Korkankru

ก่อการครู

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...

'ปฐมบท' ใต้พรมแห่งความดีงาม : สำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

เมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’  ‘ปฏิรูปการศึกษา’ วาทกรรมคุ้นหูที่วนเวียนหลอกหลอนเราและผู้คนที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ ปรากฏการณ์ความล้มเหลวทางการศึกษาปรากฏชัดให้เราเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนบนหน้าข่าวของสื่อทุกสำนักแทบจะทุกวัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงบนหนทางการวิวัฒน์ไปข้างหน้า ขานไปกับเส้นเวลาที่ไม่อาจถอยหลังกลับ แต่เพราะเหตุใดการศึกษาไทยกลับก้าวถอยหลังสวนทางกับนานาประเทศในสังคมโลก ปรากฏการณ์การศึกษาคือภาพสะท้อนสภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธ การศึกษาเป็นเช่นใดก็สร้างสังคมเช่นนั้น หรือเพราะสภาพสังคมเป็นเช่นใดก็จะสร้างการศึกษาเช่นนั้น ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งสอดคล้องบรรสานกันอย่างแนบแน่นดุจคำถามโลกแตก ‘ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน’ นโยบายการศึกษารายวันถูกผลิตขึ้นจากผู้กำหนดนโยบายที่หวังว่าการสร้างนโยบายเหล่านั้นจะเป็น ‘วัคซีน’ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคระบาด โดยที่ไม่เคยคำนึงว่า เรายังไม่เคยวินิจฉัยโรคอย่างถึงแก่น เพียงแค่นำเข้าเทคโนโลยีที่อาจใช้ได้ผลในประเทศอื่น ๆ โดยไม่ศึกษาบริบทของปัญหาและสภาพแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะที่อาจมีวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดได้มากกว่า แต่เราจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’ ...

ก่อการคูณ : เครือข่ายครู ขับเคลื่อนการศึกษา

หลังจากการรวมตัวกันของครูแกนนำก่อการครูใน เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกรหรือเวทีก่อการคูณ โมดูล 1 เพื่อมองหาเครือข่าย เริ่มขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ของตน ก่อร่างเป็นเครือข่ายกว่า 10 เครือข่ายทั่วประเทศในปลายปีที่ผ่านมา และได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน เวทีก่อการคูณ โมดูลที่ 2 ว่าด้วยองค์กรการเรียนรู้และการสร้างเครือข่าย จัดขึ้นในวันที่ 6-8 มีนาคม 2564  ณ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...

ชวนอ่าน "ประเมินเติมใจ จุดไฟการเรียนรู้"

การประเมินแบบปกติ กำลังทำให้ครูกับนักเรียนห่างไกลกันมากขึ้น จะดีกว่าไหม? หากเราสามารถเติมใจและจุดไฟให้ชั้นเรียนได้ ด้วยเครื่องมือการประเมินที่มีชีวิต เพราะโลกของการเรียนรู้ อาจไม่ได้มีขั้นตอนหรือสูตรสำเร็จที่ระบุว่า ครูที่ดีต้องสอนอย่างไร ห้องเรียนที่ดีเป็นแบบไหน ทว่า การกลับมามองเสียงสะท้อนอย่างจริงใจจากนักเรียน และด้วยใจจริงจากครู กลับคืนชีวิตชีวาให้กับห้องเรียน เป็นห้องเรียนที่มีความหมาย ครูได้เป็นตัวครู เด็กกล้าเข้าใกล้ครู การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการสอนเต็มไปด้วยความสนุก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงในอุดมคติ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ “เป็นไปได้” เพียงครูกล้าเปิดใจใช้...

ก่อก่อนกาล ก่อการครู

หนังสือเล่มนี้กำลังบอกเล่า เรื่องราว ถ้อยคำ ความรู้ ที่ถอดถ่ายจากประสบการณ์และแง่มุมของผู้ก่อการ 11 คน ก่อนจะเดินทางมาพบเจอกัน เพื่อร่วมก่อร่างขบวนการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการศึกษา ในชื่อของ ก่อการครู เกิดกลายเป็นเรื่องราว บรรจุและร้อยเรียงตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเดินทางสู่วงการการศึกษา รวมไปถึงระหว่างทางและปลายทางที่วาดหวัง ลงในหนังสือ ก่อก่อนกาล ก่อการครู เล่มนี้ จากแรงขับเน้นและเส้นทางชีวิตของแต่ละคน อะไรทำให้คนกลุ่มนี้เลือกที่จะลุกขึ้นมา "ก่อก่อนกาล"...

ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม : ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู

PLC (Professional Learning Community : ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) คืออะไร?   คุณครูหลายท่านอาจรู้จัก PLC ในฐานะของ “การประชุมครู” เพื่อทบทวนภาระงานต่าง ๆ หรือหยิบยกบางประเด็นที่อาจมองว่าเป็นปัญหา มาร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนกัน หลายครั้งวง PLC นี้อาจจบลงด้วยการมอบหมายงานให้คุณครูบางท่านไปดำเนินการต่อ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาจากประเด็นพูดคุย  เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็ทำการนับเวลาประชุม...

ก่อการครู ก่อการคูณ : เมื่อหยดน้ำจะรวมตัวกัน เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมสู่การเปลี่ยนแปลง

เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกร (Training of the Trainers) โมดูลที่ 1 จัดกิจกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ณ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ซึ่งเป็นการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งของครูผู้มีไฟในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาจากโครงการก่อการครู รุ่นที่ 1 และ 2 เพื่อสานรอยต่อแห่งความหวังที่อยากจะเห็นการศึกษาไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่นและจริงจังร่วมกัน...

To Be A Better Teacher- เป็นครูคนใหม่ด้วยวิจัยในชั้นเรียน

เมื่อพูดถึงคำว่า ‘วิจัย’ หลายคนคงกำลังเอามือกุมขมับและนั่งขมวดคิ้ว ด้วยความรู้สึกยุ่งยากกับภาพกองหนังสืออ้างอิงเป็นตั้งๆ แม้งานวิจัยจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ครูแสวงหาความรู้ใหม่ๆ แต่หลายครั้งการทำวิจัยนั้นอาจไม่สัมพันธ์กับการพัฒนาห้องเรียนหรือผู้สอนเสมอไป การทำวิจัยจึงกลายเป็นภาระที่ครูต้องแบกรับและเกิดความทุกข์จากการทำวิจัยที่ไม่เชื่อมโยงกับบริบทในห้องเรียนและคุณค่าภายในของตัวครู ดังนั้น จะทำอย่างไรให้การทำวิจัยเป็นไปเพื่อคืนอำนาจอธิปไตยในการแสวงหาความรู้ของครู โดยครู เพื่อครูและผู้เรียน วันนี้อยากชวนให้ครูมานั่งล้อมวง ร่วมจุดไฟการเรียนรู้ผ่าน ห้องเรียน “เป็นครูคนใหม่ ด้วยวิจัยในชั้นเรียน” โดยกระบวนกร ผศ.ดร. สิทธิชัย วิชัยดิษฐ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์...

เปลี่ยน ‘โรงเรียน’ เป็น ‘โรงเล่น’ ผ่านการออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้

การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ : เมื่อผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในห้องเรียน เกมมักเป็นผู้ร้ายในสายตาของสังคม เพราะมันดึงดูดความสนใจและเวลาของนักเรียนให้ไปสนใจเกมมากกว่าการเรียนเนื้อหาวิชาการต่างๆ เกมจึงกลายเป็นเสมือนผู้ร้ายในสายตาของคุณครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่ แต่เรากลับไม่ค่อยตั้งคำถามว่า เกมทำงานกับความคิดของเด็กอย่างไร และทำอย่างไรให้ผู้ร้ายกลายเป็นผู้ช่วยในการสร้างแรงดึงดูดความสนใจของนักเรียน วันนี้เราจึงอยากชวนให้คุณมาร่วมจุดไฟการเรียนรู้ ผ่าน “ห้องเรียนออกแบบการเรียนรู้ผ่านเกม” โดยวิทยากร ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีม DeSchooling Game...

การเปลี่ยนแปลงท่ามกลาง “ความย้อนแย้ง” ของการศึกษาไทย เป็นไปได้จริงหรือ?

“การเปลี่ยนแปลงท่ามกลางความย้อนแย้งของการศึกษาไทย” เป็นไปได้จริงหรือ? มาร่วมกันหาคำตอบได้ในงาน ก่อการครู "ครูปล่อยแสง" ปี 2 พบกับ เวทีเสวนา กิจกรรมเชิงปฏิบัติการและการแบ่งปันประสบการณ์การสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการเรียนรู้และชุมชนด้านการศึกษา โดยเครือข่ายครูแกนนำรุ่นที่ 2 จากโครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคีที่ทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ โครงการก่อการครู เป็นโครงการที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคีที่ทำงานด้านการศึกษา สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อช่วยเสริมศักยภาพครูให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change...