่น “เดินสามช่อง ไป H ไฮโดรเจน!”“ติ๊ง~” เสียงกดกระดิ่งดังขึ้น นักเรียนนั่งล้อมวงเป็นกลุ่มเล็กๆ ทอยลูกเต๋า เดินหมาก จั่วการ์ดสีสันสดใส...

'ปฐมบท' ใต้พรมแห่งความดีงาม : สำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

เมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’  ‘ปฏิรูปการศึกษา’ วาทกรรมคุ้นหูที่วนเวียนหลอกหลอนเราและผู้คนที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ ปรากฏการณ์ความล้มเหลวทางการศึกษาปรากฏชัดให้เราเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนบนหน้าข่าวของสื่อทุกสำนักแทบจะทุกวัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงบนหนทางการวิวัฒน์ไปข้างหน้า ขานไปกับเส้นเวลาที่ไม่อาจถอยหลังกลับ แต่เพราะเหตุใดการศึกษาไทยกลับก้าวถอยหลังสวนทางกับนานาประเทศในสังคมโลก ปรากฏการณ์การศึกษาคือภาพสะท้อนสภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธ การศึกษาเป็นเช่นใดก็สร้างสังคมเช่นนั้น หรือเพราะสภาพสังคมเป็นเช่นใดก็จะสร้างการศึกษาเช่นนั้น ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งสอดคล้องบรรสานกันอย่างแนบแน่นดุจคำถามโลกแตก ‘ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน’ นโยบายการศึกษารายวันถูกผลิตขึ้นจากผู้กำหนดนโยบายที่หวังว่าการสร้างนโยบายเหล่านั้นจะเป็น ‘วัคซีน’ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคระบาด โดยที่ไม่เคยคำนึงว่า เรายังไม่เคยวินิจฉัยโรคอย่างถึงแก่น เพียงแค่นำเข้าเทคโนโลยีที่อาจใช้ได้ผลในประเทศอื่น ๆ โดยไม่ศึกษาบริบทของปัญหาและสภาพแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะที่อาจมีวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดได้มากกว่า แต่เราจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’ ...

ชวนอ่าน "ประเมินเติมใจ จุดไฟการเรียนรู้"

การประเมินแบบปกติ กำลังทำให้ครูกับนักเรียนห่างไกลกันมากขึ้น จะดีกว่าไหม? หากเราสามารถเติมใจและจุดไฟให้ชั้นเรียนได้ ด้วยเครื่องมือการประเมินที่มีชีวิต เพราะโลกของการเรียนรู้ อาจไม่ได้มีขั้นตอนหรือสูตรสำเร็จที่ระบุว่า ครูที่ดีต้องสอนอย่างไร ห้องเรียนที่ดีเป็นแบบไหน ทว่า การกลับมามองเสียงสะท้อนอย่างจริงใจจากนักเรียน และด้วยใจจริงจากครู กลับคืนชีวิตชีวาให้กับห้องเรียน เป็นห้องเรียนที่มีความหมาย ครูได้เป็นตัวครู เด็กกล้าเข้าใกล้ครู การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการสอนเต็มไปด้วยความสนุก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงในอุดมคติ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ “เป็นไปได้” เพียงครูกล้าเปิดใจใช้...

ก่อก่อนกาล ก่อการครู

หนังสือเล่มนี้กำลังบอกเล่า เรื่องราว ถ้อยคำ ความรู้ ที่ถอดถ่ายจากประสบการณ์และแง่มุมของผู้ก่อการ 11 คน ก่อนจะเดินทางมาพบเจอกัน เพื่อร่วมก่อร่างขบวนการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการศึกษา ในชื่อของ ก่อการครู เกิดกลายเป็นเรื่องราว บรรจุและร้อยเรียงตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเดินทางสู่วงการการศึกษา รวมไปถึงระหว่างทางและปลายทางที่วาดหวัง ลงในหนังสือ ก่อก่อนกาล ก่อการครู เล่มนี้ จากแรงขับเน้นและเส้นทางชีวิตของแต่ละคน อะไรทำให้คนกลุ่มนี้เลือกที่จะลุกขึ้นมา "ก่อก่อนกาล"...

ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม : ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู

PLC (Professional Learning Community : ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) คืออะไร?   คุณครูหลายท่านอาจรู้จัก PLC ในฐานะของ “การประชุมครู” เพื่อทบทวนภาระงานต่าง ๆ หรือหยิบยกบางประเด็นที่อาจมองว่าเป็นปัญหา มาร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนกัน หลายครั้งวง PLC นี้อาจจบลงด้วยการมอบหมายงานให้คุณครูบางท่านไปดำเนินการต่อ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาจากประเด็นพูดคุย  เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็ทำการนับเวลาประชุม...

ครูปล่อยแสง: ครูบรรดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้

เรื่องเล่าจากครูผู้ก่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแกนนำรุ่นที่ 1 โครงการก่อการครู คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยถูกรวบรวมขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการศึกษาไทยเกิดขึ้นได้จริง โดยเริ่มต้นจากห้องเรียนเล็ก ๆ ขยายออกไปสู่ผู้คนและชุมชน สิ่งเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มนี้อย่างหลากวิธีคิด หลายหัวใจ และมากด้วยการลงมือทำ

วิจารณ์ พานิช: สอนอย่างมือชั้นครู

หนังสือ: สอนอย่างมือชั้นครูเขียนโดย: ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชถอดความจากหนังสือ Teaching at Its Best: A Research - Based Resource for College Instructors เขียนโดย Linda B. Nilsonที่ปรึกษา: รศ.ดร.อนุชาติ...