Korkankru

บทความ / บทสัมภาษณ์

เปิดใจรับฟังเสียงเด็ก สร้างห้องเรียนที่เป็นมิตรต่อความแตกต่างหลากหลาย

“ทุกคนมีความแตกต่าง แล้วแตกต่างจากอะไร”“ฐานะ ความเป็นอยู่ ภูมิหลัง ความสนใจ ร่างกาย พรสวรรค์-พรแสวง ฯลฯ”“แล้วเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรล่ะ”“ไม่รู้หรอก แต่เราเปิดใจและรับฟังกันมากขึ้นได้นะ” ตัวแปรมากมายเกินนับไหวและเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจลึกซึ้งในทุก ๆ รายละเอียดของแต่ละบุคคล ทว่าโลกสอนเราว่าต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ โดยที่ไม่ลิดรอน เบียดบัง หรือทิ้งใครไว้ข้างหลัง  คำถามคือ ครูควรเริ่มปลูกฝังให้เด็กรู้จักโลกของความแตกต่างหลากหลายอย่างไร ปริมณฑลของคำตอบ อาจเริ่มจาก ‘ห้องเรียน’...

‘แหย่ให้อยาก ยุให้สงสัย’ วิชาวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนไม่เบือนหน้าหนี

“เราไม่ได้อธิบายเยอะ แค่แหย่นิดหน่อยว่า ไฟที่เราเปิดกันทุกวัน มันติดได้ยังไง” ใครจะเชื่อว่าคำถามเรียบง่ายเช่นนี้จะสามารถกระตุ้นให้นักเรียนกระหาย จดจ่อ และเปลี่ยนความเซื่องซึมของวิชาวิทยาศาสตร์ให้อยู่ในบรรยากาศที่นักเรียนสามารถสรุปผลการทดลองตามแบบฉบับของตนเองได้โดยปราศจากความหวาดกลัว ฐิติยาภรณ์ วิเศษโวหาร หรือ ‘ครูเจี๊ยบ’ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน จังหวัดอุดรธานี อธิบายว่า สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเธอไม่ใช่การถ่ายทอดเนื้อหา แต่เป็นการดึงความสนใจและกระตุ้นความอยากรู้ของนักเรียน เธอเล่าว่า ตัวเองผ่านการอบรมครูมาหลายต่อหลายโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่หนีไม่พ้นการแจกชีทและทำการทดลองตามวิทยากร เสมือนห้องเรียนที่ให้นักเรียนจดตามที่ครูบอก...

กว่าจะเป็นห้องเรียนแนะแนวแห่งรัก ครูลูกหมี โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์

ห้องเรียนโล่งกว้าง สะอาดสะอ้าน บนผนังห้องมีบอร์ดปฏิทินและตารางสอบ ทั้ง GAT/PAT O-NET วิชาสามัญและวิชาเฉพาะอื่นๆ ไม่ไกลจากทางเข้ามีคุณครูยิ้มแฉ่งอารมณ์ดีค่อยทักทายนักเรียนที่เดินพ้นประตูเข้ามาอย่างเป็นกันเอง  เด็กๆ ทิ้งตัวลงนั่งบนพื้นห้องโดยไม่มีทีท่าเคอะเขิน บ้างจับกลุ่มนั่งคุยเล่นกันกับเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันตลอดช่วงปิดเทอม บ้างเข้ามาพูดคุยกับคุณครูอย่างสนิทสนม  นี่คือบรรยากาศในวันแรกของการเปิดภาคการศึกษา ณ ห้องเรียนวิชาแนะแนวของ คุณครู ‘ลูกหมี’ สุพัตรา ศรีพันธบุตร โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู...

