ก่อการครู – Korkankru

ก่อการครู

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม

การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) ระบบการศึกษาเพื่อแทนที่ระบบเดิม      ศราวุธ จอมนำ   มันฝรั่งล็อตใหญ่ถูกส่งไปยังโรงงานแห่งหนึ่ง มันแต่ละหัวถูกลำเลียงไปตามสายพาน เข้าสู่ขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยความเท่าเทียม ไม่มีลูกไหนได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งลำดับของการไปสู่แต่ละแผนก วิธีการที่ใช้ในแผนกนั้น ๆ ระยะเวลาในแผนกนั้น ๆ ด้วย...

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...

จัดการศึกษาฐานสมรรถนะอย่างไรให้สำเร็จ ผ่านเลนส์การศึกษานานาชาติ

จัดการศึกษาฐานสมรรถนะอย่างไรให้สำเร็จ ผ่านเลนส์การศึกษานานาชาติ   “การศึกษาฐานสมรรถนะ” คำยอดฮิตที่บรรดาคุณครู ผู้บริหาร หรือบุคคลากรในวงการการศึกษาต่างได้ยินกันจนติดหู เมื่อไทยกำลังจะปรับหลักสูตรเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะซึ่งเเน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มีทั้งกลุ่มคนที่เข้าใจเเละไม่เข้าใจในสิ่ง ๆ นี้ วันนี้ก่อการครูจะพาทุกคนมารู้จักกับหลักสูตรฐานสรรถนะในต่างประเทศกันบ้าง ในประเทศที่ว่ากันว่า “การศึกษาดี” พวกเขามีการจัดการศึกษาอย่างไร มีวิธีดูเเลหรือสร้างการเรียนรู้อย่างไรให้กับเยาวชนในประเทศ   ฟินเเลนด์ ประเทศที่การศึกษาดีที่สุดในโลก เนเธอร์เเลนด์ ประเทศที่เด็กมีความสุขมากที่สุดในโลก สิงคโปร์...

เมื่อประเมินกันที่ข้อสอบ เด็กชายขอบจึงต้องอยู่รอบนอกตลอดไป?

เมื่อประเมินกันที่ข้อสอบ เด็กชายขอบจึงต้องอยู่รอบนอกตลอดไป?   ประเด็นเรื่องคุณภาพของการศึกษาไทยคือเรื่องที่สังคมต้องนำกลับมาถกกันใหม่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะเมื่อใกล้ช่วงเวลาของการสอบใหญ่ระดับชาติ การสอบวัดผลในหลายสนามทั้งใหญ่และเล็กต่างบ่งชี้ให้เห็นถึงอนาคตที่เป็นไปได้ยากขึ้นสำหรับการเรียนต่อในระดับสูงเนื่องจากคะแนนกลายเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนพิเศษนอกห้องเรียนไปจนถึงเรียนล่วงหน้าจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับครอบครัวที่มีฐานะ อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นไม่ใช่ทุกครอบครัวจะสามารถเข้าถึงสถาบันเรียนพิเศษในปัจจุบันได้ทุกครอบครัวโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ห่างไกลเมืองใหญ่ที่อุดมไปด้วยแหล่งกวดวิชา   หากอ้างอิงข้อมูลการเติบโตของสถานศึกษากวดวิชาในระบบอย่างเป็นทางการตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจะพบว่ามีสถานศึกษากวดวิชาในปี 2556 จำนวน 2,342 แห่ง ขณะที่ในปี 2562 มีจำนวน 2,652 แห่ง ซึ่งมีเขตพื้นที่กรุงเทพมีอัตรากระจุกตัวเป็นอันดับหนึ่ง ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ...

ประเมินอย่างไรให้ได้สมรรถนะกับเครื่องมือ Rubrics

เราเรียนไปทำไม?  คำถามสุด classic ที่ตกเป็นประเด็นบ่อยครั้งกับการศึกษาที่ว่าสุดท้ายเเล้วผลลัพธ์ที่เราคาดหวังคืออะไร   การศึกษาที่ให้คุณค่าในตัวเลขมากกว่าการเรียนรู้ของเด็ก ? คะเเนน = การเรียนรู้ เราเองอาจคุ้นชินกับการตัดสินผลการเรียนรู้ผ่านตัวเลขเเละเกรด จนบางครั้งมันเเทบจะกลายเป็นหมุดหมายการเรียนที่ถูกให้ค่าเสียยิ่งกว่าการเรียนรู้จริง ๆ ที่เกิดขึ้นเสียอีก ด้วยปัจจัยหลากหลายที่ทำให้เกรด เข้ามามีส่วนสำคัญต่ออนาคตเเละส่งผลกระทบต่อการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือการหางานทำ เเต่สุดท้ายเเล้วการประเมินผลการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไรกันเเน่?   การประเมินฐานสมรรถนะ    [caption...

