Korkankru

บัวหลวงก่อการครู

‘ห้องเรียนแห่งรัก’ รู้จักตัวตน รู้จักนักเรียน ควบคู่กับพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้

‘ความรัก’ อาจเป็นของแสลงสำหรับผู้ที่พยายามจะนิยาม บางครั้งยังเป็นไม้เบื่อไม้เมากับความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ เพราะในนามของความปรารถนาดี ครูอาจเป็นคนใจร้ายในสายตาของนักเรียนโดยไม่รู้ตัว ครั้นจะแยกขาดความรักออกจากห้องเรียน ก็อาจทำให้บรรยากาศในรั้วโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ แต่ความรักจะเบ่งบานขึ้นได้จำเป็นต้องเริ่มจากการทบทวนใคร่ครวญตนเองของผู้สอน เพื่อนำไปสู่การสร้างบทสนทนาเชิงบวกในห้องเรียน พร้อมกับดูแลและโอบอุ้มผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ‘น้อง’ ธนัญธร เปรมใจชื่น ผู้อำนวยการสถาบัน Seven Presents และหนึ่งในทีมกระบวนกร ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ชวนครูแต่ละคนมาเปิดใจเรียนรู้วิชา ‘ห้องเรียนแห่งรัก’ เครื่องมือสะท้อนตัวตนและสร้างสรรค์พื้นที่ของความสุข...

เนรมิตห้องเรียนสร้างสรรค์ ด้วยนิทานและกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์

‘นิทาน’ คือเรื่องราวเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ สามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาสมองและสติปัญญา เนื่องจากขณะที่เด็กๆ ตั้งอกตั้งใจฟังนิทาน จะต้องใช้ทั้งความคิด จินตนาการ รวมไปถึงการใช้สมาธิจดจ่อ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งสิ้น หนังสือนิทานสำหรับเด็กจำเป็นต้องมีการเล่าเรื่องที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และมีภาพประกอบโดดเด่น สิ่งที่หยิบจับมาเล่าอาจเป็นเรื่องใกล้ตัว การเล่าเรื่องต้องใช้คำน้อยแต่สื่อความหมายชัดเจน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของเด็กอีกด้วย เลือกนิทานให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุ ช่วงวัยที่มีพัฒนาการสูงสุดในชีวิตทุกด้านอยู่ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 ปี หากได้รับการกระตุ้น...

หนึ่งคำตอบ ล้านคำถาม ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่เด็กมีส่วนร่วมออกแบบได้

“ในวิชาวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องลงมือทำเอง ครูจะไม่บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จะเป็นคนคอยชี้แนะ ให้เด็กออกแบบการทดลองว่าเขาจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร” วไลพรรณ ไชยเวช ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองแวง จังหวัดอุดรธานี เล่าถึงการสร้าง ‘ห้องเรียนสร้างสรรค์’ ที่กระตุ้นให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ อันสอดคล้องกับหลักการ Active Learning ครูวไลพรรณบรรจุเป็นครูเมื่อปี 2544 นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 22...

4 รูปแบบ ก้าวสู่ Team Teaching สอนอย่างไรให้เหมาะกับเด็กและห้องเรียน

จำได้ว่าครั้งหนึ่งสมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น เราสอบวิชาคณิตศาสตร์ผ่าน เพราะคุณครูฝึกสอนคนหนึ่งคอยเดินเข้ามาอธิบายซ้ำในจุดที่ไม่เข้าใจ เรารู้สึกมีความสุขในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และไม่ใช่แค่เราที่รู้สึก แต่เพื่อนหลายคนก็รู้สึกไม่ต่างกัน ราวกับว่าองค์ความรู้ที่โดยปกติจะหมุนวนอยู่แค่บริเวณหน้าชั้นเรียนได้แผ่ขยายทั่วถึงทั้งห้อง ยอมรับว่าช่วงนั้นบรรยากาศในชั้นเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีความกังวลว่าจะตามเนื้อหาที่คุณครูสอนไม่ทัน หากไม่เข้าใจในจุดไหน ก็มีคุณครูฝึกสอนที่พร้อมจะเข้ามาอธิบายเพิ่มเติมในจุดนั้นอยู่เสมอ  จากการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ๆ ที่หลายคนคุ้นชิน คือ มีคุณครูเป็นผู้บรรยายหน้าชั้น 1 คน ต่อนักเรียน 25-30 คน...