Sensory Integration ห้องเรียนเคลื่อนไหวร่างกายที่ช่วยเติมเต็มจิตใจ ครูธิดา โรงเรียนสุจิปุลิ

เด็กหญิงยืนอยู่ที่มุมห้อง บนพื้นเต็มไปด้วยห่วงสีแดงวงใหญ่เรียงเป็นแถวๆ ในมือเธอมีกระดาษแผนที่บอกทิศทาง ภารกิจคือนำตุ๊กตาไปวางในห่วงสีแดงอันสุดท้ายตามเส้นทางที่กำหนด หลังจากหยุดยืนชั่งใจอยู่สักครู่ เธอก็ค่อยๆ ก้าวเดิน จากห่วงอันหนึ่งไปยังอีกอัน เด็กๆ กระตือรือร้น ยกมือขอทำภารกิจเป็นคนต่อไป แม้บางคนจะมีผิดพลาดบ้าง ลังเลบ้าง แต่บรรยากาศในห้องยังเต็มไปด้วยความสนุกสนานจากเสียงเชียร์ของเพื่อนๆ และคำพูดให้กำลังใจของคุณครู  นี่คือห้องเรียนวิชา Sensory Integration ของ โรงเรียนสุจิปุลิ จังหวัดฉะเชิงเทรา...

นักเรียน ครู ผู้ปกครอง นิเวศการเรียนรู้เพื่อโอบอุ้มเด็กให้เติบโต ‘ครูแอน’ โรงเรียนสุจิปุลิ

กลุ่มผู้ปกครองนั่งรออยู่ที่หน้าเวที เด็กๆ ในชุดผึ้งค่อยๆ เดินเรียงแถวออกมา ร้อง เล่น เต้นตามจังหวะเสียงเพลง ก่อนจะจูงมือ พาคุณพ่อคุณแม่เข้าห้องเรียน เพื่อเล่าถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ตลอดช่วงเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา นาฎฤดี จิตรรังสรรค์ หรือ “ครูแอน” นี่คือบรรยากาศวันนำเสนอโครงงานของเด็กชั้นก่อนอนุบาลในโรงเรียนสุจิปุลิ จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนแนวคิดใหม่ของ นาฎฤดี จิตรรังสรรค์ หรือ...

ห้องเรียนที่ (หัวใจ) ปลอดภัย  สำคัญแค่ไหนต่อการเรียนรู้

“ห้องเรียนปลอดภัยคือพื้นที่ที่เด็กกล้าพูด มีความไว้ใจซึ่งกันและกันค่ะ”“พื้นที่ปลอดภัยเหรอ น่าจะเป็นพื้นที่ที่เป็นตัวเองได้แบบไม่ต้องกังวล จะทำอะไรก็มีความรู้สึกอิสระ ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกหรือจะผิดนะ”“น่าจะเป็นการยอมรับความแตกต่าง ความคิดเห็นที่แตกต่าง”“เป็นพื้นที่ที่ถ้าทำผิดไปแล้วจะมีคนให้อภัย ถ้าทำถูกก็จะรู้สึกว่าทุกคนยอมรับ”“ที่ๆ แสดงออกโดยไม่ถูกคุกคาม”“นักเรียนมีความสบายใจที่จะอยู่พื้นที่นั้น อยากจะพูดอยากจะปรึกษาอะไรก็ทำได้เลย โดยไม่รู้สึกว่าติดขัดอะไร”“พื้นที่ที่มีแสงแห่งความรักและมีความสุขให้กับเรา” เราสามารถนิยามได้ว่า พื้นที่ปลอดภัยคือ พื้นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยจากการกล่าวโทษต่อว่าตัวเอง และเป็นพื้นที่ ๆ สามารถรับฟังตัวเองและเป็นตัวเองได้โดยปราศจากการตัดสินจากคนอื่น พื้นที่ปลอดภัยที่เพียงพอ จะทำให้บรรยากาศการเรียนรู้งอกงาม ผู้เรียนและผู้สอนเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ สามารถแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น...