Grow Model เเผนที่การโค้ช

Grow Model เเผนที่การโค้ช      ทักษะการโค้ชเพื่อครูเป็นหนึ่งในบทเรียนตลาดวิชาของก่อการครู เพื่อช่วยเสริมทักษะพื้นฐานของการโค้ชให้แก่ครู  เพราะคุณครูไม่ได้มีหน้าที่เเค่บอกสอนให้เด็กทำตามแต่เพียงอย่างเดียว แต่ครูยังมีหน้าที่ฝึกให้เด็กคิดเป็น มีทักษะชีวิตที่จะรับผิดชอบต่อตนเอง มีทักษะการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะติดตัวเด็กไปจนโต  ครูที่มีทักษะการโค้ชจะช่วยสนับสนุนให้เด็กพัฒนาศักยภาพ และเรียนรู้ที่จะแสวงหาคำตอบและการตัดสินใจได้ด้วยตนเองผ่านการรับฟังและตั้งคำถามของครู  โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นที่กำลังค้นหาตนเอง ต้องการความเข้าใจ ความไว้วางใจและอยากได้ความมั่นใจจากผู้ใหญ่ว่าเขาคิดเองได้ การสั่งหรือบอกให้พวกเขาเชื่อฟังโดยไม่เปิดโอกาสให้ได้คิด ได้ตั้งคำถาม จึงอาจไม่ใช่ทางออกอีกต่อไป วันนี้ก่อการครูพาทุกคนมารู้จักกับเครื่องมือโค้ชชิ่ง...

PLC ก่อการครู พื้นที่แห่งการเรียนรู้ เเบ่งปัน ส่งต่อพลังใจแก่เพื่อนครู

PLC ก่อการครู พื้นที่แห่งการเรียนรู้ เเบ่งปัน ส่งต่อพลังใจแก่เพื่อนครู     Professional Learning Community หรือ PLC การเปิดวงพูดคุยกันของเหล่าคุณครู ที่หลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพการอบรมในห้องประชุมใหญ่ ๆ นั่งโต๊ะประชุมกันในห้องเเอร์ มีเเล็ปท็อป (laptop) วางไว้เพื่อพิมพ์ประเด็นสำคัญ นั่งฟังบรรยายจากวิทยากรยาวหลาย ๆ...

การศึกษาในอนาคตกับโลกที่หมุนไวขึ้น 20 เท่า อาชีพไม่ถาวรเเละเด็กที่ต้องเก่งขึ้นสองเท่า

การศึกษาในอนาคต ในวันที่การแพร่ระบาดของโรคทวีความรุนแรง วิถีชีวิตของผู้คนต่างต้องปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขรายวัน โจทย์ของสังคมและการศึกษาที่ยังแก้ไม่ตกมายาวนาน กำลังถูกถมทับด้วยโจทย์ใหม่ ๆ ที่มี COVID-19 และวิกฤตเศรษฐกิจเข้ามาเร่งปฏิกิริยาต่าง ๆ ดร. เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ชวนเราทบทวนประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของสังคมโลก ตลอดจนมองย้อนมองสังคมไทย ภายใต้เงื่อนไขใหม่ที่เราต้องร่วมกันแก้ปัญหา  เริ่มต้นจากช่วงเวลาก่อนที่โรคระบาดโควิดจะมาเยือน โลกของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่รุดหน้า โดยนักวิทยาศาสตร์ได้สร้างดัชนีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตขึ้นมา...

'ปฐมบท' ใต้พรมแห่งความดีงาม : สำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

เมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’  ‘ปฏิรูปการศึกษา’ วาทกรรมคุ้นหูที่วนเวียนหลอกหลอนเราและผู้คนที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ ปรากฏการณ์ความล้มเหลวทางการศึกษาปรากฏชัดให้เราเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนบนหน้าข่าวของสื่อทุกสำนักแทบจะทุกวัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงบนหนทางการวิวัฒน์ไปข้างหน้า ขานไปกับเส้นเวลาที่ไม่อาจถอยหลังกลับ แต่เพราะเหตุใดการศึกษาไทยกลับก้าวถอยหลังสวนทางกับนานาประเทศในสังคมโลก ปรากฏการณ์การศึกษาคือภาพสะท้อนสภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธ การศึกษาเป็นเช่นใดก็สร้างสังคมเช่นนั้น หรือเพราะสภาพสังคมเป็นเช่นใดก็จะสร้างการศึกษาเช่นนั้น ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งสอดคล้องบรรสานกันอย่างแนบแน่นดุจคำถามโลกแตก ‘ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน’ นโยบายการศึกษารายวันถูกผลิตขึ้นจากผู้กำหนดนโยบายที่หวังว่าการสร้างนโยบายเหล่านั้นจะเป็น ‘วัคซีน’ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคระบาด โดยที่ไม่เคยคำนึงว่า เรายังไม่เคยวินิจฉัยโรคอย่างถึงแก่น เพียงแค่นำเข้าเทคโนโลยีที่อาจใช้ได้ผลในประเทศอื่น ๆ โดยไม่ศึกษาบริบทของปัญหาและสภาพแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะที่อาจมีวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดได้มากกว่า แต่เราจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’ ...

ก่อการครู รุ่น 3 โมดูล 1 : สำรวจความเป็นคน-ตัวตน-อำนาจภายในตัว “ครู”

เวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ "ก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้” รุ่น 3 โมดูล 1 "ครูคือมนุษย์: สำรวจภูมิทัศน์ภายในของความเป็นครู" จัดขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ 2 - วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุมเอเมอรัล โรงแรม เดอะ...