เวทมนตร์การเรียนรู้เปี่ยมพลัง : เพราะครูต่างมีคาถาวิเศษของตัวเอง

‘เวทมนตร์’ แรกเริ่มได้ยินคำนี้ พานให้นึกถึงความแฟนตาซี ร่ายคาถา เสกสรรค์ปั้นแต่งแร่ธาตุให้กลายเป็นพลังงานชวนตื่นตะลึง ประหนึ่งนวนิยายที่หลายคนหลงรักอย่าง ‘Harry Potter’ ใครบ้างที่ไม่อยากเรียนฮอกวอตส์ หรือใช้ชีวิตในโลกมหัศจรรย์ที่สัตว์พูดได้ เหาะเหินด้วยไม้กวาดและไม่ต้องกังวลรถติดขัดกลางดงคอนกรีตเสริมความร้อน แม้เป็นเรื่องในจินตนาการที่ไกลลิบ แต่ปัจจุบันก็ไม่มีใครบอกเสียหน่อยว่าเวทมนตร์เป็นเรื่องเพ้อฝัน ขอเพียงแค่รู้จักตัวเองดีพอ เราก็มีโอกาสที่จะเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น เฉกเช่นเดียวกับการศึกษาในห้องสี่เหลี่ยมที่ไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อหรือหล่อเลี้ยงความอับเฉาให้อนาคตของประเทศ หากมีการพลิกแพลงด้วยกิจกรรมหรือสื่อการสอนที่เกี่ยวข้องกับ ‘เวทมนตร์’ ก็สามารถกล่อมผู้เรียนให้มีสมาธิกับเนื้อหาได้อยู่หมัด ทั้งยังลดปัญหาพฤติกรรมเชิงลบ สร้างความสนุกสนานเพลินเพลิด...

ยงยุทธ ศรีจันทร์ : สร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน รับฟังโดยไม่ตัดสิน เข้าใจเด็กในทุกมิติ

“เรารับฟังเด็กมากขึ้น ทำความเข้าใจเด็กมากขึ้น ฟังโดยที่ไม่จับผิดตัวเด็ก และเชื่อว่าเด็กสามารถตัดสินใจเลือกได้ด้วยตัวเอง” ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนาคำหลวง ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการอบรม ‘โครงการบัวหลวงก่อการครู’ ทำให้ตนเองมองเด็กเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากครูที่ต้องการให้เด็กได้รับความรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด คะยั้นคะยอให้เด็กท่องจำเนื้อหาโดยไม่ใส่ใจพื้นฐานของเด็กแต่ละคนเท่าที่ควร ‘ทักษะการโค้ช’ จากโครงการฯ ทำให้ครูกิ๊ฟมีมุมมองใหม่ต่อเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และหันไปทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชนมากขึ้น...

เปิดโลกการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ ‘เกม’ เสริมทักษะใหม่ให้ครูรุ่นใหม่

