ก่อการครู – Korkankru

ก่อการครู

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู

Visual note คิดเห็นเป็นภาพฉบับคุณครู     ทำความรู้จักกับ Visual Note หลายคนอาจคุ้นเคย เคยเห็น หรือ ไม่รู้จักกับ Visual Note ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งในศาสตร์ Visual Thinking มาก่อน วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักเเละฝึกทำ...

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์

วิชาคณิตศาสตร์กับห้องเรียนฐานสมรรถนะออนไลน์ โดย จุฑารัตน์ จอมเมืองบุตร เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? เป็นคำถามหรือคำกล่าวที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ เมื่อเรียนในชั้นสูงขึ้นคำถามนี้จะยิ่งมีมากขึ้น อันที่จริงแล้ววิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับมนุษย์เราเป็นอย่างมาก ช่วยให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียม...

หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะในโรงเรียนไทย ไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเต่ที่นี่เปลี่ยนมาเเล้วกว่า 2 ปี

  เมื่อต้องปรับเป็นการศึกษาฐานสมรรถนะ เชื่อว่าทั้งคุณครูเเละผู้บริหารต่างก็มีความกังวลว่าในการปรับหลักสูตรครั้งนี้ต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง มีความยากง่ายเเละท้าทายเเค่ไหน เเละเเน่นอนว่าเมื่อปรับเเล้วเกิดผลอะไร วันนี้ ก่อการครู พาทุกคนมารู้จักกับ โรงเรียนฐานสมรรถนะในบริบทของประเทศไทยกันบ้างไม่ใช่เเค่เพิ่งปรับเเตที่มีเปลี่ยนเป็นฐานสมรรถนะมากว่า 2 ปีเเล้ว เเต่ละขั้นตอนการเปลี่ยนเเปลงเป็นอย่างไรบ้างจากการทำงานลงมือจริงหน้างานโดยผอ.วี หรือคุณปวีณา พุ่มพวง ที่จะมาฉายภาพการศึกษาฐานสมรรถนะในบริบทโรงเรียนไทยให้เรากัน   ก้าวเเรกสู่หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ     โรงเรียนวัดถนนกะเพรา โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง...

จิตวิทยาเชิงบวกกับการทบทวนจุดเเข็งของตัวเอง

จิตวิทยาเชิงบวก     ท่ามกลางความเหนื่อยล้าเเละวุ่นวายของสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีเเค่ไหนถ้าเรายังสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างเเข็งเเกร่งเเละเต็มไปด้วยอารมณ์เชิงบวก จิตวิทยาเชิงบวก เเนวคิดใหม่ของหลักจิตวิทยาที่หันมาให้ความสำคัญกับอารมณ์ด้านบวก และจุดแข็งของตนเองมากยิ่งขึ้น อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว” ถ้าใจเราเข้มเเข็งเเล้วล่ะก็การจะยิ้มสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตก็จะสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อการครูชวนมาทำความรู้จักกับจิตวิทยาเชิงบวกเเละพร้อมกับทบทวนจุดเเข็งของตัวเองผ่าน Toolkit จิตวิทยาเชิงบวกกัน จิตวิทยาเชิงบวกสร้างกันได้ง่ายนิดเดียว สำหรับใครที่ยังนึกภาพจิตวิทยาเชิงบวกไม่ชัดเจนนักตามไปอ่านกันได้ที่ ลิงก์ นี้เลย นอกจากจิตวิทยาเชิงบวกจะดีต่อใจเราเเล้ว การมีใจที่เข้มเเข็งเเละเปี่ยมไปด้วยพลังบวกยังส่งผลต่อคนรอบข้างได้อีกด้วยผ่านการกระตุ้น 3...

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ

ครูเตรียมพร้อมอย่างไร..เมื่อการศึกษาไทยก้าวสู่ฐานสมรรถนะ   “การเรียนรู้ของผู้เรียน” หัวใจสำคัญของการศึกษา แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดให้การศึกษาฐานสมรรถนะนั้นเป็นแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต โดยการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนในครั้งนี้ ครูผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และสนับสนุน เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเกิดสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของสถานศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญ มีกรอบคิดในการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง เกิดความตระหนัก เข้าใจในสิ่งที่ตนต้องพัฒนาก่อนการนำไปใช้จริง ...