เผด็จการศึกษา กับห้องเรียนของครูก่อการ
อัพเลเวลการเรียนรู้ ‘ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ’ ไม่รอแล้วนะ

ในขณะที่นักเรียนตกอยู่ภายใต้ความคาดหวัง บรรยากาศการแข่งขัน และแรงกดดันจากการระบบสังคมและการศึกษา เอาเข้าจริงแล้ว ครูเองก็มีสภาพอิดโรยไม่ต่างกันนัก พวกเขาต่างก้มหน้าก้มตาทำงานหนักราวกับหนูติดจั่น น่าเศร้ากว่านั้นคือ งานกว่าค่อนห่างไกลจากห้องเรียนที่พวกเขาวาดหวัง สภาพเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา และยังคงดำเนินต่อไป ครูถูกพรากจากห้องเรียน เด็กๆ ถูกพรากจากความรักในการเรียนรู้ โรงเรียนดูไร้ชีวิตชีวา การศึกษา แต่ถึงอย่างนั้น ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ครูจำนวนไม่น้อยตั้งหลักขยับขยายความเป็นไปได้ในการสร้างห้องเรียนที่มีความหมายแก่ผู้เรียน แม้จะพบอุปสรรคที่ชื่อ ‘ระบบ’ อยู่เบื้องหน้า...

‘เมล็ดข้าวเปลือกไทยเบิ้ง’การกลับบ้านของหนุ่มสาว เพื่อเปลี่ยนวิกฤติชุมชนเป็นห้องเรียน

ไกลออกไปจากตัวเมืองลพบุรีราว 60 กิโลเมตร คือที่ตั้งของชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้ง ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี หลายคนอาจรู้จัก ‘โคกสลุง’ ชุมชนริมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เส้นทางรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน โดยมีขบวนรถไฟลอยน้ำอันลือชื่อเคลื่อนผ่านเวิ้งน้ำป่าสัก ในอดีตโคกสลุงคือชุมชนโดดเดี่ยวห่างไกล ต้องเผชิญหน้ากับยากลำบากรอบด้าน ทั้งการเข้าถึงระบบสุขภาพ การเดินทางสัญจร ความปลอดภัยในชีวิต ปัญหายาเสพติด และการเข้ามาของโครงการพัฒนาที่อาจเปลี่ยนแปลงวิถีดั้งเดิมของชุมชนชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ถึงที่สุดแล้ว ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับวิกฤติ...

‘หนี้สิน ภัยพิบัติ ชาวเล และวิถีมุสลิม’ หลักสูตรการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนใครในโลก

“คนในจังหวัดพังงาถูกกำหนดโดยส่วนกลางมาตลอดว่า เราต้องเป็นอย่างนั้น เราต้องทำอย่างนี้ ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะไม่สามารถออกแบบหรือพัฒนาบ้านของตัวเองได้ สมมติว่ามีงบประมาณมาก้อนหนึ่ง ก็จะถูกสั่งว่าคุณต้องเอาไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้นะ เราคิดนอกกรอบไม่ได้เลย และมันทำให้เราคิดนอกกรอบไม่เป็น” ถ้อยคำของ ‘ชาตรี มูลสาร’ สะท้อนชัดเจนว่า พังงาคือจังหวัดที่ประสบปัญหาไม่ต่างจากจังหวัดอื่นๆ ทั้งปัญหาหนี้สิน ที่ดิน การไร้อำนาจต่อรองของเกษตรกร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงผลกระทบจากโครงการพัฒนา ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน พังงาแบ่งออกเป็น 8...

‘มะขามป้อมอาร์ตสเปซ’ ข้ามขอบการศึกษา สู่ความเป็นไปได้ของการเรียนรู้

“มนุษย์มีตั้งกี่ล้านคน คุณจะให้เด็กแต่งตัวเหมือนกัน ไปเรียนแบบเดียวกัน มีสายวิทย์ มีสายศิลป์ หรือมีแค่ 4-5 โปรแกรมในระบบโรงเรียนให้เลือกเท่านั้นหรือ ? “ความแตกต่าง ความชอบ และลักษณะของเด็กไม่เหมือนกัน คุณเปิดไปเลยอีกร้อยพันโมเดล อยู่ที่ว่าเด็กจะไปเลือกอะไร เหมาะกับจริตแบบไหน จะเรียนกึ่งโรงเรียน ครึ่งหนึ่งออกมาเรียนข้างนอก จะเรียนข้างนอกไปเลย หรือจะเรียนในโรงเรียนอย่างเดียว มันก็ไม่แปลกอะไร” เช่นเดียวกับกระแสน้ำที่มีสายธารหลักในการหล่อเลี้ยงชีวิต...