ในอดีตนั้นการเล่นเกมของเด็ก ๆ มักถูกผู้ใหญ่มองในแง่ลบ จนถูกเรียกว่า ‘เด็กติดเกม’ ทว่าในยุคปัจจุบันเกมและบอร์ดเกมเริ่มได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และถูกมองเห็นคุณค่าในแง่การพัฒนาสมอง ซึ่งในแวดวงการศึกษาก็ได้นำแนวคิดของการเล่นเกมมาผนวกใช้ให้เข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้ในห้องเรียนมากขึ้น อีกทั้งงานศึกษาจำนวนมากยังพบว่า กระบวนการเกมเป็นวิธีเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างรวดเร็ววิธีหนึ่งด้วย การศึกษาในยุคปัจจุบันแสดงให้เราเห็นว่า การมีข้อมูลมากไม่ได้แปลว่าผู้เรียนมีความรู้มาก สิ่งนี้ทำให้การศึกษาแบบเดิมที่เน้นป้อนข้อมูลให้นักเรียนจดจำครั้งละจำนวนมาก ๆ เริ่มเสื่อมประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้การ ‘เล่นเกม’ จึงเข้ามาตอบโจทย์ดังกล่าว เพราะเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถเรียนรู้ผ่านการกระทำมากกว่าการท่องจำข้อมูล และนับเป็นเครื่องมือชั้นดีในการสอดแทรกเนื้อหาการเรียนรู้ผ่านความสนุก  แต่กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ด้วยเกมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย...

วิธีหยุดการ Bully สร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วย ‘ห้องเรียนแห่งรัก’

การกลั่นแกล้งรังแก (Bully) กันในโรงเรียน ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ซุกซ่อนอยู่ในโรงเรียนมานาน แต่สังคมเพิ่งตระหนักและรับรู้เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลกระทบของการกลั่นแกล้งนอกจากจะทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดบาดแผลฝังลึกทางกายและทางใจในระยะยาว การจะป้องกันและดูแลให้ทั่วถึงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะครูมีเพียงแค่หนึ่งสมองสองมือ ทว่า ‘ครูโทนี่’ สามารถหาวิธีลดการ Bully ลงได้ผ่านเครื่องมือ ‘ห้องเรียนแห่งรัก’ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะช่วยป้องกันในระยะยาวอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย “ลึก ๆ แล้วเขาโดน Bully เกือบทั้งโรงเรียน...

พาเด็ก ‘แว้นมอเตอร์ไซค์’ ท่องไปในโลกเวทมนตร์กับ Team Teaching

เธอต้องเรียนแบบนี้… ต้องสอนจากหนังสือเล่มนี้… ต้องทำสิ่งนี้จึงจะสำเร็จ!  กระบวนทัศน์ของระบบการศึกษาแบบเดิม มักลิดรอนจินตนาการและความเป็นไปได้อื่น ๆ ในการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งยังสร้างบรรยากาศความกลัวปกคลุมบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นครูหรือผู้บริหาร ความพยายามแหวกว่ายออกจากสภาวะหวาดกลัวและจำยอมของครูจำนวนหนึ่ง ล้วนต้องเจอแรงปะทะจาก ‘ระบบ’ ที่สร้างกรอบและสมาทานความถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว พิมพ์นารา สิมมะโน หรือ ‘ครูพิมพ์’ จากโรงเรียนชุมชนสามพร้าว จังหวัดอุดรธานี ประสบสถานการณ์อันน่าเวียนหัวจากระบบการศึกษามาไม่น้อย เธอเป็นคุณครูมาแล้ว...

หันหลังให้กับไม้เรียว ด้วยจิตวิทยาเชิงบวกในห้องเรียน

“ถ้าไม่ทำการบ้าน จะโดนตี” “ถ้าไม่อ่านหนังสือ เธอจะสอบตก” “ถ้าทำคะแนนไม่ดี เธอจะไปแข่งกับใครได้” “ถ้าทำงานไม่เสร็จ ห้ามออกไปเล่นเด็ดขาด นั่งทำไปจนกว่าจะเสร็จ” การเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศเหล่านี้ นอกจากไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนหรือเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ซ้ำร้าย แนวทางเช่นนี้อาจให้ผลในทางตรงข้าม และลงเอยด้วยความกลัว ความกังวลของผู้เรียน จากการที่ชีวิตถูกฝึกว่าห้ามผิดพลาดตลอดเวลา เช่นนี้แล้ว ห้องเรียนจึงไม่ใช่สถานที่อันพึงปรารถนาอีกต่อไป ‘ห้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก’ โครงการบัวหลวงก่อการครู โดยการดูแลของ...