'ปฐมบท' ใต้พรมแห่งความดีงาม : สำรวจและรื้อถอนมายาคติทางการศึกษาในสังคมไทย

เมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’  ‘ปฏิรูปการศึกษา’ วาทกรรมคุ้นหูที่วนเวียนหลอกหลอนเราและผู้คนที่เกี่ยวข้องในสังคมไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ ปรากฏการณ์ความล้มเหลวทางการศึกษาปรากฏชัดให้เราเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนบนหน้าข่าวของสื่อทุกสำนักแทบจะทุกวัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงบนหนทางการวิวัฒน์ไปข้างหน้า ขานไปกับเส้นเวลาที่ไม่อาจถอยหลังกลับ แต่เพราะเหตุใดการศึกษาไทยกลับก้าวถอยหลังสวนทางกับนานาประเทศในสังคมโลก ปรากฏการณ์การศึกษาคือภาพสะท้อนสภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธ การศึกษาเป็นเช่นใดก็สร้างสังคมเช่นนั้น หรือเพราะสภาพสังคมเป็นเช่นใดก็จะสร้างการศึกษาเช่นนั้น ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งสอดคล้องบรรสานกันอย่างแนบแน่นดุจคำถามโลกแตก ‘ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน’ นโยบายการศึกษารายวันถูกผลิตขึ้นจากผู้กำหนดนโยบายที่หวังว่าการสร้างนโยบายเหล่านั้นจะเป็น ‘วัคซีน’ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคระบาด โดยที่ไม่เคยคำนึงว่า เรายังไม่เคยวินิจฉัยโรคอย่างถึงแก่น เพียงแค่นำเข้าเทคโนโลยีที่อาจใช้ได้ผลในประเทศอื่น ๆ โดยไม่ศึกษาบริบทของปัญหาและสภาพแวดล้อมอันเป็นลักษณะเฉพาะที่อาจมีวิธีการแก้ไขที่ตรงจุดได้มากกว่า แต่เราจะแก้ปัญหาใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องกล้าที่จะ ‘ยอมรับความจริง’ ...

ก่อการคูณ : เครือข่ายครู ขับเคลื่อนการศึกษา

หลังจากการรวมตัวกันของครูแกนนำก่อการครูใน เวทีพัฒนาศักยภาพการเป็นกระบวนกรหรือเวทีก่อการคูณ โมดูล 1 เพื่อมองหาเครือข่าย เริ่มขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ของตน ก่อร่างเป็นเครือข่ายกว่า 10 เครือข่ายทั่วประเทศในปลายปีที่ผ่านมา และได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน เวทีก่อการคูณ โมดูลที่ 2 ว่าด้วยองค์กรการเรียนรู้และการสร้างเครือข่าย จัดขึ้นในวันที่ 6-8 มีนาคม 2564  ณ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...

ชวนอ่าน "ประเมินเติมใจ จุดไฟการเรียนรู้"

การประเมินแบบปกติ กำลังทำให้ครูกับนักเรียนห่างไกลกันมากขึ้น จะดีกว่าไหม? หากเราสามารถเติมใจและจุดไฟให้ชั้นเรียนได้ ด้วยเครื่องมือการประเมินที่มีชีวิต เพราะโลกของการเรียนรู้ อาจไม่ได้มีขั้นตอนหรือสูตรสำเร็จที่ระบุว่า ครูที่ดีต้องสอนอย่างไร ห้องเรียนที่ดีเป็นแบบไหน ทว่า การกลับมามองเสียงสะท้อนอย่างจริงใจจากนักเรียน และด้วยใจจริงจากครู กลับคืนชีวิตชีวาให้กับห้องเรียน เป็นห้องเรียนที่มีความหมาย ครูได้เป็นตัวครู เด็กกล้าเข้าใกล้ครู การออกแบบการเรียนรู้และสื่อการสอนเต็มไปด้วยความสนุก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงในอุดมคติ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ “เป็นไปได้” เพียงครูกล้าเปิดใจใช้...

ก่อก่อนกาล ก่อการครู

หนังสือเล่มนี้กำลังบอกเล่า เรื่องราว ถ้อยคำ ความรู้ ที่ถอดถ่ายจากประสบการณ์และแง่มุมของผู้ก่อการ 11 คน ก่อนจะเดินทางมาพบเจอกัน เพื่อร่วมก่อร่างขบวนการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการศึกษา ในชื่อของ ก่อการครู เกิดกลายเป็นเรื่องราว บรรจุและร้อยเรียงตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเดินทางสู่วงการการศึกษา รวมไปถึงระหว่างทางและปลายทางที่วาดหวัง ลงในหนังสือ ก่อก่อนกาล ก่อการครู เล่มนี้ จากแรงขับเน้นและเส้นทางชีวิตของแต่ละคน อะไรทำให้คนกลุ่มนี้เลือกที่จะลุกขึ้นมา "ก่อก่อนกาล"...

ความสัมพันธ์ ความกล้า ปัญญาร่วม : ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู

PLC (Professional Learning Community : ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) คืออะไร?   คุณครูหลายท่านอาจรู้จัก PLC ในฐานะของ “การประชุมครู” เพื่อทบทวนภาระงานต่าง ๆ หรือหยิบยกบางประเด็นที่อาจมองว่าเป็นปัญหา มาร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนกัน หลายครั้งวง PLC นี้อาจจบลงด้วยการมอบหมายงานให้คุณครูบางท่านไปดำเนินการต่อ หรือมีแนวทางแก้ปัญหาจากประเด็นพูดคุย  เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็ทำการนับเวลาประชุม...